แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

บทความแปล: “วารสารศาสตร์” ในโลกจักรวาลคู่ขนาน หรือ การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ เนชั่น

ที่มา Thai E-News

 อ้างอิง: “Journalism” in the parallel universe or reporting for The Nation
โพสต์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

แปลโดย: ดวงจำปา

ในบางครั้ง มันก็ดูเหมือนกับว่า ผู้รายงานข่าวจาก หนังสือพิมพ์เนชั่นอาศัยอยู่กันในโลกจักรวาลหรือเอกภพคู่ขนานจาก โลกแห่งความเป็นจริง ตามตัวอย่างที่จะกล่าวนี้ เมื่อได้อ่านการประเมินผลล่าสุดเพื่อรายงานในตอนปลายปีโดยผู้สื่อข่าวสาม ท่าน คือ คุณสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์ , คุณกิตติพงษ์ ทวีวงษ์ และ คุณสมัชชา หุ่นสาระ  ดูเหมือนกับว่า ทัศนคติของพวกนี้ที่ว่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร โชคดีมากๆ ที่ยังสามารถรักษาตำแหน่งของเธอไว้ได้ พวกเขาทำการพาดหัวข่าวว่า “ยิ่งลักษณ์ก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ. 2556 ในฐานะของ ผู้รอดตายจากวิกฤติการณ์

การเขียนข่าวของพวกเขาเกี่ยวกับตัวผู้นำฝ่ายบริหารซึ่งได้รับชัยชนะจากการ เลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนกรกฎาคมของปี พ.ศ. 2554 และยังคงรักษาคะแนนนิยมในการสำรวจตรวจสอบจากหลายๆ แห่งว่า ยังมีความเชื่อถือเหนือกว่าผู้นำฝ่ายตรงข้ามคือ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสียอีก ดังนั้น ทำไมผู้สื่อข่าวกลุ่มนี้ ถึงสามารถเริ่มการรายงานหัวข้อข่าวว่า “ต้องขอบคุณให้กับ ผู้สนับสนุนที่มีอิทธิพลทั้งหลาย ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีสามารถรอดพ้น (จากวิกฤติการณ์) มาได้ ทั้งๆ ที่เต็มไปด้วยขวากหนามกำแพงอิฐขวางก้ันอยู่” ?  เป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า พวกเขาไม่ได้ส่อความหมายถึงผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งว่าเป็น “ผู้สนับสนุนที่มีอิทธิพล” ทั้งหลายอย่างแน่นอน ความปรกติในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยคือ ตัวผู้นำของฝ่ายบริหารนั้น สามารถรักษาความสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและ ความไว้วางใจจากรัฐสภาให้คงอยู่ได้  คุณยิ่งลักษณ์มีทั้งสองอย่าง

พวกเขาก็เริ่มรายงานต่อผู้อ่านเกี่ยวกับคุณยิ่งลักษณ์ว่า “ได้รอดชีวิต จากวิกฤติการณ์มามากกว่า 15 เดือนในตำแหน่งแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการโจมตีอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกจากกลุ่มที่ทำการวิพากย์วิจารณ์และ จากกลุ่มนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวหาถึงการที่เธอเพิกเฉยละเลยต่อหน้าที่, ปราศจากประสบการณ์ใดๆ ทางการเมือง และมีแนวโน้มที่จะทำเรื่องสำคัญๆ ให้กลายเป็นเรื่องที่ลอยเคว้งคว้างอย่างปราศจากจุดหมาย” 

ดูเหมือนว่าจุดประสงค์ของเรื่องคือว่า มันไม่มีการก่อการรัฐประหารโดยฝ่ายกองทัพ หรือ โดยฝ่ายตุลาการใดๆ เกิดขึ้น เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งออกไปอีกครั้งหนึ่ง ดูเหมือนกับว่าผู้รายงานข่าวเหล่านี้คิดว่า กองกำลังอย่างแท้จริงในทางการเมือง, ในกลุ่มอำมาตย์ชนชั้นสูง, กลุ่มกองทัพ และ ฝ่ายวัง น่าจะหรือ ควรที่จะถีบเธอออกมาจากตำแหน่งไปแล้วในเวลานี้

แต่พวก “ผู้สื่อข่าว” เหล่านี้ ปฎิเสธที่จะให้เครดิทใดๆ กับคุณยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับ “การอยู่อย่างยาวนาน” ในวิถีทางทางการเมืองของเธอ: เธอมีความสามารถเพียงแต่รอดตัวออกมาได้ “ต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากนักการเมืองที่มีประสบการณ์และมีอิทธิพลอย่าง มากที่ช่วยหนุนหลังเธอ” รวมไปถึง “พี่ชายของเธอคือ อดีตนายกฯ ทักษิณ”  ประโยคที่กล่าวนี้ ไม่ใช่ประโยคที่แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นปรกติในวิถีทางทางการเมืองที่ใช้ ระบบการเลือกตั้ง   --- ผู้นำทุกๆ คนจะมีทีมของคณะที่ปรึกษาและต้องเผชิญหน้ากับประเด็นที่เต็มไปด้วยการทะเลาะ วิวาทต่างๆ ด้วย ดูเหมือนว่า ทีมผู้รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เนชั่น คิดว่า รูปแบบทางการเมืองโดยการนำของบุคคลที่ตัดสินใจทุกสิ่งทุกอย่างเพียงเหมือน กับชายเพียงคนเดียวนั้น (และคำว่า “ชายคนเดียว” นั้น อาจจะเป็นคำที่ใช้ได้อย่างถูกต้องเสียด้วย)  เป็นเรื่องที่เห็นว่าดีกว่าการทำงานหลายๆ คนในสถานะของรัฐบาลและในสถานะของรัฐสภา  ส่วนคุณยิ่งลักษณ์เองได้ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่า “หายตัวไปจากแวดวงการเมือง” และพร้อมกับยืนยันว่า “ประเด็นร้อนแรงนั้น” เป็น “เรื่องที่ทางรัฐสภาจะต้องกระทำ....”

สิ่งที่แย่กว่านั้น, ตามที่ “ผู้สื่อข่าวเหล่านี้” ได้รายงานชุดไว้ คือ คุณยิ่งลักษณ์ “ต้องการการสนับสนุนและความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก.... จากกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์อย่างเชี่ยวชาญ เพื่อที่จะเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ได้”  ดูเหมือนกับว่า “อาชญากรรมทางการเมือง” ของเธอก็คือ เธอมี “เสนาธิการผู้ที่เธอให้ความไว้วางใจ” และมีกลุ่มที่ปรึกษาผู้ที่ “ตระเตรียมการแถลงงานของเธอและให้ข้อมูลใหม่ๆ กับเธอเกี่ยวกับพันธกิจในปัจจุับน” ดูเหมือนกับความคิดที่ว่า ผู้นำชาวไทยจากฝ่ายบริหาร ได้รับคำปรึกษาและได้รับข้อมูลใหม่ๆ จากกลุ่มผู้ชำนาญการและจากกลุ่มนักการเมืองที่มีประสบการณ์นั้น จะเป็นเรื่องที่เหมือนกับคำสาปแช่งขึ้นมา

เป็นที่แน่นอนที่สุดว่า นี่คือ องุ่นเปรี้ยว (ปลาเน่า) ในทางวารสารศาสตร์ ส่วนความคิดที่ว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่ต้องมีที่ปรึกษาใดๆ เลยเป็นเรื่องที่น่าขบขันเป็นอย่างยิ่ง เช่นเมื่อ คุณชวน หลีกภัย ได้รับตำแหน่งในบทบาทอันสำคัญต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ๆ ที่ท้าทายอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ และกับตัวคุณอภิสิทธิ์ด้วย  คุณทักษิณต้องพึ่งตัวเองอยู่กับกลุ่มที่ปรึกษาที่เขาไว้วางใจ เช่น คุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ และ เราแทบที่จะไม่สามารถอ้างถึงผู้นำฝ่ายบริหารคนก่อนๆ เช่น พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้เลย โดยปราศจากการเอ่ยถึง กลุ่มของคณะที่ปรึกษาของเขานั้น ปฎิบัติงานอยู่ที่บ้านพิษณุโลกกัน

เมื่อรายงานข่าวได้พาดพิงถึงคุณอภิสิทธิ์ มันก็มีแต่การให้คำแก้ตัวกับเขาและวิจารณ์คุณยิ่งลักษณ์ว่า ไม่สามารถที่จะเผชิญหน้าต่อการชุมนุมอันแสนดุเดือดบนท้องถนนได้  คุณอภิสิทธิ์ “เผชิญหน้าต่อความเกลียดชังอย่างเปิดเผยซึ่งๆ หน้า.... (และ) ได้ถูกรังควานอย่างบ่อยครั้งโดยกลุ่มย่อยๆ ซึ่งเป็นผู้ประท้วงของฝ่ายเสื้อแดงเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะ” และเป็นเรื่องที่แน่นอนที่สุด “รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ได้ถูกขัดขวางอย่างแสนสาหัสจากการประท้วงบนท้องถนน จากกลุ่มเสื้อแดงเหล่านี้ในปี พ.ศ. 2552 และ ในสถานการณืความไม่สงบระส่ำระสายและการก่อการจราจลในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นอัมพาตไป เป็นเวลามากกว่าสองเดือน และนำไปสู่การเสียชีวิตมากกว่า 90 ศพภายใต้การปราบปรามของรัฐบาลเพื่อที่จะยุติความขัดแย้ง”

เรื่องที่กล่าวมาท้งหมดนั้น เป็นการแก้ตัวให้กับกฎเกณฑ์ทางการเมืองอย่างสุดขั้วของคุณอภิสิทธิ์ และ การปราบปรามที่มีการหนุนหลังจากฝ่ายกองทัพและจากฝ่ายวัง ซึ่งก่อให้เกิดการสะท้อนกลับในการเลือกตั้งอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐบาลที่ขึ้นมา อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คุณยิ่งลักษณ์เอง ได้ถูกมองว่า ต้องเผชิญหน้ากับแค่ “การประท้วงในเดือนพฤศจิกายนโดยกลุ่มพิทักษ์สยาม ซึ่งสิ้นสุดไปในเวลาไม่ถึงหนึ่งวัน การประท้วงได้ถูกเผด็จศึกอย่างโดยง่าย และควรจะขอขอบพระคุณต่อการปฎิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของการควบ คุมฝูงชนอย่างรวดเร็วโดยทางฝ่ายตำรวจ......” ผู้รายงานข่าวกลุ่มนี้ ได้สรุปว่า “เธอควรที่จะต้องพยายามทำงานให้หนักกว่านี้ และควรที่จะลงมือจัดการด้วยตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสงบปากสงบคำต่อกลุ่มที่ทำการวิพากย์วิจารณ์และสร้างความมั่นใจต่อ สาธารณชนที่ยังมีความเคลือบแคลงใจอยู่”

เรื่องเหล่านี้เป็นการบรรจุบทความที่ไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง แทนที่จะถูกชมเชยว่า ได้หลีกเลี่ยงต่อการชุมนุมบนท้องถนนที่มีผู้คนมากมายและเป็นผู้นำของรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยม ซึ่งไม่ได้ทำลายล้างชีวิตผู้คนที่ทำการประท้วงอยู่บนถนนและจับขังฝ่ายตรง ข้ามทางการเมืองบางคนนั้น มันดูเหมือนกับว่า กลุ่มผู้รายงานข่าวพวกนี้ กล่าวว่า  “ความเยือกเย็น” ในการเข้าสู่การแก้ปัญหาทางการเมืองของเธอนั้น ดูเหมือนกับว่า เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเลยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผู้เคราะห์ร้ายอย่างคุณ อภิสิทธิ์ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาในทางการเมืองด้วยวิธีการที่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ !  ทาง “สาธารณชน” ก็ไม่ได้มีความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับคุณยิ่งลักษณ์ และเธอก็ยังคงมีความนิยมนำหน้าเหนือคุณอภิสิทธิ์  ในการสำรวจจากโพลล์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำ

หนังสือพิมพ์เนชั่นและกลุ่มผู้รายงานข่าวอีกมากมายในนั้น ดำเนินงานอยู่ในจักรวาลคู่ขนาน ซึ่งมีความเป็นเสื้อเหลืองอยู่อย่างลึกตรีงใจติดอยู่  คุณยิ่งลักษณ์ได้ปฎิบัติหน้าที่มากกว่าเพียงแค่ “เอาตัวรอด”  ตามที่นักวิชาการคือ คุณเควิน เฮวิสัน (Kevin Hewison) เพิ่งกล่าวให้ทราบเมื่อเร็วๆ นี้ว่า การลดระดับความร้อนแรงในทางการเมืองลงมา เป็นนโยบายทางการเมืองที่ประสบความสำเร็จ “ ด้วยมูลเหตุทั้งหมดเหล่านี้ ได้เป็นการสร้างความแน่ใจแล้วว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะคงอยู่ในฐานะนี้จนครบวาระและยังได้รับการสนับสนุน อย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าด้วย” ส่วนนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง คือ คุณ ดังแก้น แม็กคาร์โก้ (Duncan McCargo)  ได้ บันทึกว่า “คุณยิ่งลักษณ์ค่อยๆ ได้รับการยอมรับเป็นสัดส่วน... (และ) โอกาสที่จะได้รับเลือกเข้ามาปฎิบัติหน้าที่ในวาระที่สองของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในขณะนี้ ดูเหมือนว่า น่าจะเป็นเรื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว”  ในเพียงครั้งหนึ่ง ที่ดูเหมือนว่า “กลุ่มนักวิชาการจากหอคอยงาช้าง ” ให้ความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น, มีความเป็นจริงมากขึ้น และ มีความสมเหตุสมผลเกิดขึ้น

----------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:

บทความนี้ หนังสือพิมพ์เนชั่นเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อให้ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย รวมไปถึงกลุ่มอำมาตย์ชนชั้นสูง เกิดความอคติทุกๆ อย่างกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่หนังสือพิมพ์เนชั่น อาจจะไม่ทราบว่า การหาข่าวหรือการอ่านข่าวของชาวต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงเนชั่น หรือ บางกองโพสต์เท่านั้น เพราะมีรายงานข่าวจากหลายสำนักข่าวทั่วโลก เช่น CNN, CNBC,  BBC, AFP, Reuters, AP, Al Jazeera และอื่นๆ อีกหลายสำนัก เช่น เวปประชาไทภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งในขณะนี้ แหล่งข่าวทั่วโลกก็เห็นพ้องถึง การเอนเอียงและการแต่งข่าวอย่างมากในการรายงานต่อประชาชน

และมีโปรแกรมข่าวอีกหลายแห่ง ที่รายงานถึงผลการเลือกตั้งในประเทศไทย และค่าความนิยมที่ประชาชนเทคะแนนให้กับพรรคการเมืองที่พวกเขาชื่นชอบกัน การเขียนบทความอย่างมีอคติ ไม่สามารถช่วยนำคะแนนเสียงให้เพิ่มขึ้นได้เลย แถมยังจะถูกต่อว่าเสียอีกเกี่ยวกับ การแต่งเรื่องหรือเสริมเรื่องให้ดูเหมือนกับกลายเป็นเรื่องลบขึ้นมา โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง 100 ศพที่เสียชีวิตไป จะเห็นได้ว่า ทางเนชั่นจะลงจำนวนให้ลดลง เช่น 90 กว่าศพ นี่คือ เทคนิคการเขียนข่าวให้ดูเจือจางลงต่อผู้อ่าน

กลยุทธที่ทางสื่อกระแสหลักใช้อยู่นี้ ไม่สามารถทำให้คะแนนเสียงเพิ่มมากขึ้นจนสามารถเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองที่ตน ชื่นชอบ เข้ามาตามวิถีทางการเลือกตั้งได้ เพราะการสาดโคลนนั้น อาจจะเป็นยุทธวิธีที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในอดีต (ก่อน facebook จะบูมเสียอีก)  ยุทธวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ การสร้างนโยบายขึ้นมาใหม่ ให้ดีกว่าของรัฐบาลปัจจุบัน ไม่อย่างนั้น วงล้อมจะถูกตีแคบลงๆ ทุกวัน จนกระทั่งพรรคการเมืองที่คงใช้วิธีการนี้อยู่ ก็จะสูญสลายไปเอง เพราะไม่มีการปรับตัวหรือปรับปรุงนโยบายใหม่ขึ้นมาให้สอดคล้องกับความต้อง การของประชาชน

ไม่ว่าประชาชนจะอยู่กลุ่มไหนก็ตาม เขาจะถามตนเองอยู่เสมอว่า "What's in it for me?" หรือ "ฉันได้ประโยชน์อันได้บ้างจากเรื่องเหล่านี้" ถ้าประโยชน์ที่ได้ เป็นเพียงแค่ความสะใจ ที่จับผิดอยู่ตลอดกาล มันก็อาจจะมีความชื่นชอบในเพียงชั่วคราว แต่ในระยะยาวนั้น คนเราก็ต้องหาอะไรกิน อะไรใช้กัน มันก็ต้องอยู่ที่ว่า นโยบายต่างๆ นำความสุขมาให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน

ส่วนการเขียนข่าวให้กับพรรคการเมืองที่ตนเอง “ฝักใฝ่” นั้น มันเป็นเรื่องที่ทำกันได้ ไม่มีใครห้ามแต่อย่างใด และควรที่จะเปิดหน้า รับรองเห็นด้วย (endorsement) ในส่วนของบทบรรณาธิการเลยว่า ขอสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคนี้ เรื่องนี้ไม่แปลกประหลาดอะไร เพราะบทบรรณาธิการในประเทศประชาธิปไตย หลายๆประเทศ เขาก็สามารถรับรองพรรคการเมืองได้ว่า ดีเลวอย่างไร ประชาชนผู้อ่านเขาตัดสินใจได้ หนังสือพิมพ์ New York Times, Boston Herald, LA Times ต่างก็ endorsed นักการเมืองจากพรรคต่างๆ ได้ทั้งสิ้น

ทางต่างประเทศส่วนใหญ่เขาเห็นแล้วว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะอยู่รอดจนครบเทอมแน่ แถมมีการคาดการณ์ว่า จะได้รับเลือกตั้งกลับไปใหม่ด้วย พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ มีเวลาอีกเพียง 2 ปี ที่จะทหรือสร้างผลงานชิ้นโบว์แดงขึ่นมาต่อสู้ในเชิงนโยบาย แต่ดิฉันไม่ทราบว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมีนโยบายอะไรใหม่บ้าง นอกไปจากการจับผิดและดิสเครดิท  ถ้าตนเองสามารถริเริ่มทำนโยบายให้เกิดความชื่นชอบต่อประชาชนแล้ว ผู้คนเขาจะเข้ามาลงคะแนนกันให้เอง แทนที่จะได้แต่ "ทรงกับทรุด" กับคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

ถ้าท่านเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ก็ลองถามตัวท่านเองว่า พรรคของท่านทำอะไรเป็นมรดกไว้ให้กับกับประชาชนเขาบ้าง? ถ้าคิดไม่ออก และเต็มไปด้วยการ “จับผิด” ก็แสดงว่า ท่านไม่ได้สร้างอะไรให้เป็นรูปเป็นร่างถึงมือของประชาชนเขาได้เลย ท่านจะพึ่งหลักการ "ปัจจัยสี่" (กองทัพ - Tanks, ม็อบก่อกวน - Streets, ศาล -.Courts และ สื่อ -- Media) ตามที่ทั่วโลกเขารับทราบกันดีแล้วต่อไปหรือ?

ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้การเมืองในรูปแบบของ bipartisan หรือ ช่วยกันร่างกฎหมายกันทั้งสองพรรค เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ลองถามตัวท่านเองว่า ท่านเคยร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาลในการออกกฎหมายใดๆ เพื่อประโยชน์กับประชาชนกันบ้าง? หน้าที่ของท่านคือ การเสนอกฎหมาย ไม่ว่าท่านจะมีผู้แทนอยู่กี่ท่าน เรื่องนี้ท่านสามารถเสนอได้ทั้งหมด จากนั้น ท่านก็นำเอาหลักการในเรื่องนี้ เข้ามาถกเถียงกัน ประชาชนเขาฉลาดพอที่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ว่ามันเป็นประโยชน์กับพวกเขาแค่ไหน เขาวิจารณ์กันเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียนอกรัฐสภากัน บุคลากรของฝ่ายท่านก็เก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อต่อสู้กัน จริงๆ แล้วประชาชนนั่นเองที่เป็นฝ่ายได้ นี่คือหน้าที่ภารกิจของผู้แทนจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

แต่เมื่อท่านกลับใช้วิธีการ “สาดโคลน” ในยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่ท่านจะได้รับกลับไปคือ การ “สะท้อน” กับสิ่งที่ท่านสาดมาแต่แรก  อย่างที่กล่าวไว้ก่อนแล้วว่า ยุทธวิธีเหล่านี้ อาจจะใช้เป็นผลสำเร็จในช่วงปี 2519 หรือแม้แต่ก่อนปี 2549 เพราะไม่มีสื่ออิเล็กตรอนิคส์ทื่แพร่ขยายออกไปทุกมุมเมืองอย่างในทุกวันนี้  แต่ในปัจจุบัน การตื่นตัวของประชาชนในทางการเมืองมีมากทีเดียว รวมทั้งการกระจายข่าวสารทางอิเล็กทรอนิคส์, โซเชี่ยลเนทเวอร์ค รวมไปถึงการกระจายเสียง ถ่ายทอดสด และโฟนอินด้วย และพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็มีทางออกอยู่อย่างเดียวคือ การสร้างนโยบายที่ดีกว่าขี้นมาต่อสู้กับนโยบายคุณยิ่งลักษณ์ แทนที่จะใช้นโยบายสนับสนุนม็อบ มาคว่ำรัฐบาลกันในท้องถนน  ถ้าท่านยังขืนสู้อยู่แบบนี้ ท่านก็เป็นฝ่ายค้านตลอดไป รวมทั้งการเสียคะแนนจากประชาชนในฐานอำนาจของพวกท่าน เพราะเขาทราบว่า เลือกพวกท่านเข้าไป ก็ไม่มีการชนะเลือกตั้งแต่ประการใด และท่านก็ดูเวลาของผู้มีอำนาจทั้งหลายที่ค้ำจุนท่านอยู่กันว่า มันยังเหลือกันอยู่อีกนานสักเท่าไร?  (รับรองได้ว่า การนำเอาปัจจัยสี่ที่กล่าวมาเบื้องต้นมาใช้อีกไม่ได้อย่างแน่นอน)

ในขณะนี้ รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ได้เปรียบมากแทบทุกเรื่อง เป็นต้นว่า การช่วยเหลือประชาชน, นวัตกรรม การก่อสร้าง รวมไปถึงการบรรลุุถึงเป้าหมายหลายอย่างทางเทคโนโลยี่ ท่านจะมาเสียเวลา หาเรื่องทุจริตในโครงการที่เขาเสนอขึ้นมาอยู่อีกหรือ? หรือว่า จะมาเสริมสร้างนโยบายที่เป็นประโยชน์และเป็นรูปธรรมกับประชาชน อะไรมันจะดีกว่ากัน? วันเวลาของผู้ที่อยู่เบื้องหลังซึ่งเคยช่วยท่านมา ก็เริ่มแคบลงๆ ท่านก็คงจะรู้เองเมื่อถึงเวลานั้น  มันก็จะ "สายเกินแก้" เสียแล้ว....

ไม่ว่า หนังสือพิมพ์เนชั่นจะลงข่าวอย่างไร ผู้คนเขาก็รู้กันแล้วว่า มันจะออกมาในรูปไหนแนวไหน การเมืองที่มีแต่การทำลายล้างและดิสเครดิทในยุคโลกาภิวัฒน์ มันก็มีแต่แพ้วันยังค่ำ ในสายตาของทั้งภายในและภายนอกประเทศค่่ะ

Doungchampa Spencer

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น