แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

อ่านคำแถลงปิดคดีของฝ่ายจำเลย สมยศ พฤกษาเกษมสุข ฉบับเต็ม

ที่มา ประชาไท


หมายเหตุ ประชาไทคงเลขไทยและเลขหน้าซึ่งคั่นอยู่ระหว่างเนื้อหาตามต้นฉบับ
          ( ๗ )
คำร้อง แถลงการณ์ปิดคดี                                                                               คดีหมายเลขดำที่    อ.๒๙๖๒     /๒๕ ๕๔
                                                                                                                           คดีหมายเลขแดงที่                /๒๕ 
           
                   
                                                                                                                           ศาล อาญา                                                                        วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม   พุทธศักราช  ๒๕๕๕  
   ความ อาญา    

   พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๔ สำนักงานอัยการสูงสุด    โจทก์
ระหว่าง
           นายสมยศ   พฤกษาเกษมสุข        จำเลย


          ข้าพเจ้า     นายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข        จำเลย                    
           
เชื้อชาติ             ไทย                         สัญชาติ            ไทย                                       อาชีพ              ธุรกิจส่วนตัว   
เกิดวันที่                -                            เดือน           -      พ.ศ.       -        อายุ       -         ปี  อยู่บ้านเลขที่        ๔๖/๔๒๘    
หมู่ที่             -                                     ถนน             ประชาอุทิศ            ตรอก/ซอย          ประชาอุทิศ  ๒๘           
ใกล้เคียง                 -             ตำบล/แขวง            ดอนเมือง     อำเภอ/เขต               ดอนเมือง   
จังหวัด                                    กรุงเทพมหานคร            โทรศัพท์                     -                

ขอยื่นคำร้องมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
             

ข้อ ๑. คดีนี้เสร็จสิ้นการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ศาลนัดพร้อมล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. โดยให้จำเลยแถลงการณ์ปิดคดีก่อนมีคำพิพากษาจำเลยขอประทานอนุญาตยื่นคำ แถลงการณ์ปิดคดีเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาของศาล ดังจะประทานกราบเรียนต่อไปนี้   
ข้อ ๒. ตามฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่าเมื่อระหว่างวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓  เวลากลางวัน  ถึงวันที่  ๑๕  มีนาคม  ๒๕๕๓  เวลากลางวันต่อเนื่องกัน และวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ เวลากลางวันถึงวัน ๑๕
หมายเหตุ*    ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่  ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
                                     ........................................................……...ผู้ร้อง
- ๒  -
มีนาคม ๒๕๕๓ เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยได้บังอาจกระทำการหมิ่นประมาท  ดูหมิ่น  และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย  ด้วยการดำเนินการจัดพิมพ์  จัดจำหน่าย  และเผยแพร่  ต่อประชาชน  ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไทย  ซึ่งนิตยสาร Voice of Taksin: เสียงทักษิณ  ปีที่๑ ฉบับที่ ๑๕ ปักษ์หลัง  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓  บทความคมความคิดของผู้ใช้นามปากกาว่าจิตร  พลจันทร์  เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น  หน้าที่ ๔๕-๔๗ และนิตยสาร Voice of Taksin: เสียงทักษิณ  ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๖ ปักษ์แรกมีนาคม  ๒๕๕๓  บทความคมความคิดของผู้ใช้นามปากกาว่าจิตร  พลจันทร์  เรื่อง ๖ ตุลาแห่ง พ.ศ.๒๕๕๓   หน้าที่ ๔๕-๔๗  ตามลำดับ
จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อหาและถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันจับกุมคือวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔  จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลานานกว่า 1 ปี  ๘ เดือนแล้ว โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแม้จะได้ยื่นขอประกันตัวรวม ๑๑ ครั้งแล้ว       
ข้อ ๓.ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยกระทำตัวเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร voice of Taksin เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจคนสุดท้ายในการนำบทความตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ที่มีข้อความดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ลงพิมพ์เผยแพร่ซึ่ง สื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ เป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เสียหายแก่บ้านเมือง โดยพยานโจทก์ที่มาเบิกความต่อศาลแบ่งเป็นกลุ่มข้าราชการเจ้าหน้าที่สำนักหอ สมุดแห่งชาติ เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มนักศึกษา พยานส่วนใหญ่ของโจทก์ให้ความเห็นว่าผู้เขียนบทความทั้งสองบทความมีเจตนาดู หมิ่นหรือหมิ่นประมาท หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์ เฉพาะศาสตราจารย์พิเศษธงทองดูเอกสารหมาย จ.๒๔ แล้วเบิกความว่า ไม่ได้ให้ความเห็นว่าเข้าค่ายหมิ่น
       (๔๐ ก.)     - ๓ -
สถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ แต่ได้ให้ความเห็นว่าข้อความที่ปรากฏอยู่ในหน้า ๔๖ ตรงคำว่า “โคตรตระกูล” นี้นั้นหมายถึงราชวงศ์จักรี และไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ.๒๕   
ข้อ ๔. ทางการนำสืบของจำเลยอ้างว่าไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ การดำเนินคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองโดยจัดชื่อ จำเลยและนิตยสาร Voice of Taksin อยู่ในผังล้มเจ้า จำเลยมิใช่บรรณาธิการเป็นแต่เพียงพนักงานคนหนึ่งของนิตยสาร Voice of Taksin  จำเลยไม่มีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันฯ อีกทั้งตาม พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้มีบทบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔  พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือ ที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรค ๑ โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่   ๖๒๖๘/๒๕๕๐ วางแนวบรรทัดฐานไว้ด้วย ประกอบกับบทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ยังตีความไม่ได้ว่าเป็นบทความที่ ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันฯ อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒
 ข้อ ๕. จากการนำสืบของโจทก์และจำเลยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้ 
๕.๑ ผังล้มเจ้าไม่มีอยู่จริง กล่าวคือ ก่อนจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนี้  จำเลยประกอบอาชีพสื่อมวลชน เป็นพนักงานคนหนึ่งของนิตยสาร Voice of Taksin : เสียงทักษิณ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท เกิดความวุ่นวาย ทำให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แก้ไขความไม่สงบ ศอฉ. ได้แจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลตามแผนผังซึ่งประชาชนทั่วไปเรียกว่า ผังล้มเจ้า ซึ่งมีชื่อของจำเลยและนิตยสาร Voice of Taksin ปรากฏอยู่ในผังดังกล่าว และต่อมาปรากฏว่าผังล้มเจ้าไม่มีมูลความจริงพนักงานสอบสวนและอัยการไม่ได้มี การดำเนินคดีบุคคลต่างๆ ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในผังล้มเจ้า
- ๔ -
ปรากฏตามตามคำเบิกความของนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ พนักงานสอบสวนคดีนี้เบิกความตอบโจทก์เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๑ บรรทัดที่ ๓ – ๕ ติดต่อกับหน้าที่ ๒ บรรทัดที่ ๑-๒  นับจากบนลงล่าง  ความว่า “ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๓ เกิดความวุ่นวายมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ (นปช.) ทำให้มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้นมาบริหารแก้ไขความไม่สงบ ศอฉ.ประชุมร่วมกันเกี่ยวกับการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นจึงได้มีหนังสือแจ้งไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษให้ดำเนินคดีกับกลุ่ม บุคคลตามแผนผัง ซึ่งประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า “ผังล้มเจ้า” โดยที่พยานปากนี้ได้เบิกความตอบถามค้านทนายจำเลยในวันเดียวกันว่า ผังล้มเจ้าไม่มีที่มาที่ไป ปรากฏตามคำเบิกความในหน้าที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒ – ๕ นับจากบนลงล่าง ความว่า “ จึงไม่ทราบว่าความเห็นของคณะพนักงานสอบสวนชุดนี้ลงความเห็นว่าผังล้มเจ้าไม่ มีจริงและยุติการดำเนินคดีหรือไม่ พันตำรวจเอกประเวศน์อาจแจ้งเรื่องสั่งไม่ฟ้องบุคคลดังกล่าวในที่ประชุม แต่ข้าฯไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงไม่ทราบ และทราบจากที่เป็นข่าวในสื่อมวลชนจากการสัมภาษณ์ของพันตำรวจเอกประเวศน์ว่า ผังล้มเจ้าไม่มีที่มาที่ไป ”     
ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ศอฉ.มีคำสั่งให้สลายการชุมนุมที่เรียกว่า ขอคืนพื้นที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จำเลยได้จัดทำนิตยสาร Voice of Taksin ฉบับพิเศษ รายงานข้อเท็จจริงด้วยภาพถ่ายจำนวนมาก และรายงานข่าวการเคลื่อนไหวของ นปช.จนกระทั่วถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มีผู้เสียชีวิต ๙๑ ศพ และบาดเจ็บกว่า ๒,๐๐๐ คน จำเลยและนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้จัดการแถลงข่าวเรียกร้องให้มีผู้รับชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงทางการ เมืองที่เกิดขึ้น ศอฉ.ได้ใช้อำนาจตามพรก.ฉุกเฉิน จับกุมจำเลยไปขังไว้ที่ค่ายทหารอดิศร จังหวัดสระบุรี เป็นเวลา ๒๑ วัน แต่อัยการมีคำสั่งไม่ส่งฟ้องจำเลย ต่อมายังมีคำสั่งปิดนิตยสาร Voice of Taksin อีกด้วย จำเลยได้ดำเนินการผลิตนิตยสาร Red Power แทน โดยผลิตได้เพียง ๕ เล่ม รัฐบาลได้ใช้พรบ.โรงงาน สั่งปิดโรงพิมพ์ที่รับงานพิมพ์นิตยสาร Red Power จำเลยจึงไปผลิตต่อที่ประเทศ

       (๔๐ ก.)     - ๕ -

กัมพูชา นำมาจำหน่ายในประเทศไทย จนกระทั่งถูกดำเนินคดีนี้ และจับกุมจำเลย ขณะที่กำลังนำคณะท่องเที่ยวชาวไทยไปกัมพูชา เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔  ปรากฏตามคำเบิกความของจำเลยเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๙ – ๑๖ ติดต่อกับหน้าที่ ๔ บรรทัดที่ ๑-๑๑  นับจากบนลงล่าง ความว่า “วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้าฯกับนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ออกแถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตามเอกสารหมาย ล.๑๑ ซึ่งมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวน ๙๐ ศพ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์และถนนราชดำเนิน อีกเหตุการณ์หนึ่ง (หมายถึงวันที่ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ) ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จับกุมข้าฯกับนายสุธาชัยไปไว้ที่ค่ายทหารในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดสถานการณ์ ฉุกเฉินดังกล่าว แต่นายสุธาชัยได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกขัง ๗ วัน แต่ข้าฯกลับถูกขังอยู่ถึง ๒๑ วัน จึงปล่อยตัว และพนักงานมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องข้าฯกับนายสุธาชัยในข้อหาที่ถูกจับกุมนั้น  ขณะข้าฯถูกขังที่ค่ายทหารดังกล่าวมีคำสั่งปิดนิตยสารเสียงทักษิณ โดยอ้างพระราชกำหนดเดียวกัน ข้าฯจึงขออนุญาตเปิดนิตยสารเรดพาวเวอร์โดยตั้งอยู่ที่เดียวกับนิตยสารเสียง ทักษิณคือศูนย์การค้าอิมพีเรียลบริเวณลาดพร้าว ใช่นิตยสารเอกสารหมาย ล.๔ ที่ให้ดู หลังตีพิมพ์ไปได้ ๕ เล่ม มีการตรวจค้นสำนักพิมพ์นี้และใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติโรงงานฯสั่งปิดและ ห้ามจัดจำหน่ายโดยปรับบริษัท เค.เค.พับลิชชิ่ง จำกัด เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ทำให้ไม่มีโรงพิมพ์ใดรับจ้างพิมพ์นิตยสารเรดพาวเวอร์  ข้าฯจึงร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้สอบสวนเรื่องดังกล่าว ข้าฯจึงย้ายไปพิมพ์หนังสือเล่มนี้ที่ประเทศกัมพูชา ขนส่งเข้ามาจำหน่ายเผยแพร่ในประเทศไทย นอกจากนี้ข้าฯยังทำบริษัทจัดท่องเที่ยว นครวัด นครธม เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา” 
ต่อมา ศอฉ. โดยพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ได้นำผังล้มเจ้าไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทำให้บุคคลที่มีชื่ออยู่ในผังล้มเจ้า รวมทั้งจำเลยและนายอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้รับความเสียหายถูกประชาชนที่ไม่เข้าใจกล่าวหาว่าจำเลยและนายสุธาชัย   ยิ้มประเสริฐ ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน
- ๖ -

พระมหากษัตริย์   นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้รับผลกระทบจากการแถลงข่าวของ ศอฉ.โดนข่มขู่ว่าจะถูกทำร้ายทั้งที่ทำงานและที่บ้านจึงได้ฟ้องร้องโฆษก ศอฉ. ซึ่งเป็นผู้แถลงข่าวในขณะนั้นคือ พันเอกสรรเสริญ  แก้วกำเนิด  และผู้สั่งให้จัดทำผังล้มเจ้าคือนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในข้อหาหมิ่นประมาท เมื่อมีการพิจารณาคดีพันเอกสรรเสริญ  แก้วกำเนิด ยอมรับว่าผังล้มเจ้าไม่มีหลักฐานไม่มีที่มาที่ไปว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในผัง เป็นผู้ล้มเจ้าจริง ดังปรากฏในคำเบิกความของนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ตอบทนายจำเลยถามเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๔ บรรทัดที่ ๓ – ๑๕ นับจากบนลงล่าง ความว่า “ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้าฯ และจำเลยคัดค้านการฆ่าประชาชนกลางกรุงเทพมหานครจึงร่วมกันแถลงการณ์คัดค้าน ให้นายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง .........................ในช่วงเวลาเดียวกันมีข่าวเรื่องผังล้มเจ้า ซึ่งเกิดจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์ดังกล่าวนำออกมาแสดง ปรากฏชื่อจำเลย ข้าฯ                  พลเอกชวลิต นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ และอื่นๆ ใช่แผนผังเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin)  เอกสารหมาย จ.๓ ที่ให้ดู ซึ่งไม่มีหลักฐาน เป็นสิ่งไม่ถูกต้องข้าฯ จึงฟ้องนายอภิสิทธิ์         เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ    พันเอกสรรเสริญ  แก้วกำเนิด  เป็นจำเลยที่ ๑ ถึง ๓ ตามลำดับต่อศาลนี้  ชั้นพิจารณามีการไกล่เกลี่ย พันเอกสรรเสริญ ยอมรับว่าแผนผังดังกล่าวที่เรียกกันว่าผังล้มเจ้านั้นเกิดขึ้นจากความเห็น ของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอรส.) โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน จึงเห็นว่าบุคคลตามรายชื่อที่ระบุไว้เกี่ยวข้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลไม่ได้หมายความว่าบุคคลที่ปรากฏชื่ออยู่ในแผนผังฉบับนี้เป็นคนที่ล้ม เจ้าจริง ข้าฯเห็นว่าพันเอกสรรเสริญ ยอมรับเช่นนั้น ว่าผู้มีชื่อในแผนผังดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้อง ข้าฯจึงยอมความ มีรายงานกระบวนพิจารณาของศาลบันทึกไว้เป็นหลักฐาน”   
ซึ่งข้อเท็จจริงนี้จำเลยขอแนบหลักฐานรายงานกระบวนพิจารณาคดีของนายสุธา ชัย  ยิ้มประเสริฐ ที่ยื่นฟ้องพันเอกสรรเสริญ   แก้วกำเนิด มาพร้อมคำแถลงการณ์ปิดคดีนี้ด้วย ปรากฏตามสำเนา
     
(๔๐ ก.)     - ๗ -
รายงานกระบวนพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๒๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ศาลอาญา(เอกสารท้ายคำแถลงหมายเลข ๑)  ซึ่งเรื่องเดียวกันนี้สอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ซึ่งเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒ -๕ ความว่า “จึงไม่ทราบว่าความเห็นของคณะพนักงานสอบสวนชุดนี้ลงความเห็นว่าผังล้มเจ้า ไม่มีจริงและยุติการดำเนินคดีหรือไม่ พันตำรวจเอกประเวศน์อาจแจ้งเรื่องสั่งไม่ฟ้องบุคคลดังกล่าวในที่ประชุม แต่ข้าฯไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงไม่ทราบ และทราบจากที่เป็นข่าวในสื่อมวลชนจากการสัมภาษณ์ของพันตำรวจเอกประเวศน์ว่า ผังล้มเจ้าไม่มีที่มาที่ไป ”          
 
การกล่าวหาว่าจำเลยล้มเจ้าจึงไม่มีมูลความจริงเป็นการกลั่นแกล้งทางการ เมืองของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อันเนื่องมาจากจำเลยทำหน้าที่สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นำเสนอความเป็นจริง กรณีรัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและ บาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓     
  
๕.๒ จำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้  จากการนำสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยสอดคล้องตรงกันว่าจำเลยมิใช่ผู้เขียนบท ความทั้ง ๒ บทตามคำฟ้องของโจทก์ กล่าวคือ พยานโจทก์ปากนางสาวเบญจา หอมหวาน ได้ให้การยืนยันไว้  ปรากฏดังคำเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ (ประเด็นศาลอาญา) เมื่อวันที่๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในหน้าที่ ๗ บรรทัดที่ ๘ – ๑๖ นับจากบนลงล่าง ความว่า “บทความของจิตร พลจันทร์ ข้าฯไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้เขียน เพียงแต่ได้รับทราบจาก
เพื่อนร่วมงานว่าคนเขียนชื่อ นายจักรภพ เพ็ญแข  ซึ่งจะเป็นความจริงหรือไม่ ไม่ทราบ อีกทั้งข้าฯไม่เคยพูดคุยกับนายจักรภพ เพ็ญแข แต่อย่างใด  ............................... จำเลยเป็นผู้หนึ่งที่เคยเขียนบทความลงในนิตยสาร Voice of Taksinโดยใช้ชื่อนามสกุลของจำเลยเอง จำเลยไม่เคยใช้ชื่อจิตร พลจันทร์ เขียนบทความลงในนิตยสาร
- ๘ -
Voice of Taksin” ซึ่งคำเบิกความของนางสาวเบญจา หอมหวาน เป็นไปทำนองเดียวกับคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนายชนาธิป ชุมเกษียณ ที่เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๖ บรรทัดที่ ๔ – ๕ นับจากบนลงล่าง ความว่า “จำเลยก็เขียนบทความลงในนิตยสารฉบับนี้ แต่ใช้ชื่อสกุลจริงเป็นผู้เขียนไม่เคยใช้นามแฝง” ซึ่งสอดคล้องกับพยานโจทก์ปากอื่นๆที่ไม่ยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้นามปากกา จิตร พลจันทร์ ในการเขียนบทความดังคำเบิกความของพยานโจทก์ปากพันเอกนุชิต ศรีบุญส่ง ซึ่งเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๗ บรรทัดที่ ๓ - ๔ นับจากบนลงล่าง ความว่า “ข้าฯไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้ใช้นามปากกาหรือนามแฝงว่า จิตร พลจันทร์ ไม่ทราบว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ” และคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ ซึ่งเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๖ บรรทัดที่ ๑ และ ๒ นับจากล่างขึ้นบน ความว่า “ข้าฯไม่ทราบว่าผู้เขียนคอลัมน์ คมความคิด ที่ใช้นามแฝงว่า จิตร พลจันทร์ เป็นใครใช่จำเลยหรือไม่” ซึ่งในประเด็นนี้จำเลยได้เบิกความตอบทนายจำเลยถามเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๔ - ๑๗ ติดต่อกับหน้าที่ ๙ บรรทัดที่ ๑-๔ นับจากบนลงล่าง  ความว่า “ผู้ใช้นามปากกาว่านายจิตร พลจันทร์ นั้นคือนายจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงยอมรับกันทั่วไปจึงเป็นที่ไว้วางใจให้เขียนบทความลง ในนิตยสารเสียงทักษิณอย่างต่อเนื่องและได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสารทุกบท ความโดยไม่มีการตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงต้นฉบับของบทความ ทีมงานของนายประแสงที่ทำนิตยสารเสียงทักษิณชุดเดิมเป็นผู้ติดต่อนายจักรภพ ซึ่งความจริงแล้วมีบทความลงตั้งแต่เล่ม ๑ แต่ใช้ชื่อสกุลจริง  ข้าฯไม่เคยเขียนบทความลงในนิตยสารนี้โดยใช้นามแฝง ยืนยันว่าผู้เขียนบทความที่ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ นั้น มีเพียงคนเดียวคือนายจักรภพ”     จากคำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับพยานจำเลยว่าผู้ใช้
       (๔๐ ก.)     - ๙ –
นามปากกาจิตร พลจันทร์ คือนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความตามที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดี นี้      
    
๕.๓ จำเลยไม่ใช่บรรณาธิการ Voice of Taksin กล่าวคือ จำเลยเป็นพนักงานคนหนึ่งของ Voice of Taksin ซึ่งได้รับเงินเดือนเหมือนพนักงานคนอื่นๆ แต่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป หน้าที่และตำแหน่งตามที่ตีพิมพ์ไว้ในปกหนังสือในทางพฤตินัยก็ไม่ตรงกับความ เป็นจริง หากจะพิจารณาในประเด็นเรื่องการร่วมกันในการจัดทำบทความที่โจทก์นำมาฟ้อง ทุกคนที่ทำงานในสำนักงาน Voice of Taksin ถือว่ามีส่วนในการ
จัดทำทั้งหมด คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยทำตัวเป็นบรรณาธิการเป็นการจงใจยัดเยียด ความรับผิดชอบทั้งหมดให้แก่จำเลยเพียงคนเดียว ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีฟังเป็นยุติแล้วว่า บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา นิตยสาร Voice of Taksin เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือ นายนรินทร์ จิตรมหาวงศ์ ดังปรากฏตามคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนางวิลาวัณย์ ทรัพย์พันแสน เบิกความตอบอัยการโจทก์เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๑ และ ๒ นับจากบนลงล่าง ความว่า “การพิมพ์ระบุว่านายนรินทร์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและบรรณาธิการของนิตยสารเสียงทักษิณ” ซึ่งสอดคล้องกับพยานโจทก์ปากนางสาววรรณศิริ เลิศพิรมย์ลักษณ์ เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๔  นับจากบนลงล่าง ความว่า “ทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารหมาย จ.๑๔ พยานดูแล้วเบิกความว่า ปรากฏว่านายนรินทร์ จิตมหาวงศ์ เป็นผู้ยื่นขออนุญาต  และภายหลังนิตยสารเสียงทักษิณได้รับอนุญาตออก ISSN ให้ ในชื่อของนายนรินทร์ซึ่งมีอำนาจจดแจ้งเพราะเป็นบรรณาธิการ”  ซึ่งพยานโจทก์ปาก นางสุภาณี     สุขอาบใจ ก็เบิกความไปทำนองเดียวกันว่านิตยสารเสียงทักษิณเจ้าของและบรรณาธิการเป็น บุคคลคนเดียวกัน ปรากฏตามคำเบิกความของนางสุภาณี  สุขอาบใจ เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๘ บรรทัดที่ ๙-๑๑ นับจากบนลงล่าง ความว่า “เหตุที่ข้าฯทราบว่าเจ้าของและบรรณาธิการ
- ๑๐ -
สิ่งพิมพ์เป็นบุคคลคนเดียวกันนั้นเพราะ ณ วันที่มายื่นหลักฐานประกอบการขอจดแจ้งการพิมพ์นิตยสารจะต้องนำหลักฐานมาแสดง จึงทำให้ทราบว่าเจ้าของเป็นใคร”       
 
๕.๔ พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นเป็นรับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือ ที่ตนเป็นบรรณาธิการ โดยมีแนวคำพิพากษาฎีกาที่  ๖๒๖๘/๒๕๕๐  ตัดสินวางบรรทัดฐานไว้       
หากศาลจะฟังว่าจำเลยกระทำตัวเป็นบรรณาธิการต้องรับผิดชอบเนื้อความที่นำ ลงพิมพ์โฆษณาตามคำกล่าวหาของโจทก์ จำเลยก็ขอกราบเรียนด้วยความเคารพว่าบทบัญญัติกฎหมายซึ่งใช้บังคับอยู่ใน ปัจจุบันคือพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์   พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ ตามเอกสารหมาย ล.๓ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือ ที่ตนเป็นบรรณาธิการ  เท่ากับไม่มีกฎหมายบัญญัติความรับผิดของบรรณาธิการไว้ในกรณีเช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคแรก ซึ่งกรณีนี้ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖๘/๒๕๕๐ ตามเอกสารหมาย ล.๕ วางบรรทัดฐานไว้ เพื่อความสะดวกจำเลยจึงได้แนบ พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖๘/๒๕๕๐ มาพร้อมคำแถลงการณ์ฉบับนี้ด้วย (เอกสารท้ายคำแถลงหมายเลข ๒ และ ๓ ตามลำดับ)ดังนั้นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำตัวเป็นบรรณาธิการจึงย่อม ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้โดยมีแนวคำพิพากษาฎีกาวางบรรทัดฐานไว้ ด้วยเช่นเดียวกัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบตามเนื้อความที่ลงพิมพ์โฆษณา            

       (๔๐ ก.)     - ๑๑ -
๕.๕ จำเลยไม่มีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ หากศาลจะฟังว่าบทความตาม จ.๒๔ และ จ.๒๕ เป็นบทความดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ก็ตาม จำเลยก็ขอกราบเรียนด้วยความเคารพว่าจำเลยมิใช่ผู้เขียนและมิใช่เป็นผู้กระทำ ความผิดและจำเลยก็มิได้มีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ประการใด การนำบทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ลงพิมพ์ในนิตยสาร Voice of Taksin เป็นไปตามระบบงานที่มิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจของจำเลย ปรากฏตามคำเบิกความของพยานโจทก์ทุกคนที่เคยร่วมทำงานกับจำเลยฟังได้ว่าการตี พิมพ์บทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้มิได้มีเจตนาจงใจที่จะทำให้เกิดการดู หมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด  เพียงแต่ทุกคนไม่ทราบถึงเนื้อหาแต่ได้นำลงพิมพ์โดยให้เกียรติเจ้าของบทความ ซึ่งเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและยังมีความรู้ระดับปริญญา เอกด้วย ซึ่งในประเด็นนี้จำเลยได้เบิกความตอบทนายจำเลยถามเป็นการยืนยันการทำงานของ จำเลย ปรากฏตามคำเบิกความของจำเลยเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๗ บรรทัดที่ ๑ – ๓ นับจากล่างขึ้นบน ติดต่อกับคำเบิกความในหน้าที่ ๘ ทั้งหน้า ความว่า “เนื่องจากเป็นรายปักษ์ออกทุก ๑๕ วัน จะได้รับบทความกระชั้นชิดใกล้ปิดเล่มกรณีที่เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและ เป็นผู้เขียนบทความประจำลงในนิตยสาร จึงจะได้รับการลงพิมพ์ไปเลย ภาพประกอบบทความขึ้นอยู่กับเนื้อหา  ข้าฯจะได้อ่านบทความต่อเนื่องก่อนลงตีพิมพ์ทุกครั้ง แต่เป็นการอ่านคร่าวๆเนื่องจากมีปริมาณมาก และต้องให้รวดเร็วทันปิดเล่ม การอ่านบทความของข้าฯจึงเน้นเฉพาะคำถูกคำ ผิด........................................ บทความโดยนายจิตร พลจันทร์ นั้น เป็นประเภทต่อเนื่องลงพิมพ์ในนิตยสารเสียงทักษิณตั้งแต่เล่มที่ ๒ ........................................................ผู้ใช้นามปากกา ว่านายจิตร พลจันทร์ คือนายจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงยอมรับกันทั่วไป จึงเป็นที่
- ๑๒ -
ไว้วางใจให้เขียนบทความลงในนิตยสารเสียงทักษิณอย่างต่อเนื่องและได้รับ การตีพิมพ์ลงในนิตยสารทุกบทความโดยไม่มีการตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงต้นฉบับของ บทความ”    

ส่วนประเด็นเรื่องการตรวจสอบบทความทั้งจำเลยและพนักงานคนอื่นๆกระทำแต่ เพียงตรวจคำถูกผิดของบทความเท่านั้นตามเหตุผลที่ได้ประทานกราบเรียนมา ซึ่งข้อเท็จจริงนี้พยานโจทก์ปาก
นายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ ได้เบิกความตอบทนายความจำเลยถามค้านเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๖ บรรทัดที่ ๘-๙ นับจากบนลงล่าง ความว่า “การพิมพ์นิตยสารนี้เร่งรีบจะปิดเล่มทุกครั้ง โดยเฉพาะปักษ์หลัง หลังจากข้าฯตรวจแล้วไม่ทราบว่าจำเลยแก้ไขหรือไม่” ซึ่งคำเบิกความของนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ เป็นไปทำนองเดียวกับคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนายชนาธิป ชุมเกษียณ ซึ่งเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๖ บรรทัดที่ ๑๐ -๑๔ นับจากบนลงล่าง ความว่า “หลังจำเลยรับบทความจากนางสาวเบญจาจะส่งให้นายกฤษฎาตรวจพิสูจน์อักษรเนื่อง จากเป็นรายปักษ์แต่ละฉบับเร่งรีบออกไม่มีเวลาถึงขนาดที่ข้าฯกับพวกต้องค้าง คืนทำงานกันที่โรงพิมพ์ บางฉบับหลังจากจำเลยส่งให้นางสาวเบญจาแล้วก็จะพิมพ์เลยไม่ได้ย้อนมาที่ตัว จำเลยอีก ทราบว่ากรณีบทความต่อเนื่องจำเลยจะไว้วางใจให้ลงพิมพ์โดยไม่ตรวจ แตกต่างกับบทความปกติหรือกรณีที่เป็นผู้เขียนหน้าใหม่ที่จะต้องตรวจสอบอย่าง ละเอียดก่อน”  
การนำบทความของจิตร พลจันทร์ ลงพิมพ์ตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ จำเลยจึงมิได้มีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ตามคำฟ้อง ของโจทก์ หากศาลจะฟังว่าถึงอย่างไรก็ตามจำเลยก็ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนทั้งๆที่ มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ คุ้มครองรวมทั้งแนวคำพิพากษาฎีกาวางบรรทัดฐานไว้แล้วก็ตาม จำเลยก็ขอกราบเรียนด้วยความเคารพว่าจำเลยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำตั้งแต่วัน ถูกจับกุม ระหว่างพิจารณาคดี จนถึงปัจจุบันนี้ผ่านไปเกือบ ๒ ปี จำเลยก็ไม่ได้รับ
       (๔๐ ก.)     - ๑๓ –
ความเมตตาจากศาลให้ประกันตัว  เท่ากับว่าจำเลยต้องได้รับโทษจำคุกฐานที่ละเลยไม่มีความรอบคอบในการตรวจ พิจารณาบทความตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ให้ละเอียดก่อนลงพิมพ์ การถูกจำคุกของจำเลยทั้งๆ
ที่จำเลยมิได้กระทำผิดโดยตรงจึงเสมือนเป็นการ ลงโทษจำเลยในผลของการกระทำพอสมควรแก่เหตุแล้ว อันจะเป็นบทเรียนให้จำเลยจดจำในการปฏิบัติงานเช่นนี้ต่อไปในอนาคต    

๕.๖ บทความตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ไม่เป็นบทความที่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์  กล่าวคือ ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของพยานที่อ่านบทความว่า มีความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่จิตร พลจันทร์ เขียนอย่างไร ความเห็นของพยานแต่ละปากไม่อาจสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าบทความของจิตร พลจันทร์ เป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพยานที่ได้อ่านบทความของจิตร พลจันทร์ ไม่อาจล่วงรู้ความคิดที่แท้จริงของจิตร   พลจันทร์ ได้อย่างถูกต้องนอกจากตัวของจิตร พลจันทร์ เอง  ดังจะเห็นได้จากการให้ความเห็นของพยานโจทก์แต่ละปากให้ความเห็นในแต่ละบท ความยังไม่เหมือนกัน เช่นความเห็นของพยานโจทก์ปากนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ ที่เบิกความตอบทนายความจำเลยถามค้านเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๘ บรรทัดที่ ๑-๒ นับจากล่างขึ้นบนติดต่อกับคำเบิกความในหน้าที่ ๙ บรรทัดที่ ๑-๔ นับจากบนลงล่าง ความว่า “อ่านเอกสารหมาย จ.๒๔ ทั้งหมดแล้ว ข้าฯเข้าใจว่าผู้เขียนสื่อถึงในหลวงก็มี และอำมาตย์ก็มี ข้าฯยืนยันว่าความเข้าใจของข้าฯถึงบทความนี้ที่สื่อถึงในหลวงเฉพาะเนื้อหา ตอนที่กล่าวอ้างถึง ๒๐๐ ปี และโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนอื่นไม่เกี่ยวข้อง ข้าฯยืนยันว่าอ่านเอกสารหมาย จ.๒๕ หลายครั้ง ก็ไม่เข้าใจ เพราะพูดถึงหลวงนฤบาล” ความเห็นของนายกฤษฎา  ใจสุวรรณ์ ที่ให้ความเห็นเมื่ออ่านบทความยังขัดแย้งกับพยานโจทก์ปากนางสาวชรินรัตน์ อิงพงษ์พันธ์ ที่ได้อ่านเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ได้ให้ความเห็นไปคนละทิศทาง  ดังปรากฏตามคำเบิกความของ          
- ๑๔ -
นางสาวชรินรัตน์ อิงพงษ์พันธ์ ซึ่งเบิกความตอบทนายความจำเลยถามค้านเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๙ บรรทัดที่ ๓-๑๐ นับจากบนลงล่าง ความว่า “เล่มแรกที่ให้ดูที่มีภาพณัฐวุฒินั้น เจ้าหน้าที่บอกว่า ณัฐวุฒิ
หมิ่น เปรม ข้าฯไม่ได้ให้ความเห็นกับเรื่องนี้..........................ทนายจำเลยให้ พยานดูเอกสารหมาย จ.๒๕ อีกครั้ง พยานอ่านเนื้อหาและบทความแล้วเบิกความว่าจำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อความตรงไหน ของบทความนี้ที่ทำให้ข้าฯให้ความเห็นว่าหมิ่นเบื้องสูง”         
 เมื่อเปรียบเทียบความเห็นของพยานโจทก์เฉพาะปากนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ กับ        นางสาวชรินรัตน์ อิงพงษ์พันธ์ ในการให้ความเห็นบทความ ตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ยังไปคนละทิศทาง ไม่อาจสรุปได้ว่าความเห็นของฝ่ายใดถูกหรือของฝ่ายใดผิด เช่นเดียวกับความเห็นพยานโจทก์ปากศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ พยานโจทก์ที่เบิกความตอบอัยการโจทก์เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๒ บรรทัดที่ ๔-๑๓ และในหน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๗-๑๐ นับจากบนลงล่าง ความว่า “พยานดูเอกสารหมาย จ.๒๔ แล้วเบิกความว่า ..........................................คำว่า “โคตรตระกูล” ที่ระบุไว้ทั้งสองแห่งผู้เขียนสื่อความหมายให้ผู้อ่านนึกถึงราชวงศ์จักรี ตรงที่หมายถึงราชวงศ์จักรีนั้นอยู่ตรงคำว่า “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ชัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” เป็นประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายกรุงธนบุรีในปี ๒๓๒๕ ต่อเนื่องกับตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์...................โจทก์ให้พยานดู เอกสารหมาย จ.๒๕ เป็นบทความโดยผู้เขียนนามปากกาเดียวกับ จ.๒๔ พยานดูแล้วเบิกความว่าเรื่อง ๖ ตุลา ๒๕๕๓ นี้ ผู้เขียนสมมุติตัวละครเดินเรื่องชื่อ “หลวงนฤบาล” อ่านแล้วข้าฯไม่แน่ใจไม่สามารถให้ความเห็นเด็ดขาดได้ว่าหมายถึงบุคคลหนึ่ง บุคคลใดหรือไม่”       
จากคำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งบางส่วนยังมีความแตกต่างกันในการให้ความ เห็นเกี่ยวกับบทความเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ แต่พยานส่วนใหญ่ของโจทก์ก็ให้ความเห็นไปทำนองเดียวกัน
     
(๔๐ ก.)     - ๑๕ –
ว่าบทความตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ เป็นบทความที่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันฯ ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่ของพยานโจทก์แตกต่างจากความเห็นของพยานจำเลยทุกปากซึ่ง พยานของจำเลยเป็นพยานบุคคลที่มี
ชื่อเสียงเป็นอาจารย์สอนอยู่ในสถาบัน หลักของประเทศไทยอันได้แก่ ความเห็นของอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อาจารย์สุดสงวน สุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและอดีตสมาชิกวุฒิสภาล้วนให้ความเห็นไปทำนอง เดียวกันว่าบทความตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ไม่เป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์       
ในการนำสืบของโจทก์ที่นำพยานบุคคลจำนวนมากที่มีกรอบความคิดเดียวกันและ เป็นความคิดที่มีอคติกับความคิดของฝ่ายจำเลยมาให้ความเห็นเกี่ยวกับบทความ เช่นกรณีพยานโจทก์กลุ่มนักศึกษา คือ นางสาวปวิตรา สกุลชัยมงคล นายเตชิต ชัยเดชสุริยะ และนายชวาล แซ่เย๊ะ พยานโจทก์ทั้ง ๓ ปากเป็นนักศึกษาฝึกงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษใช้เวลาฝึกงานนาน ๒ เดือน หัวหน้าควบคุมงานคือนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ พนักงานสอบสวนคดีนี้ที่มีหน้าที่ประเมินผลการฝึกงานของพยานทั้งสามคน ดังนั้นนักศึกษาฝึกงานทั้งสามคน ย่อมได้รับอิทธิพลและมีทัศนคติไปในทางเดียวกับพนักงานสอบสวนคดีนี้ การกำหนดพยานเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับบทความของพนักสอบสวนกรมสอบสวนคดี พิเศษ เป็นไปอย่างมีอคติ พยานที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีนี้มีความใกล้ชิดกับพนักงานสอบสวน และมีทัศนคติในด้านลบกับจำเลย   
เนื้อหาที่ปรากฏในบทความที่นำมาฟ้องผู้เขียนยกตัวอย่างตุ๊กตา เป็นตัวละครล้อเลียนไม่ใช่เรื่องจริงและผู้อ่านไม่อาจรู้แน่ชัดได้ว่าผู้ เขียนหมายถึงใคร  ซึ่งในประเด็นนี้พยานจำเลยเมื่อได้อ่านบทความต่างก็ให้การไปในทำนองเดียวกัน ว่าผู้เขียนสื่อถึงพวกอำมาตย์ไม่ได้สื่อถึงกษัตริย์  การดำเนินคดีตาม
- ๑๖ -
ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เป็นวิถีทางทางการเมืองที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามจะใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็น เครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม ในกรณีนี้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้นถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายตรงข้าม  ในเบื้องต้นการพิจารณาให้ดำเนินคดีนี้ผู้มีอำนาจตัดสินใจคือผู้มีอำนาจสูง สุดในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)  ดังปรากฏตามคำเบิกความของพยานโจทก์ปากพันเอกนุชิต ศรีบุญส่ง ที่เบิกความตอบอัยการโจทก์ถามติงเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๕-๖  นับจากบนลงล่าง ความว่า “ อำนาจวินิจฉัยสุดท้ายว่ากรณีเข้าข่ายหมิ่นประมาทสถาบันฯ คือผู้มีอำนาจสูงสุดในคณะกรรมการในศูนย์ ศอฉ. ที่แต่งตั้งขึ้น ไม่ใช่ข้าฯ”  จากคำเบิกความของพยานปากนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงาน ศอฉ. เป็นผู้จัดทำผังล้มเจ้าโดยมีชื่อจำเลยและนิตยสาร Voice of Taksin ปรากฏอยู่ในผังล้มเจ้าและ ศอฉ. ก็เป็นผู้สั่งให้ดำเนินคดีกับจำเลยและนิตยสาร Voice of Taksin เอง การดำเนินคดีจึงเป็นไปอย่างมีอคติตั้งแต่ต้น การสั่งฟ้องของพนักงานอัยการโดยสรุปจากจำนวนพยานจำนวนมากที่พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษสอบปากคำไว้โดยไม่ใช่พยานที่เป็นคนกลางอย่างแท้จริงจึงไม่ เป็นธรรมต่อจำเลย  การจะพิจารณาว่าความเห็นของฝ่ายใดถูกต้องโดยดูจากจำนวนพยานหรือความรู้ความ สามารถของพยานว่าฝ่ายใดมีจำนวนพยานมากกว่าหรือพยานมีความรู้ความสามารถ มากกว่าก็ไม่น่าจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาได้ การจะตัดสินว่าผู้เขียนบทความคือจิตร พลจันทร์ เขียนบทความดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทสถาบันฯ โดยใช้การพิจารณาความเห็นและความรู้สึกของพยานจึงไม่เป็นธรรมต่อผู้เขียนและ จำเลยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำบทความลงพิมพ์ในนิตยสาร Voice of Taksin
จากเหตุผลดังที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลที่เคารพมาข้างต้น จำเลยจึงไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้องโจทก์ จึงขอศาลได้โปรดพิจารณาพิพากษายกฟ้องโจทก์และปล่อยตัวจำเลยพ้นข้อหาไปด้วย  เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต    
       (๔๐ ก.)     - ๑๗ –
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด        ลงชื่อ      ทนายความจำเลย
คำ แถลงการณ์ฉบับนี้ข้าพเจ้านายสุวิทย์  ทองนวล    ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียงและพิมพ์      ลงชื่อ      ผู้เรียงและ พิมพ์                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        



AttachmentSize
23 Jan 2013 Somyos.doc134.5 KB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น