แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ชาวคะฉิ่น-ไทใหญ่ในไทยเรียกร้องพม่ายุติการโจมตีรัฐคะฉิ่น

ที่มา ประชาไท


จัดชุมนุมหน้าสถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ให้ยุติสงครามในรัฐคะฉิ่น และปกป้องพลเรือน หลังสถานการณ์รัฐคะฉิ่นวิกฤตหนัก-หลังกองทัพพม่าโจมตีทางอากาศในพื้นที่ยึด ครองของทหารคะฉิ่น KIA จนทำให้มีผู้อพยพจำนวนมาก
ชาวคะฉิ่นที่ อยู่ในประเทศไทยมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติสงครามในรัฐคะฉิ่น ที่หน้าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ถ.สาธร เมื่อ 11 มกราคม 2556
ชาวไทใหญ่ในกรุงเทพมหานครมาร่วมชุมนุมกับชาวคะฉิ่่นที่หน้าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย

เวลา 10.00 น. วันนี้ (11 ม.ค.) ประชาชนชาวคะฉิ่นและชาวไทใหญ่ทั้งที่มาจากพม่าและที่อาศัยในประเทศไทย และชาวพม่า ได้ชุมนุมกันที่หน้าสถานทูตพม่าประจำกรุงเทพฯ ที่ ถ.สาธร เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติการสู้รบในรัฐคะฉิ่น หลังล่าสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมากองทัพพม่าเริ่มใช้ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศต่อพื้นที่ของฝ่ายกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) บริเวณรัฐคะฉิ่น ติดชายแดนจีน-พม่า
โดยนางปันปัน ชาวคะฉิ่นจาก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเดินทางมาชุมนุมด้วยกล่าวว่า ติดตามสถานการณ์ในรัฐคะฉิ่นจากข่าวทางอินเทอร์เน็ต รู้สึกกังวลต่อสถานการณ์ของชาวบ้านในรัฐคะฉิ่นอย่างมาก สำหรับข้อเรียกร้องให้ผู้ที่มาชุมนุมในวันนี้ก็คือ 1.เรียกร้องให้กองทัพพม่ายุติการทำสงคราม 2.หยุดการโจมตีใส่เป้าหมายพลเรือน 3.อย่าทำอันตรายสตรีและเด็ก
ขณะเดียวกัน สมาคมนักศึกษาพม่าในต่างประเทศได้ยื่นแถลงการณ์ถึงประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ผ่านสถานทูตพม่าในประเทศไทย โดยมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อคือ 1.ยุติสงครามและวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่น 2.เปิดการเจรจาและคลี่คลายความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่นด้วยวิถีประชาธิปไตย และให้จำกัดด้านเงื่อนเวลา 3.ยุติการใช้เครื่องบินขับไล่และการทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือน 4.ให้มีการแจกจ่ายอาหาร ความช่วยเหลือ และที่พักชั่วคราวตามมาตรฐานนานาชาติ และ 5.ให้ฟังเสียงของประชาชนพม่าตามที่รัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ทั้งนี้พม่ามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2553 และมีผู้นำคือประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคมปี 2554 อย่างไรก็ตามในพม่ายังมีสถานการณ์สู้รบในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยทั้งที่รัฐฉาน และรัฐคะฉิ่น โดยที่รัฐคะฉิ่น ทหารพม่าและกองทัพอิสรภาพคะฉิ่นหรือ KIA เริ่มปะทะกันเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ปี 2554 หลังทหารพม่าข้ามมายังเขตควบคุมของทหารคะฉิ่นและโจมตีฐานที่มั่น และการสู้รบได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของหน่วยงานบรรเทาทุกข์ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยในรัฐคะฉิ่นแล้วนับแสน คน
ขณะที่นางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านซึ่งได้รับอิสรภาพในเดือนพฤศจิกายนปี 2553 และชนะการเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนปี 2555 และได้เป็น ส.ส. ในสภาพม่านั้น ถูกฝ่ายชนกลุ่มน้อยในพม่าวิจารณ์อย่างหนักต่อการมีท่าทีเมินเฉยกับสถานการณ์ ในรัฐคะฉิ่น โดยก่อนหน้านี้ระหว่างที่นางออง ซาน ซูจีเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อรับเหรียญสดุดีจากสภาคองเกรส ขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (SNLD) และเป็นอดีตนักโทษการเมือง ซึ่งเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเช่นกันได้วิจารณ์นางออง ซาน ซูจีระหว่างการแถลงข่าวว่าไม่ยอมพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันองค์กรชาวคะฉิ่นในสหรัฐอเมริกาก็ประกาศคว่ำบาตรการรับรางวัลที่ สภาคองเกรสของนางออง ซาน ซูจี และเรียกร้องให้นางออง ซาน ซูจี ให้ความสนใจความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่นมากขึ้นและออกมาปกป้องผู้ลี้ภัยชาวคะฉิ่น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา สำนักข่าวดีวีบี รายงานว่า นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่าเธอจะไม่เข้าไปยุติ สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างกองทัพพม่าและกองทัพคะฉิ่น หากรัฐบาลไม่เห็นชอบ "เรื่องนี่ขึ้นกับรัฐบาล เรื่องนี้รัฐบาลเป็นผู้ดูแลอยู่ในขณะนี้" ออง ซาน ซูจีกล่าวกับผู้สื่อข่าวเอเอฟพี เมื่อถูกถามว่าออง ซาน ซูจีจะเข้าไปช่วยคลี่คลายสถานการณ์สู้รบในรัฐคะฉิ่นหรือไม่ หลังจากที่กองทัพพม่าเริ่มโจมตีพื้นที่ของกองทัพคะฉิ่นทางอากาศ
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่พม่ายังดำเนินคดีต่อผู้ที่เคลื่อนไหวเรียกร้อง สันติภาพในรัฐคะฉิ่นด้วย โดยมีการฟ้องเยาวชนและนักกิจกรรมพม่าอย่างน้อย 13 คน ที่เป็นผู้จัดการเดินขบวนที่นครย่างกุ้งเรียกร้องให้มีการยุติสงครามในรัฐคะ ฉิ่น เนื่องในวันสันติภาพสากล 21 กันยายนปีที่ผ่านมา โดยผู้ที่ถูกฟ้องจะต้องเผชิญโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น