แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ท่าทีจากอียู-ฮิวแมนไรท์วอชท์-เอไอ-องค์กรแรงงาน ต่อ 'คำพิพากษาสมยศ'

ที่มา ประชาไท


สหภาพยุโรปเชื่อคำตัดสินกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น-เสรีภาพสื่อ ไอเอจี้ปล่อยสมยศและนักโทษทางความคิดคนอื่นๆ ฮิวแมนไรท์วอทช์มองผ่านคำตัดสินคดี ความแตกแยกทางการเมืองไทยเกินเยียวยา องค์กรรณรงค์ด้านแรงงานหวั่นเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองในอนาคต
สหภาพยุโรปเชื่อคำตัดสินกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น-เสรีภาพสื่อ
สำนัก งานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและคณะเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพ ยุโรปประจำประเทศไทยมีมติร่วมกันออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้
"คณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯ มีความเป็นห่วงต่อคำพิพากษาของศาลในการตัดสินจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเวลา 10 ปี โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
คำพิพากษาดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ ต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน ในขณะเดียวกันคำตัดสินดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะ ที่เป็นสังคมแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย ทางสหภาพยุโรปขอเรียกร้องให้ทางการไทยกำหนดข้อจำกัดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้น ฐานของประชาชนด้วยมาตรการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการรักษาไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนสากล"

ไอเอจี้ปล่อยสมยศ และนักโทษทางความคิด
แอ มเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ระบุว่า การลงโทษจำคุกเป็นเวลา 10 ปีต่อผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นผู้ตีพิมพ์บทความสองชิ้น ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นการก้าวถอยหลังขั้นร้ายแรงของเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย
อิสเบล อาร์ราดอน (Isabelle Arradon) รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า “เป็นคำตัดสินแบบถอยหลังเข้าคลอง ศาลตัดสินว่านายสมยศมีความผิดเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการ แสดงออกอย่างสงบ ทางการควรจะปล่อยตัวเขาโดยทันที”
“เราเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวนายสมยศและนักโทษทางความคิดทุกคนโดยไม่มี เงื่อนไข และทางการต้องจ่ายค่าชดเชยให้นายสมยศสำหรับการคุมขังในระหว่างรอการไต่สวน
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการไทยได้เพิ่มการใช้กฎหมายต่างๆ รวมทั้งกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อปราบปรามเสียงที่เห็นต่าง และคุมขังนักโทษทางความคิด ดังนั้น ควรมีการพักการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยทันที และให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิ มนุษยชนของไทย”
โดยตามกฎหมายฉบับนี้ การแสดงความเห็นหรือการกระทำใด ๆ ที่มีลักษณะที่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 15 ปีสำหรับแต่ละกระทง ถือเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) และไทยให้สัตยาบันรับรองกติกาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2539

องค์กรรณรงค์ด้านแรงงานหวั่นเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองในอนาคต
กลุ่ม โครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth Campaign (CCC) ร่วมกับโครงการรณรงค์ปล่อยตัวสมยศ Free Somyot Campaign และโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย Thai Labour Campaign (TLC) ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินกรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข พร้อมระบุว่า คำตัดสินวันนี้ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อหลักนิติธรรมของประเทศไทยและ จะทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองในอนาคต
คำตัดสินดังกล่าวได้ละเมิดต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ไทยได้ให้สัตยาบันไว้ ปัจจุบันประเทศไทยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ ขอให้พึงระลึกว่ากฎบัตรสหประชาชาติได้ระบุให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครในการธำรงรักษาความสงบและความมั่นคงระหว่าง ประเทศ รวมถึงเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
หากประเทศไทยยอมรับพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศในการเคารพและคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐาน คำตัดสินที่ไม่เป็นธรรมต่อสมยศจะต้องถูกยกเลิกในชั้นอุทธรณ์ นอกจากนี้ ในชั้นอุทธรณ์ สมยศควรได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อที่เขาจะได้พบกับครอบครัว เข้ารับการรักษาพยาบาล และเตรียมการต่อสู้คดีได้อย่างเพียงพอด้วย
"มีนักโทษการเมืองหนึ่งคนก็ถือว่ามากเกินไปแล้ว" แถลงการณ์ระบุและเรียกร้องต่อประเทศไทย ให้ปล่อยตัวสมยศ และผู้ถูกคุมขังคนอื่นๆ ในคดีการเมือง รวมถึงยุติการคุกคามต่อพวกเขาทุกรูปแบบด้วย

ฮิวแมนไรท์วอทช์มองผ่านคำตัดสินคดี ความแตกแยกทางการเมืองไทยเกินเยียวยา
แบ รด อดัมส์ ผู้อำนวยการแผนกเอเชีย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า ศาลดูเหมือนจะรับบทบาทของหัวหน้าผู้พิทักษ์สถาบันกษัตริย์ด้วยการทำลายสิทธิ และเสรีภาพในการแสดงออก และคำสั่งศาลดูจะเกี่ยวข้องกับการที่สมยศสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างแข็งขัน มากกว่าจะเกี่ยวกับอันตรายใดๆ ต่อสถาบันฯ
ตำรวจ อัยการ ศาล และเจ้าหน้าที่รัฐมักไม่กล้าปฏิเสธการรับฟ้องคดีลักษณะนี้ เนื่องจากกลัวข้อครหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้เรียกร้องมาอย่างยาวนานให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายมาตรานี้ ไม่ให้ปัจเจกบุคคลสามารถฟ้องคดีได้ เนื่องจากไม่มีปัจเจกคนใดได้รับอันตราย  โดยที่ผ่านมา บุคคลหรือกลุ่มบุคคลมักใช้มาตรานี้ในการเล่นงานทางการเมือง
"ธรรมชาติทางการเมืองของการดำเนินคดี เห็นได้จากวิธีที่สมยศถูกกระทำโดยถูกควบคุมตัวมากว่า 20 เดือน" อดัมส์ กล่าวและว่า คำตัดสินและโทษของสมยศควรถูกพิจารณาในฐานะสัญญาณว่าความแตกแยกทางการเมือง ที่ร้าวลึกของไทยนั้นยากจะเยียวยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น