เวลา ประมาณ 15.00 – 16.00 น. ขณะที่จัดเตรียมสัมภาระอยู่ นายคงเดช ปัญญาทอง อดีตผู้ต้องขังคดีการเมืองและแกนนำเสื้อแดงอำเภอหนองหารได้โทรศัพท์มาบอกนาง ทองมาว่านายวันชัยผู้เป็นลูกชายได้เสียชีวิตแล้ว
โดยนางทองมาได้เล่า ถึงความรู้ในทันทีที่ทราบข่าวการเสียชีวิตของลูกชายว่าเธอเสียใจมากแต่เธอทำ แต่ต้องรวบรวมความกล้าหาญและอดทนต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นให้ได้เพราะ สำหรับเธอนอกจากนายวันชัย ผู้เป็นลูกแล้วเธอไม่มีใครอีกแล้ว
นางทองมากล่าวทั้งน้ำตาว่า นับตั้งนายวัยชัยผู้เป็นลูกชายถูกจับชีวิตเธอต้องเผชิญกับความสูญเสียและความเจ็บปวดมาตลอดเวลา
“ทันทีที่เขาบอกลูกชายตาย น้ำตาก็ไหลลงมาอาบสองแก้ม แต่แม่ไม่ร้องไห้เป็นเสียงออกมา บอกตัวเองไว้เลย ว่าแม่ต้องใจแข็ง แม่ต้องไม่เป็นลม เพราะลูกไม่มีใคร ต่อมาก็มีคนโทรมาอีกหลายคนแต่ไม่มีใครกล้าบอกตรงๆ ว่าวันชัยตาย เพราะเขากลัวว่าแม่จะเป็นอะไรไป กลัวแม่จะเครียดจะคิดมาก แต่ตัวแม่เองทำใจได้ อดทนไหว เพราะนับตั้งแต่ลูกชายติดคุก แม่ต้องอยู่กับการสูญเสียตลอดเวลาอยู่แล้ว แม่ทนอยู่กับความเจ็บปวดได้ แม่อยู่กับความเจ็บปวดมามากแล้ว เพราะหลังจากลูกชายถูกตัดสินคดีแล้วต่อเดือนพฤษภาคม ปี 55 แม่ได้แยกทางกับพ่อของนายวันชัยแล้วย้ายจากอุดรธานีไปทำงานอยู่ภาคใต้กับลูกสาว
หลังจากทราบข่าวนางทองมาได้เดินทางมายังอำเภอเมืองอุดรธานีเพื่อซื้อตั๋ว รถไฟใหม่สองใบโดยได้เที่ยวประมาณ 19.00 น. เนื่องจากไม่สามารถอดทนนั่งรอจนถึงเวลารถไฟ(ฟรี)ที่ออกตอน 20.30 น. โดยแม่ทองมาได้เดินทางไปกับนางสาวรัชฏา ทองทิพย์ ภรรยาของนายบัวเรียน แพงสา 1ในผู้ต้องคดีการเมืองที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำหลักสี่ด้วยกัน แต่เนื่องรถไฟเกิดความขัดข้องนางทองจึงต้องเดินทางด้วยรถบัสที่การรถไฟแห่ง ประเทศไทยจัดเตรียมให้เพื่อไปต่อรถไปที่สถานีรถไฟขอนแก่น แต่ในขณะที่รอขึ้นรถบัสนางทองมาได้เกิดเครียดมากและสับสนจนทำอะไรไม่ถูก นางทองมาและนางรัชฎาได้แต่นั่งจับมือร้องไห้อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟอุดรธานีจน สุดท้าย ด้วยความสับสนกระวนกระวายใจจนทำอะไรไม่ถูกนางทองมาเลยไม่ได้เดินทางไปกับ รถไฟ และในระหว่างนั้นนายคงเดช ปัญญาทอง ได้โทรศัพท์มาถามข่าวและเมื่อทราบว่านางทองมาอยู่ในอาการเสียใจจนทำอะไรไม่ ถูก เวลาประมาณ 20.00 น. นายคงเดชจึงขับรถส่วนตัวออกจากบ้านพักเพื่อมารับนางทองมาจากสถานรถไฟ อุดรธานีและออกเดินทางไปถึงกทม.
เมื่อเดินทางมาถึงกทม.ในเวลา 08.00 น. ของวันที่ 28 ธันวาคม นางทองมายังไม่สามารถดำเนินการอะไรเกี่ยวกับนายวันชัย ได้ นางรัชฏาจึงได้เข้าเยี่ยมนายบัวเรียน แพงสา เพื่อสอบถามรายละเอียดเหตุการณ์ก่อนการเสียชีวิตของนายวัยชัย ทำให้ทราบว่า ช่วงเช้าของวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้มีกิจกรรมแข่งกีฬาในเรือจำเรือน หลังจากแข่งกีฬาเสร็จผู้ต้องขังได้มาพักรับประทานอาหารกลาง จากนั้นนายวันชัยได้ลุกขึ้นไปล้างหน้าและหยิบขวดน้ำขึ้นมาดื่มก่อนจะหงาย หลังล้มลงหมดสติทันทีต่อหน้าเพื่อนผู้ต้องขังคนอื่นๆ โดยมีนายบัวเรียนได้เข้าไปปั้มหัวใจอยู่นานพอสมควรก่อนที่นายวันวัยจะถูกนำ ตัวส่งโรงพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่เรือนจำและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
หลังจากรับศพนายวันชัยแล้วนางทองมาได้นำศพลูกชายเดินทางกลับมาตั้งบำเพ็ญ กุศลอยู่ที่วัดเรืองชัย ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลาประมาณ 15.30 น. ซึ่งปรากฏนายขวัญชัย ไพรนากับทีมงานประมาณ 4 คนได้มารออยู่ที่วัดก่อนแล้ว โดยนายขวัญชัยมาเพื่อบอกนางทองมาให้เผาศพนายวัยชัยในวันรุ่งขึ้น โดยอ้างประเพณีความเชื่อของคนอีสานว่าการเก็บศพข้ามปีไม่เป็นมงคล แต่นางทองมาอยากตั้งศพบำเพ็ญกุศลเพื่อให้ญาติพี่น้องและคนเสื้อแดงได้เดิน ทางมาร่วมงาน เธอจึงไปเจรจากับเจ้าอาวาสวัดเพื่อขอตั้งศพบำเพ็ญกุศล ซึ่งเจ้าอาวาสอนุญาตให้ได้ 4 คืน โดยมีนายขวัญชัย ไพรพนา เป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพในคืนแรก (30 ธันวาคม พ.ศ. 2555) และคณะนายอำเภอหนองหารเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพใน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ส่วนการสวดอภิธรรมศพในคืน 1 มกราคม พ.ศ. 2555 มีคณะเครือญาติทุกเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ บรรยากาศงานสวดอภิธรรมศพมีคนเสื้อแดงเข้าร่วมงานบางตา โดยส่วนมากเป็นเครือข่ายผู้ต้องคดีทางการเมืองที่ถูกศาลชั้นต้นได้ตัดสินยก ฟ้องซึ่งนอกจากมาร่วมงานสวดอภิธรรมแล้วยังได้นอนอยู่เป็นเพื่อนนางทองมาที่ ศาลาวัดเรืองชัยด้วย ด้านแกนนำคนเสื้อแดงพบว่ามีเพียงนายคงเดช ปัญญาทองแกนนำเสื้อแดงอำเภอหนองหาร และ ส.ส. ขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงและ ส.ส.คนในจังหวัดอุดรธานีไม่ได้เดินทางมาร่วมงานสวดอภิธรรมศพด้วย
นายมงคล ชมคุณ อดีตผู้ต้องคดีการเมืองได้เล่าถึงความอัดอั้นตันใจที่มีต่อกระบวนการตัดสิน คดีว่าศาลใช้ดุลพินิจอะไรในการตัดสินคดีของศาลว่า
“ในความเข้าใจ ของผมคนที่จะถูกตั้งสินว่าเผาสถานที่ราชการต้องมีพฤติกรรมการเทน้ำมันลาดและ จุดไฟเผาจนไหม้ แต่คนที่ถือถังเฉยไม่ได้เอาไฟไปจุดเผาศาลควรจะตัดสินแค่ว่าเป็นผู้ให้การ สนับสนุน แต่นี่ไปลงโทษเขาว่าเผาสถานที่ราชการแล้วตัดสินจำคุก 20 ปี ทำเกินไปไหม แล้วถามรัฐบาลหรือ นปช. เคยสนใจไหม แล้วทุกวันรัฐบาลยังเอาเงินเยียวยามาหลอกล่อพวกเรา บอกว่าจะจ่ายค่าชดเชยคนละเป็นล้าน แต่รัฐบาลเคยถามบ้างไหมว่าคนที่ถูกขังคุกเขาต้องการอะไร ผมบอกได้เลยว่าเขาไม่ได้ต้องการเงินล้าน แต่เขาต้องการอิสรภาพ เขาอยากกลับบ้านมานอนกอดเมียกอดลูกมากกว่า อย่างตอนนี้ที่ไปฟังคำตัดสินคดีของศาลชั้นต้น พวกเราทุกคนเดินทางออกจากบ้านไปขึ้นศาลด้วยความเชื่อมั่นว่าคำตัดสินของศาล จะออกมาอย่างไรก็ตาม แต่พรรคเพื่อไทย รัฐบาลของเราต้องสามารถประกันตัวพวกเราออกมาเพื่อต่อสู้คดีได้แน่นอน แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ พวกเราหลายคนต้องกลับเข้าไปอยู่ในคุกอีกรอบ ขณะที่แกนนำกลับได้รับการประกันตัวออกมาจนหมด แล้วมาวันนี้ถ้าวันชัยไม่ตายคนอย่าง อ.ธิดา หมอเหวง ผมถามว่าเดี๋ยวนี้มีไหมที่สนใจลิ่วล้อแบบเรา ขนาดประชา(รมว.ยุติธรรม ประชา พรหมนอก) เป็นคนอุดรแท้ อยู่ตำแหน่งสำคัญด้วยยังช่วยเหลือพวกเราออกมาไม่ได้ แม้แต่งานศพวัยชัยจัดอยู่อุดรแท้ๆ เขายังไม่เคยเข้ามาร่วมงานด้วยซ้ำ”
“ความรู้สึกตอนนั้นมันเหมือนเราหมดความหวัง การต่อสู้ของพวกเราถูกทำให้ไม่มีความสำคัญ”
จากนั้นนางปาริชาติและนายสมจิตได้เดินเข้าไปยังศาลาวัดเพื่อไหว้ศพนายวันชัยพร้อมทั้งกล่าวว่า
“ แม่แกไม่มีใครเลยนะ พวกหนูกับพวกเพื่อนของของอ้ายวันชัยที่เขาออกจากคุกไปแล้วเลยต้องมาช่วยงาน มานอนเป็นเพื่อนแกจะอยู่กับแม่แกจนงานเผาเสร็จเลย จริงๆพวกเราอยากมากันตั้งแต่ตอนกลางวันแล้ว แต่ไม่มีรถมาต้องรอพี่สมจิต(อดีตผู้ต้อง)เขาเลิกงานแล้วให้เขาพาขับรถมา คนเสื้อแดงอุดรที่ว่ามีมากก็ไม่เห็นมาเท่าไหร่ งานเงียบมากไม่สมกับว่าแกเป็นวีรชน แกนนำเสื้อแดงอุดรก็ไม่มา หนูก็ไม่เข้าใจว่าปีใหม่มีอยู่ทุกปีแล้วทำไมถึงไม่ช่วยงานพี่แกหน่อย
ตอน ที่หนูไปรับศพพี่วันชัยเห็นแม่ที่ กทม. แกเสียใจมาก เรียกว่าเบลอจนทำอะไรไม่ถูก ข้าวปลาไม่ยอมกิน นอนก็ไม่หลับ แกคิดมากเรื่องลูกเสียชีวิต แกสงสารลูกมากเพราะไม่คิดว่าลูกจะมาตาย ใครจะคิดว่าเวลาวางแผนจะมาเยี่ยมลูกแล้วจะกลายเป็นว่ามารับศพลูกกลับบ้าน หนูยังไม่คิดว่าจะต้องมาเป็นแบบนี้ติดว่าจะมาเยี่ยมผัวมากอดผัวแต่ต้องมาเจอ สภาพแบบนี้ เรียกว่าพวกในเรือนจำตอนนี้ขวัญเสียหมดแล้ว ตอนหนูไปเยี่ยมผู้คุมเขาให้ลงมาแดนเยี่ยมทุกคน เขาก็ร้องไห้กันทุกคนไม่มีใครยิ้มออกซักคน หนูสั่งข้าวผัดมาให้กินแม่ก็กินแค่คำเดียวเท่านั้นแหล่ะ สองคนเขารักมาก พี่คิดดูว่าตอนที่พวกนั้นยังถูกขังอยู่อุดรบ้านแกหนองหารอยู่ห่างจากเรือนจำ เกือบห้าสิบกิโล แต่แกมาเยี่ยมพี่วันชัยเกือบทุกวัน พอมาถึงแกไม่ใช่มาตีตั๋วเข้าเยี่ยมตัวเปล่า แกต้องไปแวะตลาดก่อน ซื้อของกินฝากให้ลูกทุกวันไม่เคยขาด แล้วพอแกย้ายไปอยู่ภาคใต้ลูกก็ย้ายไปอยู่หลักสี่แล้ว แกยังอุตส่าห์มาเยี่ยมลูกได้ทุกเดือน แล้วลูกชายแกเวลาที่พวกหนูไปเยี่ยมมีแต่ถามข่าวว่าแม่เป็นอย่างไร แกเป็นห่วงแม่มากยิ่งหลังจากเลิกกับพ่อแล้วพี่วันชัยยิ่งเป็นห่วง
ข้อมูลเบืองต้นเกี่ยวกับนายวันชัยและครอบครัว
ทองมาและสามี ตระเวนตามหานายวันชัยกระทั่งเวลาผ่านไป 7 วัน จึงมีชาวบ้านที่ฟังวิทยุชุมชนและเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้มาแจ้งให้ทราบว่าเห็น ลูกชายเธอปรากฏรวมในกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกจับ เมื่อได้ยินเช่นนั้นเธอและสามีได้เดินทางไปสอบถามที่สถานีตำรวจ และสถานีวิทยุชุมชนด้วยตัวเองถึงได้ทราบว่านายวันชัยได้ถูกจับกุมคุมขังอยู่ ในเรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานีแล้ว วันชัย ถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ วันชัยได้เล่าถึงเหตุการณ์ให้ฟัง วันเกิดเหตุเขาได้ขับรถจักรยานยนต์ไปจอดยังสถานีวิทยุชุมชนใกล้บ้าน แล้วขึ้นรถกระบะมาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงในตัวเมืองจังหวัดอุดรธานี โดยเขายืนอยู่ ณ จุดที่มีกระติกน้ำมันจำนวนหนึ่งวางอยู่ และเห็นว่าเกะกะจึงได้ยกออกไปวางให้เป็นระเบียบ โดยมีคนเสื้อแดงที่เคยถูกจับและถูกยกฟ้องในคดีเดียวกันคนหนึ่งยืนอยู่ด้วย ตลอดเวลา แต่ปรากฏว่าตำรวจได้กล่าวหาว่าเขาเป็นคนนำน้ำมันมาเผาสถานที่ราชการจึงถูก จับกุม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม 20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้ 57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี นับ จากวันที่ถูกจับกุม จนถึงวันที่เขาเสียชีวิตในเรือนจำ เป็นเวลา 2 ปี 7 เดือนเศษ วันชัยมีโอกาสได้รับสิทธิในการประกันตัวในช่วงก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำ พิพากษา เป็นเวลาเพียง 2 เดือนเศษ วันชัยเสียชีวิตในเรือนจำ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 สำหรับทอง มา มีอาชีพรับจ้างรายวันในร้านขายวัสดุก่อสร้าง เธอต้องยกอุปกรณ์ก่อสร้างทุกชนิดรวมทั้งกระสอบ ปูน อิฐ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึงเวลาเย็น (เวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับลูกค้า) และบางวันต้องกลับบ้าน 20.00 น. เพราะต้องไปกับรถส่งของให้ลูกค้า เพราะเธอมีหน้าที่ยกของขึ้น – ลงรถ โดยได้ค่าจ้างวันละ 180 บาท ซึ่งแต่เดิมเป็นรายได้ที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในครอบครัว แต่ภายหลังจากที่นายวันชัยถูกคุมขังเธอต้องขาดงานบ่อยเพื่อไปเยี่ยมลูกชาย เป็นประจำทุกอาทิตย์ นอกจากนี้ เธอยังต้องกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับฝากเป็นค่าใช้จ่ายให้ลูกชายที่อยู่ในเรือน จำด้วย ทำให้บางครั้งเธอต้องหยิบยืมเงินจากญาติพี่น้องเพื่อนำมาเป็นค่าจ่ายที่จำ เป็น ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53 ( ศปช.) |
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เสื้อแดงอุดรตายคาเรือนจำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น