แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ไม่รับปากดันร่างนิรโทษฯ เข้าสภาสมัยนี้ นักวิชาการอัดรัฐ-นปช.เลือดเย็น

ที่มา ประชาไท


ตัวแทนรัฐบาลขึ้นเวทีชี้แจง ยังยืนยันคงเดิม ส่งให้กฤษฎีกาตรวจสอบ และยังไม่กำหนดจะนำเข้าสภาเมื่อไร ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวบ้าน ด้านพนัส,สมศักดิ์ เจียมฯ, พวงทอง อัดรัฐบาล นปช. ไม่จริงใจช่วยคนธรรมดา "ความเงียบของคุณเป็นสิ่งเลือดเย็น"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงตอนเย็นของการชุมนุมในการรณรงค์ "หนึ่งหมื่นเพื่อปลดปล่อย" ซึ่งผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมาปักหลักบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หลังจากยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน.ว่าด้วยเรื่องนิรโทษกรรมและการขจัดความ ขัดแย้งแก่ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาประมาณ 18.00น. พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาขึ้นเวทีเโดยกล่าวว่า ทางนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะผลักดันทั้งในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องขังและ การนิรโทษกรรมอย่างเต็มที่ แต่อำนาจในเรื่องการพิจารณาคดีเป็นของศาลไม่ได้เป็นของรัฐบาล แต่โดยเบื้องต้น นายกรัฐมนตรีได้มอบข้อเสนอของทางกลุ่มที่ยื่นให้เมื่อช่วงเช้า ส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความแล้ว และเมื่อกฤษฎีกาตีความเสร็จ ทางนายกรัฐมนตรีจะเร่งพิจารณาและนำสู่ที่ประชุมสภาโดยไว 
 
หลังจากนั้น  น.ส.สุดา รังกุพันธ์ แกนนำกลุ่ม 29 มกรา กล่าวปราศัยเพื่อหาฉันทามติว่า ทางกลุ่มมีเงื่อนไขให้รัฐบาลต้องนำร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ก่อนปิดประชุมในสมัยนี้ คือ ในช่วงเดือนเมษายน ในระหว่างการปราศัยได้มีผู้ชุมนุมโห่ร้องแสดงความไม่พอใจตลอดเวลา 
 
จากนั้นเมื่อเวลาราว 20.30 น. ได้มีการเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมทางการเมือง 
 
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์และอดีตอัยการ กล่าวว่า การนิรโทษกรรมาสามารถทำได้ เพียงแต่รัฐบาลต้องมีความกล้าหาญทางการเมืองและความจริงใจที่จะทำเช่นนั้น ในอดีตมีหลายคดีที่เมื่อถูกดำเนินคดีไปแล้วถึงชั้นอัยการ แต่ก็สามารถถอนฟ้องได้ เช่นในคดีมาตรา 112 ของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และหากว่าคดีนั้นยังไม่ได้ถูกสั่งฟ้อง ก็สามารถถอนฟ้องได้เช่นเดียวกัน 
 
เขากล่าวด้วยว่า นอกจากจะออกเป็นร่างรธน. ว่าด้วยการนิรโทษกรรมและความขัดแย้ง ก็ยังสามารถออกเป็นพ.ร.ก. ได้ด้วยเนื่องจากสามารถออกได้โดยรัฐบาลและกระทำได้รวดเร็วกว่า เช่นเดียวกับในอดีตที่รัฐบาลได้ออกพ.ร.ก. นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดสมัยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535
 
ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คำตอบของรัฐบาลเมื่อหัวค่ำที่ให้กับผู้มาชุมนุมในวันนี้เป็นเรื่องน่าผิด หวัง ตนไม่อยากทำให้ตัวแทนรัฐบาลขายหน้า แต่ตัวแทนรัฐบาลก็ยังไม่ยอมบอกว่าจะรับไปพิจารณาเมื่อไหร่ และไม่ได้รับปากว่าจะเอาไปเข้าสมัยประชุมครั้งนี้ด้วย ถ้าหากคนเสื้อแดงยังไม่กดดันเรื่องนี้ต่อไป แม้แต่การนำเรื่องเข้าสู่สมัยประชุมสภานี้ก็ยังคงไม่สำเร็จ 
 
สมศักดิ์กล่าวว่า เขาสื่อสารไปถึงทักษิณหรือยิ่งลักษณ์ว่า เชื่อว่าคนเสื้อแดงและคนที่เลือกรัฐบาลมีความปรารถนาดีต่อรัฐบาล อยากให้รัฐบาลรับฟังเรื่องนี้ แต่ที่ผ่านมา ความช่วยเหลือจากจากนปช. หรือรัฐบาลก็ยังน้อยเกินไป นอกจากนี้สมศักดิ์ได้ตั้งคำถามต่อแกนนำนปช. ว่าทำไมกิจกรรมแบบนี้ต้องปล่อยให้คนอย่างอ. สุดา รังกุพันธ์ ที่เป็นแกนนำกลุ่มย่อยออกมา และชี้ว่า ก่อนหน้านี้นปช. ยังสามารถชุมนุมกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ปล่อยตัวแกนนำทุกอาทิตย์ได้ แต่เมื่อเป็นชาวบ้านคนเล็กน้อยกลับไม่ให้ความสนใจ
 
"ตอนที่มีการเสนอพรบ. ปรองดอง จากสนธิ บัง (บุญรัตกลิน) ตอนนั้นก็เข้าใจกันว่าเพื่อช่วยทักษิณ ผมเองก็ไม่ได้อะไรคิดว่าคุณทักษิณถูกดำเนินคดีอย่างไม่ชอบธรรมกลั่นแกล้งทาง การเมือง ตอนนั้นนปช. และเพื่อไทยก็ยังหนุนพรบ. ปรองดองนั้นเต็มที่ แต่เมื่อเป็นระดับชาวบ้าน ก็มาอ้างว่าทำไม่ได้ กลัวรัฐบาลจะพังอย่างนู้นอย่างนี้ ทีตอนจะช่วยทักษิณยังไม่เห็นกลัว มันต้องมีความเสมอภาคกันหน่อย ความเดือดร้อนของคุณทักษิณไม่ได้หนึ่งในพันในร้อยของชาวบ้านเหล่านี้" เขากล่าว 
 
สมศักดิ์กล่าวว่า ทำไมต้องรอจนกระทั่งนิติราษฎร์และปฏิญญาหน้าศาลบอกจะยื่น ค่อยมีทีท่าจะมายื่นแย่งบ้าง ทำให้ตั้งคำถามว่ามีความจริงใจแค่ไหนในการช่วยในระดับชาวบ้าน ก่อนหน้านี้มาศาลว่าจะมีการถอนประกันจตุพร นปช.ก็จัดให้มีการเดินขบวน แต่สำหรัยชาวบ้านที่ติดอยู่ในคุกมาสองสามปี ทำไมไม่มีการทำอะไรแบบนี้บ้าง ถ้าจริงใจก็ต้องเสนอช่วยระดับชาวบ้านก่อน แล้วค่อยช่วยทักษิณ มันขายหน้าขนาดไหนในระดับแกนนำขนาดนี้ 
 
สมศักดิ์ยังกล่าวถึงตัวอย่างของนักโทษการเมืองที่เป็นชาวบ้านและต้อง ติดคุกยาวนานโดยไม่เป็นธรรม โดยยกกรณีของนายสนอง เกตุสุวรรณ์ จำเลยคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบล ซึ่งในการสืบพยานนั้นพยานโจทก์มาให้การเองว่าสนองไปช่วยดับไฟแต่สุดท้ายเขา ก็ยังโดนโทษจำคุกไป 33 ปี 12 เดือน
 
นางวาสนา มาบุตร อายุ 49 ปี มารดาของ น.ส.ปัทมา มูลมิล อายุ 24 ปี ซึ่งศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิพากษาให้จำคุก 33 ปี 4 เดือนในคดีร่วมกับพวกวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางจังหวัด โดย นางวาสนา ได้กล่าวว่าดีใจที่เห็นว่ามีคนมาร่วมชุมนุมจำนวนมากแต่เสียใจมากที่รัฐบาล ไม่มีความชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ต้องขังแต่อย่างใด
 
พวงทอง ภวัครพันธ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และเป็นทีมวิชาการของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุ นฯ หรือ ศปช. กล่าวว่า งานนี้ถ้ารัฐบาลไม่ทำก็จะเสียมวลชนแน่ เพราะประชาชนจะไม่ยอม และจะตกเป็นเบี้ยล่างของฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา ดังนั้นต้องยอมเผชิญหน้าและยอมให้เกิดความตึงเครียด เชื่อว่ารัฐบาลจะมีมวลชนที่คอยปกป้องตลอด 
 
สุดท้าย พวงทองกล่าวถึงรัฐบาลเพื่อไทยว่า "ความเงียบของคุณที่ยังมีต่อคนเสื้อแดงและครอบครัวที่ยังร้องไห้อยู่ทุก ครั้งเมื่อขึ้นเวที เป็นความเลือดเย็นเกินไป เกินกว่าจะรับได้" 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น