28 มกราคม, 2013 - 05:44 | โดย Somyot-Redpower
นช.สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ประเทศไทยมีประชากรอยู่ 65.4 ล้านคน เป็นกำลังแรงงาน 39.6 ล้านคน คิดเป็นจำนวนแรงงานนอกระบบ 24.8 ล้านคน และเป็นแรงงานในระบบ 14.8 ล้านคน ซึ่งหมายถึงกำลังแรงงานส่วนใหญ่มากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์เป็นแรงงานนอกระบบ (Informal Sector) เป็นกลุ่มที่ทำงานไม่มีแบบแผนทางการ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ส่วนใหญ่ทำงานด้านการเกษตร การประมง การบริการ
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) วันละ 300 บาท เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร์แรงงานที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา เป็นการเพิ่มขึ้นจากเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ และยังให้มีผลบังคับใช้เท่ากันทุกจังหวัด แม้ว่ากลุ่มนายจ้างและสภาอุตสาหกรรมจะออกมาคัดค้านกันอย่างหนัก โดยอ้างว่า ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถการแข่งขันทางการค้า และนายจ้างระดับกลางและเล็ก (SME) จะไม่สามารถแบกรับต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นได้ แต่บัดนี้ได้พิสูจน์ความจริงแล้วว่า ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเป็นผลดีมหาศาลในระบบเศรษฐกิจ และการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ
อันที่จริงการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท นั้น ไม่ได้เป็นค่าจ้างที่สูงมากนัก หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 เป็นต้นมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับเพิ่มขึ้นในแต่ละปีน้อยมาก กระทั่งในบางปีไม่มีการเพิ่มขึ้นเลย ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.57 ต่อปีเท่านั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.76 ต่อปี หรือหากคำนวณระยะ 10 ปี นั้นค่าจ้างขึ้นร้อย 25.7 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 27.6 ดังนั้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นตามหลังราคาสินค้ามาโดยตลอด ทำให้ค่าจ้างที่แท้จริง (Real Wage) ลดต่ำกว่าเสมอ ไม่สอดคล้องกับภาระการครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้แรงงานจึงเป็นคนยากจนในสังคม
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นอัตราที่ต่ำ ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นรายได้ของคนงานที่ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัว ตามความหมายค่าจ้างขั้นต่ำขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organigation : ILO) ทั้งนี้มาตรฐานการครองชีพในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว เพราะไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต แต่ยังหมายถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต เทคโนโลยี ในยุคสมัยใหม่อีกด้วย
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นการขึ้นเพื่อชดเชยย้อนหลังในอดีตซึ่งถูกกด ค่าจ้างให้ต่ำมาโดยตลอด การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทจึงเป็นผลงานอันควรค่าต่อการสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
ความเหลื่อมล้ำในสังคมเริ่มจากการถือครองที่ดิน และสินทรัพย์ กลุ่มคนจนมีทรัพย์สินครัวเรือนอยู่เพียงร้อยละ 1 แต่กลุ่มคนรวยมีทรัพย์สินครัวเรือน สูงถึงร้อยละ 69 ส่วนแบ่งรายได้กลุ่มคนจนสุดมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 4.4 โดยกลุ่มคนรวยสุดมีส่วนแบ่งรายได้มากถึงร้อยละ 55
การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นส่วนหนึ่งของการลดเหลื่อมล้ำ ต่ำสูงของสังคม (Uneven Society) เป็นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาของพรรคเพื่อไทยที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติเป็นจริงได้
การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำยังเป็นผลดีของการเพิ่มอำนาจซื้อ (Purchasing Power) ภายในประเทศ กระตุ้นการบริโภค และขยายตลาดภายใน เมื่อคนงานหนึ่งคนมีรายได้วันละ 300 บาท ทำงานเดือนละ 26 วัน คิดเป็นเงินเดือน ๆ ละ 7,800 บาทเท่านั้น ยังเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียงกับค่าจ้างขั้นต่ำที่สิงคโปร มาเลย์เซีย ฟิลิปปินส์ การกระตุ้นเศรษฐกิจฐานล่าง ผู้ที่ได้ประโยชน์คือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นเอง
ส่วนข้อกังวลใจในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งหมายถึงค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้การส่งออกน้อยลงเพราะต้น ทุนสูงขึ้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะค่าจ้างเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกสูงกว่าวันละ 300 บาทอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียงกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันเองก็ยังต่ำกว่าที่อื่น นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อภาพพจน์การส่งออก อย่างน้อยที่สุดยังมองเห็นผู้ใช้แรงงานเป็นคนที่จะต้องมีสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ในด้านความสามารถการแข่งขันของไทยไม่ได้มาจากปัจจัยค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นด้านอื่น เช่น ด้านเทคโนโลยี หรือ ไอซีที พบว่า ขีดความสามารถด้านไอซีทีของไทยล่วงหล่นไปอยู่ในอันดับที่ 77 ของโลก จากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกเมื่อปี 2549 จะเห็นได้ว่าขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของไทยตกต่ำลงนับตั้งแต่การรัฐ ประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
ขีดความสามารถการแข่งขันต่อไปจะไม่ใช่การแข่งขันกันกดขี่ขูดรีดผู้ใช้แรง งาน แต่จะเป็นการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้า และภาพพจน์ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ของโลก ดังเช่น การกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานสากล (ISO) การปฏิบัติตามจริยธรรมการค้า (Code of Conducts) ที่ไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบริหารงานสมัยใหม่ การลดต้นทุนแรงงาน เพื่อให้อุตสาหกรรมมีศักยภาพการแข่งขันสูง ตลอดจนการส่งเสริมให้ขยายการลงทุนไปยังประชาคมอาเซี่ยน (AEC) ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้การจ้างงานยืดหยุ่น (Laber Flexbility) ด้วยการจ้างรับเหมาช่วง และการรับเหมาจ่ายค่าแรงผ่านตัวแทนบริษัทนายหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน รัฐบาลจึงต้องออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ถูกว่าจ้างดังกล่าวด้วย (เช่นการรับเหมาตัดเย็บเสื้อผ้าตามบ้าน หรือการจ้างคนงานผ่านบริษัทนายหน้า)
ในอีกด้านหนึ่ง สถานประกอบการจะทำการลดทอนสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานที่เคยมีอยู่แล้ว ในขณะที่คนงานที่ทำงานมานานมีอายุงานหลายปี จะถูกกดดันไม่เพิ่มค่าจ้างให้จนสูญเสียขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายลูกจ้างที่จะต้องรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน (Laber Union) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในด้านสภาพการจ้าง (Employment Conditions) และสร้างอำนาจการต่อรอง ( Collective Bargaining Agreement) โดยนำเงินมาจากกองทุนประกันสังคม ขยายสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกด้าน และใช้ยาได้มาตรฐานสูงขึ้น เพิ่มจำนวนสิทธิประโยชน์การคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร เพิ่มจำนวนเงินบำนาญชราภาพ และเงินทดแทนการประกันการว่างงงาน กระทั่งการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก (Child Care Centers) ในชุมชน หรือในสถานที่ทำงานให้พอเพียงกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันนี้เงินกองทุนประกันสังคมมีถึง 946,376 ล้านบาท มากเพียงพอต่อการก้าวสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ในอนาคตอันใกล้
ขอชื่นชมกับความกล้าหาญ และการทำตามสัญญาประชาคมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขอสนับสนุนรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ กับความสำเร็จในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หากรัฐบาลจริงจังต่อการยกระดับมาตรฐานแรงงานทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ และสิทธิเสรีภาพ เชื่อว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จเพื่อกระโดดข้ามจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำ (Low Income) เข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income) ให้ได้
ประเทศไทยมีประชากรอยู่ 65.4 ล้านคน เป็นกำลังแรงงาน 39.6 ล้านคน คิดเป็นจำนวนแรงงานนอกระบบ 24.8 ล้านคน และเป็นแรงงานในระบบ 14.8 ล้านคน ซึ่งหมายถึงกำลังแรงงานส่วนใหญ่มากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์เป็นแรงงานนอกระบบ (Informal Sector) เป็นกลุ่มที่ทำงานไม่มีแบบแผนทางการ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ส่วนใหญ่ทำงานด้านการเกษตร การประมง การบริการ
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) วันละ 300 บาท เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร์แรงงานที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา เป็นการเพิ่มขึ้นจากเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ และยังให้มีผลบังคับใช้เท่ากันทุกจังหวัด แม้ว่ากลุ่มนายจ้างและสภาอุตสาหกรรมจะออกมาคัดค้านกันอย่างหนัก โดยอ้างว่า ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถการแข่งขันทางการค้า และนายจ้างระดับกลางและเล็ก (SME) จะไม่สามารถแบกรับต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นได้ แต่บัดนี้ได้พิสูจน์ความจริงแล้วว่า ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเป็นผลดีมหาศาลในระบบเศรษฐกิจ และการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ
อันที่จริงการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท นั้น ไม่ได้เป็นค่าจ้างที่สูงมากนัก หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 เป็นต้นมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับเพิ่มขึ้นในแต่ละปีน้อยมาก กระทั่งในบางปีไม่มีการเพิ่มขึ้นเลย ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.57 ต่อปีเท่านั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.76 ต่อปี หรือหากคำนวณระยะ 10 ปี นั้นค่าจ้างขึ้นร้อย 25.7 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 27.6 ดังนั้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นตามหลังราคาสินค้ามาโดยตลอด ทำให้ค่าจ้างที่แท้จริง (Real Wage) ลดต่ำกว่าเสมอ ไม่สอดคล้องกับภาระการครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้แรงงานจึงเป็นคนยากจนในสังคม
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นอัตราที่ต่ำ ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นรายได้ของคนงานที่ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัว ตามความหมายค่าจ้างขั้นต่ำขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organigation : ILO) ทั้งนี้มาตรฐานการครองชีพในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว เพราะไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต แต่ยังหมายถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต เทคโนโลยี ในยุคสมัยใหม่อีกด้วย
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นการขึ้นเพื่อชดเชยย้อนหลังในอดีตซึ่งถูกกด ค่าจ้างให้ต่ำมาโดยตลอด การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทจึงเป็นผลงานอันควรค่าต่อการสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
ความเหลื่อมล้ำในสังคมเริ่มจากการถือครองที่ดิน และสินทรัพย์ กลุ่มคนจนมีทรัพย์สินครัวเรือนอยู่เพียงร้อยละ 1 แต่กลุ่มคนรวยมีทรัพย์สินครัวเรือน สูงถึงร้อยละ 69 ส่วนแบ่งรายได้กลุ่มคนจนสุดมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 4.4 โดยกลุ่มคนรวยสุดมีส่วนแบ่งรายได้มากถึงร้อยละ 55
การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นส่วนหนึ่งของการลดเหลื่อมล้ำ ต่ำสูงของสังคม (Uneven Society) เป็นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาของพรรคเพื่อไทยที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติเป็นจริงได้
การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำยังเป็นผลดีของการเพิ่มอำนาจซื้อ (Purchasing Power) ภายในประเทศ กระตุ้นการบริโภค และขยายตลาดภายใน เมื่อคนงานหนึ่งคนมีรายได้วันละ 300 บาท ทำงานเดือนละ 26 วัน คิดเป็นเงินเดือน ๆ ละ 7,800 บาทเท่านั้น ยังเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียงกับค่าจ้างขั้นต่ำที่สิงคโปร มาเลย์เซีย ฟิลิปปินส์ การกระตุ้นเศรษฐกิจฐานล่าง ผู้ที่ได้ประโยชน์คือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นเอง
ส่วนข้อกังวลใจในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งหมายถึงค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้การส่งออกน้อยลงเพราะต้น ทุนสูงขึ้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะค่าจ้างเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกสูงกว่าวันละ 300 บาทอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียงกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันเองก็ยังต่ำกว่าที่อื่น นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อภาพพจน์การส่งออก อย่างน้อยที่สุดยังมองเห็นผู้ใช้แรงงานเป็นคนที่จะต้องมีสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ในด้านความสามารถการแข่งขันของไทยไม่ได้มาจากปัจจัยค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นด้านอื่น เช่น ด้านเทคโนโลยี หรือ ไอซีที พบว่า ขีดความสามารถด้านไอซีทีของไทยล่วงหล่นไปอยู่ในอันดับที่ 77 ของโลก จากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกเมื่อปี 2549 จะเห็นได้ว่าขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของไทยตกต่ำลงนับตั้งแต่การรัฐ ประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
ขีดความสามารถการแข่งขันต่อไปจะไม่ใช่การแข่งขันกันกดขี่ขูดรีดผู้ใช้แรง งาน แต่จะเป็นการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้า และภาพพจน์ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ของโลก ดังเช่น การกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานสากล (ISO) การปฏิบัติตามจริยธรรมการค้า (Code of Conducts) ที่ไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบริหารงานสมัยใหม่ การลดต้นทุนแรงงาน เพื่อให้อุตสาหกรรมมีศักยภาพการแข่งขันสูง ตลอดจนการส่งเสริมให้ขยายการลงทุนไปยังประชาคมอาเซี่ยน (AEC) ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้การจ้างงานยืดหยุ่น (Laber Flexbility) ด้วยการจ้างรับเหมาช่วง และการรับเหมาจ่ายค่าแรงผ่านตัวแทนบริษัทนายหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน รัฐบาลจึงต้องออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ถูกว่าจ้างดังกล่าวด้วย (เช่นการรับเหมาตัดเย็บเสื้อผ้าตามบ้าน หรือการจ้างคนงานผ่านบริษัทนายหน้า)
ในอีกด้านหนึ่ง สถานประกอบการจะทำการลดทอนสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานที่เคยมีอยู่แล้ว ในขณะที่คนงานที่ทำงานมานานมีอายุงานหลายปี จะถูกกดดันไม่เพิ่มค่าจ้างให้จนสูญเสียขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายลูกจ้างที่จะต้องรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน (Laber Union) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในด้านสภาพการจ้าง (Employment Conditions) และสร้างอำนาจการต่อรอง ( Collective Bargaining Agreement) โดยนำเงินมาจากกองทุนประกันสังคม ขยายสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกด้าน และใช้ยาได้มาตรฐานสูงขึ้น เพิ่มจำนวนสิทธิประโยชน์การคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร เพิ่มจำนวนเงินบำนาญชราภาพ และเงินทดแทนการประกันการว่างงงาน กระทั่งการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก (Child Care Centers) ในชุมชน หรือในสถานที่ทำงานให้พอเพียงกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันนี้เงินกองทุนประกันสังคมมีถึง 946,376 ล้านบาท มากเพียงพอต่อการก้าวสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ในอนาคตอันใกล้
ขอชื่นชมกับความกล้าหาญ และการทำตามสัญญาประชาคมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขอสนับสนุนรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ กับความสำเร็จในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หากรัฐบาลจริงจังต่อการยกระดับมาตรฐานแรงงานทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ และสิทธิเสรีภาพ เชื่อว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จเพื่อกระโดดข้ามจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำ (Low Income) เข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income) ให้ได้
นช.สมยศ พฤกษาเกษมสุข
17 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น