แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TCIJ: ปิด ‘พิพิธภัณฑ์เด็ก’ ยาว ติดล็อก แฉ 8 ปี กทม.ไม่เคยหนุน

ที่มา ประชาไท




ปิด พิพิธภัณฑ์เด็ก3ปียังไม่เปิด แม้แต่ผู้รับเหมายังหาไม่ได้ เผยเปิดบริการ8ปี กทม.ไม่เคยสนับสนุน ปล่อยให้หาเงินเองสุดท้ายไปต่อไม่ได้ ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องรูปแบบการบริหาร กังวลว่าต่อให้ปรับปรุงเสร็จก็อาจเปิดไม่ได้อีกเพราะไม่มีผู้บริหาร ซ้ำติดล็อกระเบียบราชการและราคากลางไม่สอดคล้องกับการบริหารแหล่งเรียนรู้ ลดคุณภาพพิพิธภัณฑ์เด็ก เพราะไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็ก เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 ซึ่งตรงกับวันเด็ก พร้อมกับกล่าวว่า จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันเด็กปี 2554 แต่เมื่อวันเด็กปี 2554 ผ่านไป พิพิธภัณฑ์เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กรอคอยก็ยังคงปิดตัวต่อไป โดยไม่มีวี่แววของการปรับปรุงใด ๆ ต่อมา มีป้ายนำมาติดที่รั้วของพิพิธภัณฑ์เด็ก บริเวณฝั่งตรงข้ามกับตลาดนัดซันเดย์ว่า จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2555 แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเดิม เพราะเกือบสิ้นปี 2555 แล้ว พิพิธภัณฑ์เด็กก็ยังปิดตัวชนิดไม่รู้วันเปิด

ใน เฟซบุ๊คของกองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร มีเด็กและเยาวชนบางคนเข้าไปสอบถาม เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะเปิดเมื่อใด เจ้าหน้าที่ของกองการท่องเที่ยว กทม. เข้ามาตอบว่า ‘คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2556’ ซึ่งตรงกับที่ นายมานิต เตชอภิโชค ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เคยระบุว่า หากเป็นไปตามแผนคาดว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556

อย่าง ไรก็ตามโพลล์สำรวจความพอใจของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการบริหารงานตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 จัดทำโดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจค่อนข้างมาก ซึ่งความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ในโครงการด้านการศึกษา 5 ลำดับแรก ประเด็นการจัดศูนย์เรียนรู้นอกห้องเรียนที่พิพิธภัณฑ์เด็ก คือส่วนหนึ่งของความพึงพอใจ ที่อยู่ในลำดับที่ 4 ทั้งที่พิพิธภัณฑ์เด็กปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน

ความ ล่าช้า คือภาพสะท้อนความไร้ประสิทธิภาพบางประการ ของระบบระเบียบราชการหรือไม่ คือความไม่เข้าใจต่อการจัดการการเรียนรู้ของกทม. หรือไม่ และมีความไม่ชอบมาพากลอะไรซุกซ่อนอยู่หรือไม่


พิพิธภัณฑ์เด็ก ต้นแบบการเรียนรู้สุดล้ำในอดีต


ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์เด็กในกรุงเทพฯ มีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร บนพื้นที่ 7 ไร่ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ 4 หลัง มีพื้นที่ให้บริการรวมกันถึง 9,000 ตารางเมตร และพื้นที่นอกอาคารอีก 3,000 ตารางเมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2544 ส่วนแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ มีพื้นที่ภายในอาคาร 9,779.78 ตารางเมตร พื้นที่ภายนอกอาคารและพื้นที่ต่อเนื่อง 4,242.14 ตารางเมตร และสระน้ำข้างอาคารอีก 4,451.16 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 18,473.08 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2550 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ

พิพิธภัณฑ์ เด็กแห่งแรกเกิดจากแนวคิดที่ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก แนวคิดข้างต้นค่อย ๆ ฟูมฟักก่อตัวเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กในที่สุด ภายใต้แนวทางการเรียนรู้แบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ผ่านชุดนิทรรศการอันหลากหลายและสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) ของเด็กๆ เอง จนพิพิธภัณฑ์เด็กเป็นต้นแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัย 1-12 ปี แห่งแรกของประเทศไทยและยังเป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้องกล่าวว่าเป็นความล้ำหน้าอย่างมากในยุคนั้น

ใน ด้านการดูแลพิพิธภัณฑ์เด็กตั้งแต่ปี 2544 กระทั่งปิดตัว กทม. โอนสิทธิให้อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก โดยทางมูลนิธิฯ ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทรักลูกเป็นผู้บริหารจัดการอีกทอดหนึ่ง



เทคโนโลยี-การเรียนรู้ไปเร็ว ต้องปรับปรุงเพื่อต่อชีวิต


การ ปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กจำเป็นหรือไม่ หากมองในแง่การจัดการความรู้ และการจัดการพิพิธภัณฑ์นับว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่ารูปแบบการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์เด็ก จะตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กและมีความทันสมัยเพียงใด แต่เมื่อเปิดมา 8 ปี สิ่งที่เคยทันสมัยก็กลายเป็นล้าสมัย เพราะวงจรปกติของพิพิธภัณฑ์นั้น เพียง 3 ปีก็ต้องพัฒนาปรับปรุงใหม่ เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ยังคงความมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เนื่องจากเนื้อหา สภาพแวดล้อม สภาพการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเสนอ กทม. ให้ปิดปรับปรุง (Renovate)

หาก นับอายุของพิพิธภัณฑ์เด็กถึงปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปมาก เด็กในปัจจุบันไม่ได้เรียนรู้จากหนังสือ แต่รับสื่อจากอุปกรณ์สื่อสาร เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน การเรียนรู้ของเด็กจึงก้าวหน้าไปเร็วมาก ประเด็นคือเมื่อความรู้เปลี่ยนไปมาก รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย ขึ้นให้สอดคล้องกับปัจจุบัน

นอก จากนี้ กลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เด็กคือ กลุ่มเด็กอายุ 1-12 ปี ดังนั้นเด็กที่มาใช้บริการพิพิธภัณฑ์เด็กตั้งแต่ยุคแรก ๆ ถึงตอนนี้บางคนก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว ส่วนเด็กที่เพิ่งเกิดก็มีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างออกไป การเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องย่อมเป็นสิ่งจำเป็น



8 ปี กทม.ไม่เคยสนับสนุนเงิน ปล่อยพิพิธภัณฑ์หาเงินเองจนไปไม่รอด


อย่าง ไรก็ตาม นอกจากต้องทำการปรับปรุงตัวอาคารและชุดนิทรรศการแล้ว ส่วนหนึ่งที่ทำให้พิพิธภัณฑ์เด็กต้องปิดตัวชั่วคราว เนื่องจากตลอด 8 ปีที่พิพิธภัณฑ์เด็กเปิดให้บริการ ไม่เคยได้รับการอุดหนุนงบประมาณจาก กทม. แต่อย่างใด

แหล่ง ข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า ตลอด 8 ปีของพิพิธภัณฑ์เด็ก ทาง กทม. ไม่เคยสนับสนุนงบประมาณใด ๆ ให้เลย จึงเท่ากับบีบให้พิพิธภัณฑ์เด็ก ต้องหาผู้สนับสนุนให้เพียงพอด้วยตนเอง รวมถึงการขายบัตรเพื่อเข้าชมนิทรรศการพิเศษต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เงินส่วนนี้ไม่เคยเพียงพอ เนื่องจากการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติต้องใช้วัสดุอุปกรณ์จำนวนมากอย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังมีค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งไม่มีทางหาแหล่งเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนได้เพียงพอ


              “สปอนเซอร์ที่ทางพิพิธภัณฑ์เด็กหามาได้ ก็มาจากภาคเอกชนล้วน ๆ ไม่มีจากรัฐ คนที่ทำธุรกิจจะมองออกว่า ฝั่งรายได้ได้อะไรบ้าง แต่ในฝั่งค่าใช้จ่ายคงที่มันหนัก ถ้ารองรับเด็กก็จะมีวัสดุสิ้นเปลือง ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำ ค่าไฟสูงมาก จึงมีการเสนอให้ทบทวนเรื่องการบริหารใหม่ เพราะการให้เอกชนบริหารโดยไม่ได้รับการอุดหนุนเลยย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนี้ก็เข้าปีที่ 3 แล้วในการหาคอนเซ็ปต์และแนวทาง” แหล่งข่าวกล่าว


แหล่ง ข่าวในกทม.กล่าวตรงกันว่า ที่ผ่านมาทางกทม. ไม่ได้สนับสนุนเงินให้แก่พิพิธภัณฑ์เด็กจริง เนื่องจากติดขัดในข้อสัญญา จนเป็นเหตุให้เอกชนที่เข้าไปบริหารจัดการต้องถอนตัวออกไป



  
ปิด 3 ปี รูปแบบการบริหารจัดการยังไม่ได้ข้อสรุป


ล่า สุดนายมานิตระบุว่า ทั้งนี้รูปแบบการดำเนินการพิพิธภัณฑ์เด็ก จะไม่ทำรูปแบบเดิมที่เป็นมูลนิธิ แต่จะให้บริษัทเอกชนมาบริหารจัดการ เนื่องจากกทม. ไม่สามารถบริหารเองได้ เพราะขาดความเชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ

แต่ แหล่งข่าวใน กทม. ระบุว่า ขณะนี้เรื่องแนวทางบริหารยังไม่ได้ข้อสรุป เพียงแต่ส่งเรื่องขึ้นไปให้คณะผู้บริหารพิจารณา ยังคงต้องรออีกระยะหนึ่ง ซึ่งหากได้ข้อยุติว่าจะให้เอกชนเข้ามาบริหารก็ยังต้องผ่านกระบวนการต่ออีก ว่า กทม. จะให้เงินอุดหนุนปีละเท่าใด และต้องทำทีโออาร์ (ข้อกำหนดและขอบเขตการจ้าง-Terms of Reference: TOR) เพื่อให้เอกชนเข้าแข่งขันอีก


                 “คณะทำงานกำลังขอความเห็นชอบ เรื่องการจ้างเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ แต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ต้องเสนอความเห็นไปที่ผู้บริหารก่อน เชื่อว่าผู้บริหารคงอยากเห็นการจัดการแนวใหม่ด้วย เรื่องต้องเข้าสู่ปลัดกทม.ก่อน และเสนอเข้าที่ประชุมผู้บริหาร แต่เป็นแนวคิดที่คณะทำงานเห็นตรงกันว่า กทม. ไม่ควรบริหารเอง ควรจะจ้างเอกชน ส่วนเรื่องงบสนับสนุนยังไม่มีการประเมินว่า งบประมาณที่จะสนับสนุนคือเท่าไหร่ เพราะต้องดูหลายเรื่อง คณะทำงานมองกันว่า ไม่ควรมีการเก็บเงิน ถ้าไม่เก็บ กทม. ต้องอุดหนุนอย่างเดียว แต่ถ้าให้เก็บเงินอาจจะเป็นการเลี้ยงตัวเองในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เงินที่จะอุดหนุนต้องมีเรื่องเงินเดือนของบุคลากร ค่าบำรุงรักษา แต่ขณะนี้ที่มีอยู่คือเรื่องการจ้างรักษาความปลอดภัยและการรักษาความสะอาด” แหล่งข่าวในกทม.กล่าว
  
หมาย ความว่า หากแนวทางบริหารยังไม่ได้ข้อยุติ ต่อให้การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กแล้วเสร็จ ก็อาจจะไม่สามารถเปิดให้บริการได้อยู่ดี เนื่องจากไม่มีผู้บริหารจัดการ

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านั้น มีการเสนอแนวคิดเรื่องรูปแบบการบริหารผ่านทางคณะกรรมการของมูลนิธิฯ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงด้านตัวบุคคล ตามวาระทางการเมือง และการโยกย้ายข้าราชการ ทำให้เกิดปัญหาความต่อเนื่องของคนที่รับนโยบายหรือขับเคลื่อนต่อ ประการที่ 2 การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ยังเป็นเรื่องใหม่ และยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากไม่มีโมเดลมาก่อน ตัวพิพิธภัณฑ์เด็กเองก็ถือเป็นโมเดลแรก ๆ ของเมืองไทย ทำให้ไม่มีต้นแบบการบริหารจัดการที่จะนำมาใช้
  
              “ต่อให้ผู้บริหารเข้ามาดูเองก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ เพราะมันซับซ้อน จึงไม่เกิดการผลักดันเต็มที่ แม้แต่ปัจจุบันนี้ ความเข้าใจและการเปลี่ยนกรอบคิดตรงนี้ก็ยังไม่เป็นที่รับรู้หรือชัดเจนขึ้น” แหล่งข่าวกล่าว


  
ติดล็อกราคากลาง หวั่นคุณภาพตก
  
รูป แบบการบริหารจัดการที่ไม่ได้ข้อยุติไม่ใช่ต้นเหตุเดียวของปัญหาความล่าช้า ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น การติดกรอบคิดของกทม.คืออุปสรรคประการหนึ่ง และยิ่งกลายเป็นอุปสรรคมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับกฎระเบียบราคากลางของทางราชการ ซึ่งไม่สอดคล้องและไม่เอื้อต่อการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กอย่างยิ่ง ทั้งอาจทำให้การปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์เด็กมีคุณภาพต่ำกว่า หรือไม่เป็นไปตามแบบที่วางเอาไว้

ประเด็น สำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ พิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันหรืออาจจะมากกว่า คือตัวองค์ความรู้และนิทรรศการ

“มัน ติดกรอบคิด คือพิพิธภัณฑ์เด็กได้แบบของตัวนิทรรศการและกายภาพเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องเข้าใจว่ามันไม่ใช่งานก่อสร้างแล้วก็หาผู้รับจ้าง กายภาพคือการก่อสร้าง แต่ยังหมายถึง การเอาแบบมาตีความ นิทรรศการคือการเอาแนวคิดของชุดนิทรรศการมาแปลงเป็นเครื่องเล่น เขาอาจจะออกแบบวัสดุให้เล่นแบบนี้ ๆ แบบมันควรจะเป็นแบบนี้ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องการก่อสร้าง มันต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง อย่างในต่างประเทศ เวลาทำชุดเรียนรู้ เขาต้องเอาไปทดสอบกับเด็ก ถึงบอกว่ามันติดกรอบคิด เพราะถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้ก็จะตีความว่าเป็นแบบก่อสร้าง พอสร้างแล้วมันใช้ไม่ได้ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างอยู่แล้ว” แหล่งข่าวอธิบาย

 จาก การตรวจสอบพบว่า แบบที่มีการทำออกมานั้น กำหนดงบประมาณไว้ที่ 120 ล้านบาท ปรากฏว่า เมื่อผ่านการคิดราคากลางงบประมาณลดเหลือเพียง 70 ล้านบาท ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการอีอ็อคชั่นแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าตัวเลขนี้จะลดลงอีกหรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ว่า หากเป็นการก่อสร้างอาคารทั่วไป งบประมาณที่ลดลงอาจไม่ใช่อุปสรรคมากนัก แต่กับพิพิธภัณฑ์กลับกลายเป็นคนละเรื่อง เพราะมีรายละเอียดที่บางครั้งไม่สามารถลดทอนได้ เพราะการลดทอนอาจหมายถึงคุณภาพของตัวพิพิธภัณฑ์


“การ จัดจ้าง การหาผู้รับเหมาก่อสร้าง มันจึงต้องไม่ใช่การหาแบบอีออคชั่น แต่ต้องมีวิธีหาซัพพลายเออร์หรือผู้เชี่ยวชาญที่สอดคล้อง วิธีการจ้างต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะขัดกับระเบียบของ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ที่เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องนี้โดยตรง แต่ ป.ป.ช. เขาก็มีวิธีจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ แต่ข้าราชการเขากลัว ดังนั้นถ้าเงินเกิน 2 ล้านบาท ต้องทำอีออคชั่น ซึ่งมันเป็นรูปแบบของการคิดที่ตายตัวมาก จึงไม่สอดคล้องกับงาน”


                “ส่วนงานที่เข้ามารับผิดชอบงบต้องเป็นส่วนงานที่เข้าใจเรื่องนี้ ถ้าตั้งแต่หัวไม่เข้าใจ งานก็ออกมาไม่ได้ การหาผู้รับจ้างก็เป็นเรื่องยากสำหรับเขา กระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทยพอใช้กรอบราชการมันติดล็อกหมด อย่างการทำนิทรรศการชุดหนึ่ง ราคากลางของราชการบางทีมันต่ำจนไม่สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ได้ แบบที่ออกแบบมาก็จะถูกย้อน เพื่อให้ไปสู่ราคากลาง ที่เป็นตัวทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์อะไรได้ ก็ต้องเปลี่ยน สมมติมูลค่าการสร้างสรรค์งานที่มีการประมาณการไว้สำหรับการหาผู้รับจ้าง เมื่อเทียบกับราคากลางแล้ว ปรากฏว่ามันสูงกว่าราคากลางมาก แต่ก็ต้องใช้ราคากลาง พอไปหาเอกชนรับจ้างก็สร้างไม่ได้ มันก็วนอยู่อย่างนี้” แหล่งข่าวกล่าว
  
จาก ปัญหาข้อติดขัดเรื่องระเบียบอันซับซ้อน ราคากลาง และกรอบคิดของผู้บริหาร กทม. คำกล่าวของนายมานิตที่พูดไว้เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะสามารถเปิดได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าจึงไม่สามารถเป็นไป ได้ เพราะถึงตอนนี้กทม. ยังไม่สามารถหาตัวผู้รับจ้างได้ด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่าการเปิดพิพิธภัณฑ์เด็กคงจะต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ที่มา: http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1729

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น