แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ทิศทางโทรคมนาคมไทยหลังสิ้นสุดสัมปทาน

ที่มา Voice TV




กสทช.เร่งดูแลผู้บริโภคกรณีคืนสัมปทานของค่ายโทรศัพท์มือถือ และปัจจุบันมีเลขหมายมือถือสูงเกือบ 80 ล้านเบอร์แล้ว ขณะที่การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากทีวีอนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอล กสทช.ยืนยันว่าจะไม่ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทีวีเก่า 20 ล้านเครื่องอย่างแน่นอน

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดโครงการประชาพิจารณ์ ในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางโทรคมนาคมไทย หลังสิ้นสุดระบบสัมปทาน เมื่อเข้าสู่ยุค 3 จี และ 4 จี"

นายเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่าในเดือนกันยายนนี้สัมปทานในคลื่นความถี่ 1800 เมกกะเฮิร์ตค่ายมือถือ Truemove และ DPC หรือบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด จะสิ้นสุดลง ทำให้ กสทช. จะมีการประมูล 4 จี ในคลื่นความถี่ 1800 เมกกะเฮิร์ต หลังจากได้คลื่นคืนมาจากทั้ง 2 ค่าย แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้เวลาสักระยะ ให้ลูกค้าย้ายค่ายจาก Truemove และ DPC ไปค่ายอื่นให้หมดก่อน ซึ่งผู้ให้บริการทั้ง 2 ค่ายระบุว่าจะมีการช่วยเหลือผู้บริโภค และทาง กสทช. ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความเป็นธรรมและไม่เดือดร้อนในการหมดสัมปทานในครั้ง นี้

ด้านนางสาวสุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า หลังจากที่มีการให้ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ หรือ 3 จี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้หมายเลขเบอร์มือถือของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น โดยตอนนี้มีเลขหมายโทรศัพท์มือถือ 70 - 80 ล้านเลขหมาย และในปี 5 ปีข้างหน้าคาดว่าหมายเลขเบอร์มือถือยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก เนื่องจากความนิยมของ SmartPhone และTablet นั่นเอง

ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคในหลายๆ เรื่องเป็นจำนวนนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไม่กำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน หรือ พรีเพด ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ยังพบการไม่ปฏิบัติตามของบางค่ายมือถือ แต่ทาง กสทช. ก็ได้มีการปรับเงินอยู่

ขณะที่พันเอกนที ศุกลรัตน์ ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวถึงกรณีที่ทางกรมควบคุมมลพิษกล่าวอ้างว่านโยบายเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี จากทีวีอนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอล ส่งผลให้มีทีวีเก่าทิ้งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ราว 20 ล้านเครื่อง ว่าเป็นสิ่งดีที่หน่วยงานของรัฐพยายามป้องกันสิ่งที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม ของประเทศในอนาคต ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วทีวีดิจิตอลเป็นเพียงแค่การส่งสัญญาณดิจิตอล ประชาชนยังสามารถรับชมทีวีในระบบดิจิตอลจากทีวีเครื่องเดิมได้ เนื่องจากผู้ที่จะรับชมทีวีดิจิตอลสามารถชมได้จากทีวีเครื่องเก่า เพียงแต่ต้องเสียบกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลเพิ่มเติม และชมผ่านเครื่องทีวีรุ่นใหม่ที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้โดยตรง อีกทั้งทีวีอนาล็อกเดิมก็ยังสามารถใช้ได้ต่อ ในรูปแบบออกอากาศคู่ขนานอย่างน้อยอีก 3-5 ปี
22 มกราคม 2556 เวลา 16:15 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น