แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เจ็บแล้วต้องจำ...สร้างโอกาสให้ประชาชนต่อลมหายใจป่าไม้ไทย

ที่มา ประชาไท


 
หากสังเกตจากปรากฏการณ์ทางสังคม จะพบว่ากระแสการอนุรักษ์ป่าไม้ดีขึ้น เพราะมีภาคประชาชนที่รักความเขียวขจีของป่าไม้ มีกลุ่มแนวร่วมต่อต้านการสร้างเขื่อนที่ทำลายพื้นที่ป่าไม้อันสมบูรณ์ มีกลุ่มประชาชนร่วมใส่ใจต้นไม้ใหญ่ และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาดูแลหวงแหนป่าไม้และทรัพยากร ธรรมชาติหลากหลายองค์กร  
 
ทว่าชีพจรป่าไม้ของเราจะว่าดีขึ้นก็ไม่สามารถจะพูดได้เต็มปาก เพราะสถิติป่าไม้ที่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่าเรามีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2543 มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่เพิ่มขึ้นมานั้นส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนมาตราแผนที่ จาก 1:200,000 เป็น 1:50,000 ในความเป็นจริงหากสำรวจด้วยเครื่องมือเดิมจำนวนพื้นที่ป่าไม้อาจจะมิได้ เพิ่มขึ้น 
 
พื้นที่ป่าไม้ลดลงนั้นนอกจากสาเหตุทั่วไป เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การสร้างเขื่อน และโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐ  แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทำให้พื้นที่ป่าลดลงคือ การนำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติไปออกเอกสารสิทธิเพื่อแจกประชาชนที่ไม่มีที่ทำ กิน หรืออยู่อาศัยมาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนฯ เช่น สทก. (เอกสารสิทธิที่ดินทำกิน) สปก. (พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) ซึ่งเป็นการนำป่าสงวนฯ ที่ว่ากันว่าเป็นป่าเสื่อมโทรมไปแจกเป็นเอกสารสิทธิในรูปแบบดังกล่าว เพราะการแจกในรูปแบบนี้บทเรียนในอดีตมีให้เราเห็นมาตลอดว่าสุดท้ายที่ดิน เหล่านั้นไปตกอยู่ในมือของคนรวย และคนจนเหล่านั้นหายไปอยู่ ณ ที่แห่งใด  
 
การที่บอกว่านโยบายการแจกที่ดินให้กับราษฎรที่ไม่มีพื้นที่ทำกิน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงนั้น มิได้หมายความว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ทำกิน แต่ทว่าอยากให้มีการทบทวนและจัดทำข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือสร้างกลไกการตรวจสอบที่แข็งแรงกว่าปัจจุบัน เพราะอย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่ามีป่าที่ไม่เสื่อมโทรมก็ถูกทำให้เป็นป่าเสื่อมโทรมเพื่อจะได้นำไป ใช้ประโยชน์ทางอื่น และหากไม่มีการจัดการกับปัญหาการซื้อขายที่ดินเหล่านี้เสียก่อน เราจะต้องแจกพื้นที่ป่าไม้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะคนมีเงินก็จะไล่ซื้อไปเรื่อยๆ คนไม่มีที่ทำกินพอขายไปก็ต้องไปบุกรุกพื้นที่ใหม่
 
ข้อมูลของสำนักการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรระบุว่าได้จัดที่ดินให้กับ เกษตรกรไปแล้วจำนวน 34,635,068 ไร่ และการสัมภาษณ์ของนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ต่อศูนย์ข่าวอาร์เอสยูนิวส์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ”เมื่อปี 2526  รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนั้น เน้นนโยบายปฏิรูปที่ดิน ออกเอกสารสิทธิสปก.ให้กับชาวบ้าน หลักการของสปก.คือ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมใดที่หมดสภาพความเป็นป่า ให้กรมป่าไม้กันพื้นที่นั้นออกไป เพื่อให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) แบ่งให้เกษตรกรเป็นพื้นที่ทำกิน ปรากฏว่า จากนโยบายนั้น ยังมีพื้นที่ป่าที่ยังดีอยู่ เนื่องจากตกสำรวจ ถูกกันเป็นพื้นที่สปก.ด้วย ประมาณ 40 ล้านไร่ ผมคิดว่าปัจจุบันพื้นที่ที่ถูกกันออกเป็นสปก. มีประมาณ 30 ล้านไร่”
 
จากข้อมูลดังกล่าวสามารถยืนยันได้แน่ๆ ว่ากรมป่าไม้ต้องกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมและอาจจะไม่เสื่อม โทรมให้สำนักการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรไม่ต่ำกว่า 30ล้านไร่แน่นอน และนี่เป็นแค่เพียงที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตรเพียงประเภทเดียว ยังไม่นับรวมรูปแบบอื่นๆ เช่น เอกสารสิทธิทำกิน ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น
 
เราไม่สามารถบอกได้ว่าพื้นที่ป่าไม้จำนวน 30 ล้านไร่ที่ดำเนินการไปแล้วนั้นคุ้มค่าหรือไม่ เพราะถ้าหากที่ดินทั้งหมดนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์และเจตจำนงโดยไม่มีการทำผิด กันอย่างโครมคราม ป่าไม้กว่า 30 ล้านไร่ก็คุ้มแสนคุ้มเพราะสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนที่ไม่มีที่ทำ กินมีโอกาสได้มีที่ดินใช้ดำรงชีวิต แต่หาก 30ล้านไร่นี้ถูกนำไปเล่นแร่แปรธาตุ และปราศจากการควบคุมตามเจตนารมณ์ จนทำให้พื้นที่ดังกล่าวต้องตกเป็นของผู้มีอันจะกินเพื่อใช้สร้างบ้านตาก อากาศ หรือธุรกิจโรงแรมนั้น ก็ย่อมไม่คุ้มค่าต่อพื้นที่ป่าไม้ที่เสียไปแน่ๆ เพราะปัญหาของประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินก็ยังจะคงอยู่ และแน่นอนว่าพื้นที่ป่าไม้ก็จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ
 
ปัจจุบันกรมป่าไม้มีนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้โดยการแจก เอกสารสิทธิทำกินหลายล้านไร่ แต่ในทางกลับกันก็มีทางเลือกมากมายที่สามารถสร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่ทำ กินไปพร้อมกับต่อลมหายใจให้ป่าไม้และระบบนิเวศโดยรวม เช่น แนวคิดป่าชุมชนที่มีการนำเสนอและปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง 
 
แต่หากยืนยันว่าแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้ และแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับป่า ด้วยการแจกที่ดินในรูปแบบเดิมนั้น ก็จำเป็นจะต้องสร้างกลไกตรวจสอบตั้งแต่การแจกไปจนถึงการใช้ที่ดินเหล่านี้ ให้แข็งแรงและเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ ส่วนการแก้ปัญหาที่อีรุงตุงนังมากว่าสามสิบปีคือปัญหาการซื้อขายที่ดินเหล่า นี้ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะปล่อยให้ปัญหานี้หมักหมมจนเป็นฝีกลัดหนองที่เจ็บอยู่ทุกวันนี้  ด้วยการปฏิรูปกฎหมายให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมโดยยึดถือความเป็นจริง และแก้ปัญหาจากปัจจัยที่เป็นอยู่เพื่อธำรงไว้ซึ่งคนและพื้นที่ป่าไม้ 
 
การหยุดเพื่อทบทวนและหาแนวทางที่ดี และเหมาะสมกว่าย่อมเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชน และต่อลมหายใจให้พื้นที่ป่าไม้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้ายังดันทุรังเดินหน้าตามแนวทางเดิมที่มีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่ามีปัญหา มากมาย ก็คงต้องใช้คำพูดที่ว่าเจ็บแล้วจำคือคน แต่เจ็บแล้วยังทำซ้ำทำซ้อนจะเรียกว่าอะไรดี
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น