แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วรพล พรหมิกบุตร: กรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ : ใครชนะ ?

ที่มา Thai E-News



รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล  พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี

การเผย แพร่เอกสารที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า “คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ” (ตามที่ได้อ่านด้วยวาจาก่อนแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕) ในราชกิจจานุเบกษา เท่ากับเป็นการยืนยันมติเสียงส่วนใหญ่ของคณะตุลาการชุดดังกล่าวว่าตนมีอำนาจ พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องเกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๖๘ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ด้วยตนเองได้เลยโดยไม่ต้องรอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด  แต่อีกทางหนึ่งอาจก่อความยุ่งยากเสียหายให้แก่งานของศาลรัฐธรรมนูญและระบบ กฎหมายไทยต่อไปหากมีกรณีการร้องเรียนอย่างเดียวกันแล้วมีผู้ยื่นเรื่องทั้ง ต่ออัยการสูงสุดและต่อศาลรัฐธรรมนูญพร้อมกันโดยประกาศว่าการยื่นต่ออัยการ สูงสุดนั้นเป็นการยื่นให้อัยการสูงสุดเสียเวลาทำงานตามรัฐธรรมนูญ “เฉย ๆ” โดยไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรต่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอัยการสูงสุด   การกลั่นแกล้งทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อปราศจากการถ่วงดุล อำนาจระหว่างผู้ทำหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริง (ในกรณีนี้ คือ อัยการสูงสุด) กับผู้ใช้อำนาจตุลาการ (ในกรณีนี้ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ)

ใน กรณีการรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๖๘ ที่นำไปสู่การประกาศ “คำวินิจฉัย” ในราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวข้างต้นนั้น  คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าวได้ใช้อำนาจตั้งแต่การรับเรื่องร้อง เรียน  การสอบสวนข้อเท็จจริง  และการพิจารณาวินิจฉัยด้วยตนเองตลอดกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งขัดกับหลักการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่ต้องให้มีการแบ่งงานเพื่อ ถ่วงดุลอำนาจกันได้ในทางปฏิบัติ

การ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกบุคคลต่าง ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบเอง  แล้วนั่งประชุมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๖๘ โดยไม่รอทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด  เท่ากับเป็นการ “แย่งอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริง” มาจากอัยการสูงสุด โดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ถ้าหาก ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการแย่งอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการร้อง เรียนตามมาตรา ๖๘ ไปดำเนินการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด  ถ้าเช่นนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักร่าช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสองระบุให้อำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงแก่อัยการสูงสุดไว้อย่างชัดเจนเป็น ลายลักษณ์อักษรทำไม ? คำถามนี้ไม่เคยมีคำตอบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

การ ดำเนินการในกรณีร้องเรียนดังกล่าว ทั้งโดยผู้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นในศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่องานตามกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญแล้วยังก่อให้ เกิดผลกระทบในทางแทรกแซงการทำงานขององค์กรอื่น เช่น  สำนักอัยการสูงสุดที่ถูกคำแถลงความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดัง กล่าวทำให้หมดสิ้นสถานะทางกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ กำหนดให้โดยสิ้นเชิง    รวมทั้งรัฐสภาที่สามารถถูกยับยั้งถ่วงรั้งกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายได้ โดยอาศัยการกล่าวอ้างอำนาจตามความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดดัง กล่าว

คณะ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยืนยันใน “คำวินิจฉัย” ของตนว่าตนมีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๖๘ ข้างต้นไว้พิจารณาโดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุดก่อน  และมี “คำวินิจฉัย” ประเด็นต่อไปว่าให้ยกคำร้องของผู้ร้องในกรณีดังกล่าวเพราะยังไม่มีข้อเท็จ จริงเพียงพอต่อการสรุปว่าผู้ถูกร้องได้กระทำผิดตามมาตรา ๖๘ แล้ว  แต่ให้ผู้ถูกร้องใช้ความระมัดระวังในการลงมติวาระ ๓ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกร้อง และระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะกระทำมิได้หากไม่มีการลงประชามติ

ตัวแทน กลุ่มพลังที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แถลงหลังทราบการอ่าน “คำวินิจฉัย” วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ว่าเป็นชัยชนะของกลุ่มตนที่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ในขณะที่กลุ่มพลังอีกฝ่ายแถลงว่าเป็นชัยชนะของประชาชนที่สนับสนุนการแก้ไข รัฐธรรมนูญ      สมาชิกพรรคเพื่อไทยและบุคคลภายนอกเป็นจำนวนมากมีความเห็นในทางผ่อนคลายว่า “คำวินิจฉัย” ดังกล่าวช่วยยับยั้งความขัดแย้งตึงเครียดทางการเมือง

ไม่ว่า ฝ่ายใดจะอ้างชัยชนะ  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอย่างน้อยในอีกช่วงเวลา หนึ่งจนกว่าสมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่จะมีความกล้าหาญทางการเมืองมากขึ้นก็ คือ กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ควรจะมีการลงมติวาระ ๓ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ (การแก้ไขเป็นรายมาตรา) แล้วเสร็จตั้งแต่สมัยการประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมาได้ถูกถ่วงรั้งอย่างมีผล สัมฤทธิ์โดยการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยถึงขณะที่เขียนต้นฉบับนี้เป็น เวลายาวนานกว่า ๑ เดือน และยังมีโอกาสจะถูกถ่วงรั้งต่อไปอีกด้วยการใช้ข้อความใน “คำวินิจฉัย” ของศาลรัฐธรรมนูญทำนองที่ว่า “แก้ไขทั้งฉบับไม่ได้เว้นแต่จะมีการลงประชามติ” หรือข้อความทำนองที่ว่า “หากจะมีการลงมติวาระ ๓ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ค้างการพิจารณาก็ต้องรับผิดชอบกันเอง”  เป็นต้น   สภาพการณ์อันเป็นความ “ผะอืดผะอมทางการเมือง” ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติของสมาชิกรัฐสภากับอำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญดัง กล่าวยังคงดำรงอยู่ขณะที่ประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต้องการให้มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว

สภาพ การณ์ดังกล่าวเป็นชัยชนะของรัฐสภาหรือชัยชนะของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  หรือเป็นชัยชนะร่วมกันจากการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายก่อนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ?    ผู้ที่เห็นว่าตนเองได้รับชัยชนะนั้นมองเห็นประชาชนอยู่ตรงไหนในชัยชนะดัง กล่าว ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น