แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กฤษฎีกายึดเสียงเกินกึ่งผู้มาใช้สิทธิ

ที่มา ข่าวเพื่อไทย

 


          นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291  พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมแถลงข่าวชี้แจง ภายหลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตั้งคณะทำงานดำเนินการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติและประชาเสวนา ทั้งในข้อกฎหมายและทางปฏิบัติ เพื่อให้สรุปวิธีการที่เหมาะสมพร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป 
          พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  กล่าว ว่าสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา ครม.มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาหาวิธีการ ที่จะเกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด รวมไปถึงศึกษาตัวบทกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งวันนี้ ผมพร้อมนายวราเทพ และนายจารุพงศ์ ได้มีการศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมยอมรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพรรคร่วมรัฐบาล รวมไปถึงประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องดังกล่าว ครม.มีความเห็นว่าสมควรที่จะให้มีการทำประชามติ 
          มท.คาดใช้3สัปดาห์ 
          นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าว ว่าคาดว่าคณะทำงานที่ ครม.อนุมัติ ใช้เวลาทำงานประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะรับผิดชอบในเรื่องของการจัดทำประชาเสวนา ในกฎหมายประกอบการทำประชาพิจารณ์ มาตรา 10 ว่า เมื่อมีการประกาศให้มีการออกเสียงแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในเรื่องทำประชามติต้องดำเนินการให้ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงให้รับทราบอย่าง เพียงพอ ในหัวข้อ รายละเอียดระบุว่า
         1.จะต้องมีชื่อเรื่องที่จะทำประชามติและเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการทำประชามติ
         2.สาระสำคัญของกิจการในเรื่องที่จะต้องทำประชามติ
         3.ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องที่จะต้องทำประชามติ
         4.ประมาณการค่าใช้จ่ายและที่มาของงบประมาณที่จะนำมาใช้ 
         5.ประโยชน์ ได้เสียที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ท้องถิ่น หรือประชาชน รวมทั้งมาตรการในการป้องกันแก้ไขและเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่ อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ พร้อมสรุปเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียด้วย 
          ทางกระทรวง มหาดไทยจะมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชน จริงๆ ถ้าดูตัวเลข 26 ล้านเสียง ทั่วๆ ไปทุกๆ ครั้งก็เกิน 50 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก 
          กฤษฎีกายึดเสียงเกินกึ่งผู้มาใช้สิทธิ 
          นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าทางประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงในที่ประชุม ครม.ว่า การทำประชามติมีกฎหมายรองรับอยู่แล้วคือ รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 165 (1) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ 2552 ดังนั้น หากจะมีการจัดทำประชามติ ไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย หรือแก้รัฐธรรมนูญ 
          ส่วน ที่จะมีคำถามต่อไปว่า การดำเนินการตามกฎหมายที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แจงต่อ ครม.นั้น ผลของการลงประชามติจะอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งทางกฤษฎีกาได้ยืนยันว่า เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญการออกเสียงประชามติมาตรา 9 จะต้องมี 2 ขั้นตอน คือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ  2.จะ ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่มาใช้สิทธิ สรุปง่ายๆ คือจำนวนผู้มีสิทธิ 46 ล้านเสียง จะต้องมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 23 ล้านเสียง และเสียงที่จะได้รับความเห็นชอบผ่านประชามติต้องมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของ 23 ล้านเสียง 
          ตั้ง 4 รมต.-เลขาฯกฤษฎีกา คณะทำงาน 
          เมื่อ ครม.ได้พิจารณาในประเด็นของการศึกษาทั้งข้อกฎหมาย และแนวทางความคิดเห็น วันนี้ ครม.ได้มีมติ คือ 1.รับทราบ ผลการศึกษาความคืบหน้าตามที่กระทรวงยุติธรรมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รายงาน 2.รับทราบขั้นตอนการออกเสียงประชามติว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ประชามติตามที่เลขากฤษฎีกาชี้แจง 3.เนื่องจาก ครม.เห็นว่าการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ครม.ได้ดำริในเรื่องนี้ว่า ได้มีการจัดเตรียมการทำประชาเสวนาไว้แล้ว จึงเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งคณะ ประกอบด้วยผม  พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นคณะทำงานดำเนินการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติและประชาเสวนา ว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งในข้อกฎหมายและวิธีการปฏิบัติ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ให้สรุปวิธีการที่เหมาะสม พร้อมจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอ ครม.ได้พิจารณาต่อไป 
          ทั้ง นี้ คณะทำงานได้ชี้แจงเรื่องนี้ให้ประชาชนรับทราบด้วย หลังจากนั้นขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีการนำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา แต่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทางรัฐสภา รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ถ้า ครม.จะมีมติในเรื่องของการออกเสียงประชามติ อาจไปปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ครม.จึงมีความเห็นว่า 
          เรื่อง นี้ควรจะไปปรึกษาประธานทั้งสองต่อไป หลังจากที่ได้ความเห็นชอบ ถามว่าทำไมจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก เรื่องนี้ ครม.เห็นว่ามีความสลับซับซ้อนในเรื่องของการดำเนินการ วันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เสนอตามที่ ครม.มอบหมาย และไปดำเนินการในเรื่องของการจัดทำรายละเอียด เนื่องจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2552 ที่บอกว่า การจะออกประกาศใดๆ หน่วยงาน ของรัฐเจ้าของเรื่อง จะต้องจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจน และกฎหมายกำหนดตามมาตรา 5 ว่า การประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา จะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน รวมทั้งการกำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ จะต้องมีข้อความที่ชัดเจน เพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงได้ลงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่อง ที่จะทำประชามติ 
          นอก จากนี้ คณะทำงานที่ ครม.อนุมัติยังต้องศึกษาในรายละเอียดของการทำประชามติตามขั้นตอนกฎหมาย อย่างไรก็ตาม สำหรับหัวข้อของการทำประชามตินั้น ต้องรอให้มีการประชุมกันก่อน แล้วจะมีการแถลงความคืบหน้าเป็นระยะๆ และคาดว่าจะมีการประชุมครั้งแรกภายในสัปดาห์นี้ 
          ผู้สื่อข่าวถามว่าคณะทำงานจะใช้เวลาในการทำงานกี่วัน : ครม.ไม่ ได้กำหนด แต่เรื่องนี้เป็นความสนใจของประชาชน และจะต้องใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ไม่สามารถระบุได้ว่าต้องเป็นกี่วัน อย่างไรก็ตาม จะมีการพิจารณาโดยเร็ว
          ส่วน กรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เห็นต่างออกไปว่ารัฐบาลไม่ควรเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เรื่องดังกล่าวจะต้องหารือกับหลายฝ่าย ทั้งภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คิดว่าสิทธิหรือความเห็นที่แตกต่างคณะทำงานก็จะนำไปพิจารณา ทั้งนี้ คงจะมีการร่วมหารือกับ ร.ต.อ.เฉลิมด้วย 
Source - เว็บไซต์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น