คนที่สนใจประวัติศาสตร์ของมนุ
ษยชาติที่ผ่านมา น่าจะมีอยู่บ้างที่เกิดคำถามขึ้
นมาในใจว่า เหตุใดรัฐจึงกลายเป็
นฆาตกร
ฆ่าพลเมืองของตน คำตอบแบบทั่วไปที่เรารับรู้กันก็ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว
ความกระหายเลือดของนักการเมือง ผู้นำพลเรือนหรือเผด็จการทหารที่ต้องการมี
อำนาจปกครองประเทศตลอดกาล ซึ่งก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิดแต่
ประการใด
อย่างไรก็ตามบทความนี้ต้องการวิ
เคราะห์ให้เห็นอีกมิติ หรือมิติอื่นๆ โดยผ่
านนิยามและธรรมชาติของรัฐเอง
ถ้าเรามองดูให้ดี คำว่า "รัฐ" หรือ State มีความหมายที่ลึกซึ้งและมีพื้
นที่กว้างกว่าตัวบุคคลเป็นยิ่
งนัก รัฐไม่ได้มีตัวตนอยู่เฉพาะแค่รั
ฐบาลอย่างเดียว รัฐยังหมายถึงองค์กรหรือสถาบั
นอีกมากมายที่มีอิทธิพลต่อการตั
ดสินใจของรัฐบาล เช่น เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า นายกรั
ฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดของรัฐไทย เพราะมีผู้อยู่ในตำแหน่
งทรงอำนาจอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะต่ำกว่าหรืออ้างว่
าไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ต่างก็เข้
ามามีส่งอิทธิพลต่อนโยบายของรั
ฐอีกมากมาย
ผู้เขียนยังคิดว่า มีอีกนิยามหนึ่งที่น่าสนใจ คือรัฐคือองค์รวมอั
นยิ่ง
ใหญ่ทั้งมวลของชาติ เป็นองคาพยพที่ไม่มีตัวตนหรือ entity เป็นรูปธรรม
เป็นสภาวะจิตสูงสุดตามแนวคิดของ จอร์จ ฟรีดริก เฮเกล
แต่รัฐในที่นี้ยังเป็นศูนย์
รวมหรือ locus ของอำนาจทั้งปวงที่ไร้ใบหน้า คื
อไม่มีใคร บุคคลใดในฐานะเป็นมนุษย์ที่มีเนื้
อหนังซึ่งมีอายุมักไม่เกิ
นศตวรรษที่สามารถเป็น"รัฐ" ได้ เพียงแต่สามารถประกาศตนว่
าเป็นรัฐ หรือมีอำนาจเหนือรัฐในระดับหนึ่
งหรือเพียงระยะเวลาหนึ่ง
ทั้งนี้หากเราจะยึดถือแนวคิ
ดของแม็กซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่กล่
าวว่า "รัฐคือผู้มีอำนาจผู
กขาดในการใช้ความรุนแรง" (Monopoly of violence) เหนือพลเมืองที่อาศัยอยู่
ในขอบเขตของอำนาจตน เช่น การบังคับ คุกคามให้ประชาชนทำอะไรที่ขั
ดแย้งกับความต้องการหรือสามั
ญสำนึกของตน การใช้กำลังตำรวจหรือทหารเข้
าควบคุมหรือปราบปรามผู้ประท้วง หรือแม้แต่การที่เราได้รับอนุ
ญาตจากกฎหมายในการใช้ความรุ
นแรงเพื่อจัดการกับผู้ล่วงละเมิ
ดสวัสดิภาพและทรัพย์สิ
นของเราและครอบครัว การใช้รุนแรงสามารถยกระดับไปถึงการให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่
งหายไปจากโลกนี้ ซึ่งก็คือการฆ่าเช่น การวิสามัญฆาตกรรมผู้ร้าย การประหารชีวิตนักโทษ (โดยได้รั
บการอนุมัติจากศาลซึ่งไม่ได้สั
งกัดอยู่กับรัฐบาลหรือฝ่ายบริ
หาร) รัฐสามารถทำให้การฆ่าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (legitimate killing) หากมองในด้านบวก การฆ่าแบบถูกต้
องชอบธรรมโดยเฉพาะที่ผ่
านกรอบของกฎหมายก็เพื่
อผลประโยชน์โดยรวมของสังคมหรื
อการอยู่รอดรัฐ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าใครเป็นผู้นำของรั
ฐ การกระทำเช่่นนี้ของรัฐคงต้
องเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่มากก็น้อย ตามแต่ปัจจัยอื่
นเช่นระบอบการปกครอง เช่นประชาธิปไตยเสรีนิยม จะมีแนวโน้มในการสั
งหารประชาชนน้อยกว่ารัฐเผด็จการ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่
า สำคัญต่อการดำรงอยู่ของรั
ฐไม่น้อยไปกว่าตัวองค์กรเลย คื
อวัฒนธรรมทางการเมือง (Political culture) ที่เป็นตัวผลักดันให้ความเป็นรั
ฐดำเนินต่อไป วัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึงทั
ศนคติ ค่านิยม หรือจารีต ฯลฯของคนในรัฐที่ส่งผลต่อการเมื
อง วัฒนธรรมการเมืองเอื้อต่อการเป็
นฆาตกรทั้งชอบธรรมและไม่
ชอบธรรม (เช่นการฆ่าแบบนั่งยางเผา) ของรัฐ ในรัฐที่เป็นเผด็จการอย่างเช่
น ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในยุคที่การสื่อสารด้อยประสิทธิ
ภาพและวาทกรรมเรื่องสิทธิมนุ
ษยชนเป็นแค่ลมปากของนักวิ
ชาการต่างประเทศ การฆ่าที่ชอบธรรมและไม่
ชอบธรรมจึงมีความเหลื่อมล้ำ ขาดความชัดเจน ผู้ต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมเป็
นคอมมิวนิสต์ การแบ่งแยกดินแดน การวางเพลิงเคหะสถานถูกรัฐใช้ตาม
มาตราที่ 17 คือการประหารชีวิตโดยไม่ผ่
านกระบวนการศาล อันได้รับการยกย่องจากคนยุคหลั
งผ่านการศึกษาทางประวัติศาสตร์
ที่ไม่ชัดเจนว่า ผู้ที่เสียชีวิ
ตแท้ที่จริงเป็นผู้ผิดหรือผู้
บริสุทธิ์กันแน่ และมักมีคนเห็นว่า ช่วงจอมพลท่านนี้สามารถทำให้บ้
านเมืองร่มเย็นได้ ทั้งที่ไม่มีใครเข้าไปสื
บเสาะสถิติอาชญากรรมในช่วง พ.ศ.2501-2506 ว่าเป็นอย่างไร และผู้ประกอบอาชญากรรมนั้นเป็
นคนในเครื่องแบบเสียกี่คน แน่นอนว่าทัศนคติเช่นนี้ย่อมส่
งผลให้เกิดผู้นำประเทศอี
กหลายคนที่มีพฤติกรรมเหมื
อนจอมพลสฤษดิ์ทั้งในปัจจุบั
นและในอนาคต
การโยงสาเหตุของการฆ่ามายั
งเฉพาะรัฐบาลหรือตัวผู้นำเพี
ยงอย่างเดียวก็ไม่ใช่เรื่องที่
ถูกต้องไปเสียทั้งหมด ถึงแม้รัฐบาลหรือผู้
นำเองพยายามสร้างหรือผลิตซ้ำวั
ฒนธรรมทางการเมืองที่ยกย่
องความรุนแรง แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คื
อ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเองก็
ดูเหมือนจะรู้เห็นเป็นใจด้
วย เพราะคุ้นชินกับวั
ฒนธรรมการเมืองเช่นนี้ จนการใช้
ความรุนแรงของรัฐเป็นส่วนหนึ่
งในชีวิตประจำวันของเรา เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ (Normalizing violence) ในขณะที่เสรี
ภาพการแสดงออกของประชาชนด้วยกั
นกลับเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมต้
องจำกัด เป็นเรื่องอันตราย เป็นภัยต่อความมั่นคง เช่น ตอนผู้หญิงใช้นมทาสีบนแผ่
นเฟรมในรายการทางโทรทัศน์ เราก็จะบอกว่า มันไม่
เหมาะสม เพราะเป็นรายการที่
เยาวชนทั่วประเทศรับชม แต่เรากลับไม่วิตกที่จะให้
เยาวชนผู้ใสซื่อของเรารับรู้ว่
า รัฐฆ่าคนตายได้มากๆ แต่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบต่อสิ่
งที่ตัวเองก่อได้เลย
อาจจะจริงที่่ว่ามีการประท้
วงหรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่
อพฤติกรรมของรัฐในหลายยุค แต่กลับปราศจากความต่อเนื่
องและชัดเจนเพราะผู้กระทำความผิ
ดเป็นรัฐที่เต็มไปด้
วยความชอบธรรมบางประการที่ช่
วยห่อหุ้ม ปกป้องไว้ ดังเช่นวัฒนธรรมทางการเมืองที่
ได้กล่าวมา เราจึงไม่สามารถสร้างภาพยนตร์
เรื่อง 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ การฆ่าตัดตอนผู้ที่ถูกกล่าวหาว่
าค้ายาเสพติด กรณีตากใบ หรือการสังหารหมู่ที่มัสยิดกรื
อเซะ การปราบปรามเสื้อเหลืองอย่างรุ
นแรง การสังหารหมู่กลางเมืองหลวงเมื่
อปี 2553 โดยซื่อสัตย์ต่อความจริงได้
การด่าว่าหรือซุบซิบพฤติกรรมอั
นไม่เหมาะสมโดยเฉพาะทางเพศของบุ
คคลสาธารณะ เช่น ดารา จึงเป็นเรื่
องที่ทำได้ง่ายเพราะเป้าหมายเป็
นเพียงปัจเจกชนที่สาธารณชนรู้สึ
กมีอำนาจ ปลอดภัย ไม่ต้องหวาดกลัวต่
อกฎหมายหรืออำนาจมืด ที่สำคัญเป็นการกระทำที่ทำให้
เรารู้สึกได้ว่า เราเป็นคนดี เป็นพลเมืองดี มองอีกแง่หนึ่ง การกระทำของเราคื
อความสำเร็จของรัฐในการหลอกอย่
างแยบยลให้เรายอมรั
บอำนาจการปกครองของรัฐที่ส่
งเสริมให้เราอยู่ในจารีตประเพณี
อันดีงาม เราในฐานะพลเมืองจึงถูกคุมขั
งและกลายเป็นจักรกลหนึ่งของรั
ฐภายใต้วาทกรรมของ "ความเป็นไทย" หรือ "วัฒนธรรมไทยอันดีงาม" โดยมีความรุนแรงเป็นกรอบเหมื
อนกับสระน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อล้
อมรอบประตูเมืองโบราณ
ลักษณะโดดเด่นอีกประการหนึ่
งของความพยายามของรั
ฐในการนำพลเมืองมาเป็นนักโทษคื
อการใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมื
อในการควบคุมพลเมือง เช่น รัฐที่
เป็นเผด็จการหรือไม่เผด็จการทั้
งหลายมักจะอิงอยู่กับหลั
กศาสนากลายเป็นรัฐจารีตแบบวิ
กตอเรียนของอังกฤษ ที่รับไม่ได้กับการแสดงออกของร่
างกายอันหลากหลายของพลเมือง (Body Politics)ไม่ว่าการแสดงออกเรื่
องทางเพศอย่างเปิดเผย การมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส การเป็นพวกรักร่วมเพศ ฯลฯ ที่รัฐถือว่าคุกคามต่อความปกติ
ของร่างกายภายใต้อำนาจของรั
ฐในระดับหนึ่ง เพราะศาสนาเป็นองค์กรที่สอนให้
มนุษย์ละเว้นการแสวงหาความสุ
ขทางร่างกายเพื่อความสุขในระดั
บทางจิตใจหรือโลกหน้า ซึ่งเป็นเรื่องง่ายของรั
ฐในการนำอุดมการณ์
ของศาสนามาปะปนกับอุดมการณ์ที่
ตนวางไว้ จนกลายเป็นว่าเป้าหมายสูงสุ
ดของรัฐคือเป้าหมายสูงสุ
ดของศาสนาเช่นการเข้าเป็นหนึ่
งเดียวกับพระเจ้า การทรยศต่อรัฐคือการทรยศต่
อพระเจ้า
รัฐที่ประสบความสำเร็
จในการควบคุมพฤติกรรมของพลเรื
อนในเรื่องร่างกายผ่านศาสนา ย่อมไม่รอช้าในการใช้ความรุ
นแรงเข้าควบคุมพลเมืองจนถึงระดั
บการปลิดชีพในกรณีที่พลเมืองไม่
ประพฤติตนตามกฎที่รัฐได้วางไว้ ที่เห็นชัดเจนในการรัฐในตะวั
นออกกลางและเอเชียใต้มักใช้หลั
กทางศาสนาอิสลามเข้ามาเป็
นกฎหมาย (เรียกว่าชะรีอะฮ์) เช่น ในอั
ฟกานิสถานเมื่อปีที่แล้ว สามีจับได้ว่า ภรรยาของตนมีชู้กั
บพวกตาลีบัน ก็เอาปืนกลยิ
งภรรยาจนเสียชีวิต รัฐบาลของนายฮามิด คาไซ ประนามการกระทำเช่นนี้ แต่
ไม่สามารถทำอะไร เพราะมันเป็นวั
ฒนธรรมทางการเมืองที่ปฏิบัติกั
นมาช้านาน (อันสะท้อนว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้
องเป็นตัวแทนของรัฐเสมอไป) สำหรับรัฐไทยก็ประสบความสำเร็
จในการสร้างวาทกรรมของพุ
ทธศาสนาที่อิงอยู่กับหลักชาตินิ
ยมที่ฝึกให้พลเมืองของรัฐยอมรั
บต่อชนชั้นปกครองและแนวคิดที่ว่
า การผิดศีลข้อหนึ่ง คือการห้ามฆ่
าสัตว์ตัดชีวิตเป็นสิ่งที่
ทนยอมรับกันได้ หากผู้ถูกฆ่า เป็น"ยักษ์มาร" เป็นภัยต่อพุ
ทธศาสนาและประเทศชาติ ดังที่มีพระชื่อดังรูปหนึ่งกล่
าวว่า "การฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" ในช่วง 6 ตุลาคม 2519
จากทั้งหมดแสดงให้เราเห็นว่
าในอีกมิติของรัฐ ร่างกายของเราไม่มีตัวตนอยู่จริ
ง เพราะตัวตนทางการเมืองของเราถู
กหลอมเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐที่มี
สภาพของยักษ์หน้าตาประหลาด (เหมือนกับ Leviathan ของนักปรัชญาการเมืองชื่อดังคือโธมัส ฮอบ์บส์) ร่างกายของเรา คือการทั
บซ้อนของวาทกรรมมากมายที่ถูกเชิ
ดโดยรัฐ การที่รัฐใช้ความรุนแรงกับพลเมื
องในการกำจัดพลเมืองบางส่
วนออกไปจึงไม่ใช่เรื่
องประหลาดอะไรในจักรวาลขององค์
ความรู้มนุษย์ที่มีรัฐเป็นศูนย์
กลาง หรือทางการการแพทย์ก็เหมือนกั
บการผ่าตัดเอาอวัยวะบางส่วนที่ (คิดว่า) เป็นเนื้อร้ายออกไป
ดังนั้นจึงขอสรุปได้ว่า การที่รั
ฐเป็นฆาตกร ก็คือเพื่
ออำนาจในการการดำรงอยู่ของตัวรั
ฐนั้นเอง อย่างไรก็ตามก็เป็นข้อถกเถียงต่
ออีกว่า มนุษย์สามารถดำรงตนเป็นตั
วละครที่มีเจตจำนงอิสระ (free agent) ในการกำหนดรัฐ หรือสลัดพันธะจากอำนาจของรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือหลีกเลี่
ยงความรุนแรงที่รัฐที่มีต่
อประชาชนได้หรือไม่ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้
นำของรัฐบาล หรือกลุ่มทางสังคม หรือประชาชนธรรมดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น