แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

10 อันดับเรื่องสำคัญ ปี 2555 ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

ที่มา ประชาไท


ปี 2555 ที่ผ่านมา เรื่องราวเกี่ยวกับชาวสีรุ้ง กะเทย ทอม-ดี้ เกย์เลส คนรักสองเพศ คนรักได้ทุกเพศ คนข้ามเพศ คนแปลงเพศ ที่สำคัญและน่าจดจำมีอะไรบ้าง
1. ร้านหนังสือซีเอ็ด ออกหนังสือภายในไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ แจ้งข้อกำหนด 6 ข้อ เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือที่จะไม่รับมาจำหน่าย ทั้งหลายเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และข้อ1 ใน จำนวน 6 ข้อนั้น ก็คือการไม่รับหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงรักหญิง ชายรักชาย มาวางจำหน่ายในร้าน
จากนั้นซีเอ็ดได้อ้างว่าไม่มีเจตนาเลือกปฏิบัติต่อคนหลากหลายทางเพศ แต่เป็นการกระทำของพนักงานระดับปฏิบัติการ ที่ใช้สื่อสารกันภายใน ที่ผู้บริหารไม่มีส่วนรู้เห็น (ธันวาคม)
2. ได้มีการจดทะเบียนองค์กรที่ทำงานเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศครั้งแรกของ ประเทศไทย  คือมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ และเป็นองค์กรแรกที่ระบุในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไว้อย่างชัดเจนว่า ทำงานเพื่อสิทธิของคนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา องค์กรต่างๆ จะเลี่ยงไปใช้ชื่อในลักษณะอื่นๆ แทน เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมมีมุมมองว่าการเป็นคนรักเพศเดียวกันผิด/ขัดต่อ วัฒนธรรมไทย (ตุลาคม)
4. คณะกรรมมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สืบเนื่องมาจากคุณนที ธีรโรจนพงษ์พาคู่ชีวิตเพศเดียวกันไปจดทะเบียนสมรส แต่ไม่สามารถจดได้ จึงมาร้องเรียนกับคณะกรรมธิการชุดดังกล่าว (ตุลาคม)
5.คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ หรือคุณกอล์ฟ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555 นับเป็นชาวหลากหลายทางเพศ (ที่เปิดเผย) คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้
คุณธัญวารินทร์ เคยกำกับหนังสั้นเรื่อง “I’m fine.สบายดีค่ะ” ที่สะท้อนภาพกะเทยในสังคมไทย ได้รางวัลชนะเลิศรางวัลรัตน์ เปสตันยี จากการประกวดภาพยนตร์สั้นไทยครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2551 จากนั้นคุณธัญวารินทร์ ก็เขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่อง“Insects in the Backyard” ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ Vancouver International Film Festival 2010 ในสาย Dragons and Tigers Award และยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ World Film Festival of Bangkok 2010 แต่ภาพยนต์ดังกล่าวถูกห้ามฉายในประเทศไทย!!
ล่าสุดเธอเขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่อง “It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก” เรื่องนี้เกี่ยวกับกะเทยแปลงเพศ ที่ฉายได้ในประเทศไทย และยังได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังที่ประเทศสเปนอีกด้วย (มกราคม)
6. คุณยลดา ยลดา เกริกก้อง สวนยศ นายกสมาคมฯ สตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.อบจ.น่าน ถือเป็นสตรีข้ามเพศคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งในเวทีการเมืองระดับท้องถิ่น และในอนาคตไม่ช้า เชื่อว่าจะต้องเห็นเธอในเวทีการเมืองระดับชาติแน่ๆ  (พฤษภาคม)
3. ทอมกับกะเทยแต่งงาน จดทะเบียนสมรสกัน กลายเป็นข่าวฮือฮาทีเดียว เมื่อคุณเบญจมาภรณ์ โรจน์จุฑากุล  วัย 25 ปี  ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นทอม กับคู่รักคือคุณสิทธิชัย เสือฟัก วัย 23 ปี ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นกะเทย จูงมือกันไปจดทะเบียนสมรส และสามารถจดได้ เพราะทั้งคู่ยังมีคำนำหน้านามที่เป็นระหว่าง "นาย" และ "นางสาว" อยู่ ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการสมรส บรรพ5. ที่การแต่งงานจะต้องเกิดขึ้นระหว่าง ผู้หญิง นางสาว (หรือนาง) กับนาย เท่านั้น (มีนาคม02/01/56)
7.คุณสิริลดา โครตพัฒน์ ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจากนายเป็นนางสาว เนื่องจากเธอเป็นผู้มีเพศกำกวมไม่บ่งชี้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง หรือ Intersex ที่หากผ่าตัดเป็นเพศใดเพศหนึ่งแล้ว ก็จะสามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ ซึ่งประเทศไทยเคยมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้ว แต่สำหรับกะเทย หญิง/ชายข้ามเพศ ไม่สามารถเปลี่ยนได้แม้บางคนจะผ่าตัดแปลงเพศสมบูรณ์หมดแล้วก็ตาม นับเป็นตรรกะแปลกๆ อธิบายไม่ได้อีกประเด็นหนึ่งของสังคมไทย (สิงหาคม)
8.เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อนุญาตอย่างเป็นทางการให้นัก ศึกษากะเทยแต่งตัวในแบบผู้หญิงรับปริญญาได้ (ทั้งนี้ต้องมีเอกสารยืนยันจากแพทย์ว่าว่าเป็นผู้มี “ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด” หรือ Gender Identity Disorder ตามบัญชีจำแนกโรคขององค์การอามัยโลก แต่ขณะเดียวกันตอนนี้เครือข่ายกะเทย/คนข้ามเพศ/คนแปลงเพศทั่วโลก ได้ทำการรณรงค์ให้องค์การอนามัยโลกตัด Gender Identity Disorder ออกจากการจำแนกโรค (สิงหาคม)
9. ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ใน พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (2546 และแก้ไขเพิ่มเติม ใน2550) ได้เพิ่มเติมการกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการ สังคม พ.ศ 2555 โดยเขียนระบุกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ/คนรักเพศเดียวกัน/คนรักสอง เพศ/คนข้ามเพศ/คนที่มีลักษณะเพศทางชีวภาพไม่ชัดเจน เป็นคำจำกัดความไว้ในพรบ.ดังกล่าวอย่างชัดเจน (กันยายน)
10. ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ปฏิเสธการรับรองสิทธิด้านความหลากหลายทางเพศ ที่ UN หรือองคืการสหประชาชาติให้การรับรองสิทธิด้านนี้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2554
โดยประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน จะอ้างเหตุผลในเรื่องศาสนาและเรื่องวัฒนธรรมเป็นหลัก (กรกฎาคม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น