แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"เรืองไกร" ยื่นดีเอสไอสอบ สรรหา "ป.ป.ช." ไม่ชอบ

ที่มา go6tv

 02/02/2013 go6TV - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ทำหนังสือดีเอสไอ ให้สอบปมสรรหา "กรณีการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" หรือ "ป.ป.ช." ว่่าเจ้าพนักงานฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่



นาย เรืองไกร ระบุว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ นายกล้านรงค์ จันทิก นายใจเด็ด พรไชยา  นายประสาท พงษ์ศิวาภัย  ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ  ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว  นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย วิวิตเสวี นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ โดย ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง และมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงหกคน ให้นายกรัฐมนตรีสรรหาบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป หรือดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วแต่กรณี 

แต่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 246 วรรคสาม ไปดำเนินการสรรหาบุคคลมาทดแทนเป็นที่เรียบบร้อยแล้ว และก็ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาและมีการดำเนินการต่อจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน ซึ่งการสรรหาบุคคลมาแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น ย่อมขัดหรือแย้งต่อประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ข้อ 4 จึงไม่อาจนำความตามรัฐธรรมนุญ มาตรา 247 วรรคสาม มาทำการสรรหาบุคคลอื่นเป็นกรรมการ ป.ป.ช. แทนชุดปัจจุบันที่ได้รับแต่งตั้งจากคำสั่ง คปค. ฉบับที่ 19 ได้  ดังนั้น  คณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ย่อมกระทำการสรรหาไปโดยไม่ชอบด้วยประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ดังกล่าว  การกระทำของคณะกรรมการสรรหาจึงอาจเข้าข่ายความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 

เพราะ เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับ ป.ป.ช. ที่อาจมีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม และอาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั่วไป จึงต้องร้องมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่อาจร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น