แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"ธาริต" เผยคำสั่งศาลคดี "พัน คำกอง" พยานหลักฐานพอแจ้งข้อหา "มาร์ค -สุเทพ"

ที่มา ประชาไท


อธิบดีดีเอสไอ เผยสำนวนคดีพัน คำกอง ที่ศาลมีคำสั่งไต่ส่วนการเสียชีวิตว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ พยานเอกสาร หลักฐานและคำให้การพยาน เบื้องต้นเพียงพอต่อการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้สั่งการ ศอฉ. แล้ว ประชุมหารือ 6 ธันวานี้
2 พ.ย.55 มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีการเสียชีวิตของเจ้า หน้าที่รัฐและประชาชน จากเหตุการณ์ชุมนุม 2553 จำนวน 99 ศพ ว่ายอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นแนวทางที่จะเกิดขึ้นภายหลังจาก พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม เพราะจะทำให้พ้นจากหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามกฎหมาย เพราะตำแหน่งผู้ตรวจราชการจะไม่มีอำนาจการสอบสวนคดีตามพ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษ  ทั้งนี้คงไม่มีผลต่อรูปคดี เพราะดีเอสไอทำงานในรูปแบบของคณะพนักงานสอบสวน มีอัยการ ตำรวจ ดีเอสไอ ร่วมกันทำงาน อีกทั้งที่ผ่านมาตนได้รับรายงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องว่ามีการดำเนินการ ส่วนใดบ้าง หลังจากนี้คดีจะมีความรวดเร็วและลดขั้นตอนทางการสั่งคดีได้
 
นายธาริต กล่าวต่อว่า ได้เข้าไปตรวจสอบรายละเอียดสำนวนของนายพัน คำกอง ผู้เสียชีวิต รายแรกที่ศาลมีคำสั่งไต่ส่วนการเสียชีวิต ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งพยานเอกสาร หลักฐานและคำให้การพยาน เบื้องต้นเชื่อได้ว่ามีหลักฐานเพียงพอต่อการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้สั่งการใน การออกคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไข้สถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ซึ่งหมายถึงนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศอฉ. และนายอภิสิทธิ์ เวชชีวะ อดีตนายกรัฐมตรี
 
รายงานข่าวแจ้งว่าการประชุมหารือคณะพนักงานสอบสวนในวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม นอกจากประเด็นการนำรายชื่อนายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ เสนอให้มีประชุมพิจารณาเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ตามกฎหมาย มาตรา 83, 84 และ 288 ยังจะมีหารือในเรื่องแนวทางการแจ้งข้อกล่าวหา เป็นรายคดีตามที่ศาลมีคำสั่งไต่ส่วนการเสียชีวิต เพื่อความรวดเร็วในการแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งนี้หากมีการแจ้งข้อกล่าวในคดีของนายพัน คำกอง จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในพื้นบริเวณที่นายพัน คำกอง เสียชีวิต ที่เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษเอาผิดในข้อหาพยายามฆ่า และทำร้ายร่างกาย สามารถดำเนินการได้ตั้งสำนวนการสอบสวนได้ทันที
 
ทั้งนี้นอกจากคดีนายพัน คำกอง ที่ศาลได้มีคำสั่งว่าการเสียชีวิตเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมาศาลก็ได้มีคำสั่งในคดีการตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คน ขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ ช่วงบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 ว่าเป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร เช่นเดียวกัน รวมทั้งยังมีอีก 2 คดีที่ศาลเตรียมมีคำสั่งอีก วันที่17 ธ.ค. นี้ คดีของนายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตคืนวันที่ 13 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าบริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี และ 16 ม.ค.นี้ คดีของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้อง ด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น