แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาสวัต บุญศรี: ผู้ประกาศข่าวชื่อดังกับการแสดงทัศนะผ่านเฟซบุ๊ก

ที่มา ประชาไท


ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่วัฒนธรรมการเล่าข่าวทางทีวีได้รับความนิยม นักข่าวทางหน้าจอทีวีได้เปลี่ยนสถานะจากผู้อ่านข่าว คอยรายงานสถานการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น มาสู่ผู้แสดงความคิดเห็น ผสมผสานระหว่างการรายงานและวิเคราะห์วิจารณ์ไปในตัว
เดิมทีสื่อมวลชนสายทีวีไม่ได้มีพื้นที่สื่อมากมายให้แสดงความคิดเห็นส่วน ตัว ด้วยเหตุผลเรื่องเวลาในสื่อทีวีที่มีอยู่อย่างจำกัดประกอบกับรูปแบบในการนำ เสนอเนื้อหาที่เน้นการรายงานข่าว ซึ่งตามหลักการต้องห้ามแสดงความคิดเห็นลงไป ต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่นักข่าวสามารถวิเคราะห์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นผ่าน บทความซึ่งถูกกำหนดพื้นที่ไว้เผื่อไว้อยู่แล้ว
เมื่อผู้ประกาศทางทีวีสามารถแสดงความคิดเห็นในข่าวได้ ผู้ชมจำนวนไม่น้อยจึงรับชมไปพร้อมๆ กับซึมซับเอาความคิด ทัศนคติ ต่อประเด็นๆ ต่างของผู้ประกาศเหล่านั้นไปด้วย ทุกวันนี้เราเห็นได้หลายปรากฏการณ์ที่รายการเล่าข่าวและตัวผู้ประกาศมีบทบาท สำคัญในการกำหนดวาระความสำคัญของสังคม และที่สำคัญคือผู้ชมไม่น้อยคิดว่าความคิดทัศนคติที่ถูกพูดถ่ายสื่อออกมานั้น คือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ว่ากันกลายๆ ผู้ประกาศทางทีวีมีสถานะเป็น Opinion Leader ที่ผู้ชมพร้อมเงี่ยหูรับฟังความคิดเห็น
พอมีเฟซบุ๊กด้วยแล้ว ผู้ประกาศข่าวหลายคนสร้างเว็บแฟนเพจขึ้นมาเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัวโดย เฉพาะ แต่ละเพจนั้นมีผู้เข้าไปติดตามเป็นจำนวนมาก มีสเตตัสใหม่ๆ เมื่อใด มียอดกดไลค์หลักพัน คนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นร้อยๆ
หลายครั้งการพูดในทีวีไม่สามารถพูดได้เต็มปาก ต่างจากการพิมพ์ผ่านเฟซบุ๊กที่เป็นอิสระ ถึงไหนถึงกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายๆ ครั้งการแสดงความคิดเห็นมักไม่ได้ไตร่ตรองตรรกะให้ถ้วนถี่ คิดอยากจะโพสต์อะไรก็โพสต์ ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์ตามมาในแง่ความไม่สมเหตุสมผลไม่น้อย
ล่าสุด ผู้ประกาศชื่อดังท่านหนึ่งโพสต์ถึงที่มาของแสลงคำว่า “จุงเบย” ว่าเกิดจากตัวอักษรในมือถือใกล้กัน เลยกดพลาดไปโดน พร้อมกับบอกว่าการพิมพ์ผิดได้รับความนิยม เลยเข้าใจได้ว่าทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญให้นักโทษพ้นผิด
(ข้อความเต็มๆ ว่าดังนี้ "เพิ่งรู้นะ คำว่า "จุงเบย" ที่มาจาก "จังเลย" มาจากแป้นพิมพ์สระอุ อยู่ใกล้กับไม้หันอากาศ และ บ อยู่ใกล้กับ ล แค่เนี้ย?? การพิมพ์ผิดกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม สามารถใช้ได้ มิน่าล่ะ..นักโทษที่ยังไม่ได้ชดใช้ความผิด..แล้วพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ล้มกฎหมายแม่มันซะเลย ตัวเองจะได้กลายเป็นคนบริสุทธิ์..สบายจุงเบยเนอะ")
หากมาดูกันที่เนื้อสาร อะไรคือตรรกะของสเตตัสนี้ เชื่อมโยงกันได้อย่างไร การเอาเรื่องการพิมพ์ผิดมาเกี่ยวข้องกับการแก้รัฐธรรมนูญมันคือเรื่องเดียว กันหรือ แม้โลกนี้จะมีทฤษฎี chaos ที่กล่าวว่าทุกสิ่งเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทุกสิ่งบนโลกล้วนเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ทว่าลำพังเรื่องพิมพ์ บ. กับ ล. ลิงแล้วคิดอย่างไรก็นึกไม่ออกว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร แถมคำว่า “มิน่าล่ะ” นี่ช่างน่าสงสัยว่าทำหน้าที่สื่อความใดในประโยค
แน่นอนว่าเฟซบุ๊กเป็นที่ที่ใครก็สามารถโพสต์อะไรก็ได้ (และก็ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลตรรกะใดๆ ด้วย) ทว่าในฐานะที่ผู้ประกาศข่าวได้ยกสถานะตัวเองกลายเป็นบุคคลสาธารณะที่มีผู้ ติดตามความคิดเห็นอยู่เสมอ การโพสต์อะไรย่อมต้องครุ่นคิดให้ดี มิฉะนั้นแล้วอารมณ์อยากเพียงแค่กระแนะกระแหนจะกลายเป็นหนามแหลมคมย้อนกลับมา ทิ่มแทงให้เจ็บช้ำในภายหลัง
ลำพังกระแนะกระแหนด้วยแค่ต้องการให้แฟนคลับมากดไลค์และพิมพ์ด่า “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” ต่อยอดไปเรื่อยๆ โดยไม่สนว่าเรื่องที่พิมพ์จะจริงจะเท็จ จะใช้ตรรกะเหตุผลดีอย่างไร ท้ายที่สุดก็ได้แค่ความสะใจชั่วครั้งชั่วคราว สวนทางกับเครดิตที่เคยมีก็เริ่มจางหายเพราะคนสงสัยในความคิดและการใช้เหตุผล (ซึ่งสำคัญมากๆ สำหรับผู้ที่เป็น Opinion Leader)
แต่ก็เอาเถอะ จะใช้อย่างไรก็สิทธิ์ของแต่ละคน วันข้างหน้าที่เครดิตหาย พูดอะไรไม่มีใครเชื่อ บทบาทของความเป็นสื่อมวลชนเริ่มสั่นคลอน ก็น่าคิดว่าจะยังทำงานในวงการสื่อต่อไปได้อีกหรือเปล่าหนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น