แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

'โตมร' ชี้ปัญหาการใช้โซเชียลมีเดีย 'ห้องที่สะท้อนแต่เสียงตัวเอง'

ที่มา ประชาไท



(14 ม.ค.56) Eisenhower Fellowship Alumni (Thailand) ร่วมกับ Eisenhower Fellowship จัดงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง 'โซเชียลมีเดียทำให้โลกของคนไทยกว้างขึ้นหรือแคบลง' ณ ห้องสุรศักดิ์ 1 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการอำนวยการนิตยสาร GM ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ TARAD.com และ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

พฤติกรรมเสพสื่อเปลี่ยน นำไปสู่โลกทัศน์ที่แคบและลึกลง
สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต แสดง ความคิดเห็นว่าโซเชียลมีเดียเป็นที่นิยมในประเทศไทยเพราะสนองตอบลักษณะนิสัย ของคนไทยได้ดี นั่นคือการที่เราชอบที่จะมีเพื่อนเยอะๆ อยากรู้จักใครใหม่ๆ และนี่เป็นส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการเสพข่าวสารที่ต่างไปจากเดิม คือสื่อกระแสหลักกลายเป็นเสมือนสื่อทางเลือกสำหรับหลายๆ คนไปแล้ว
สฤณี กล่าวต่อว่า การเสพข่าวก็มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือหลายคนเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่เพื่อนเขียนหรือแสดงออกในโซเชียลมีเดียว่า เป็นข้อเท็จจริง และมีกรณีที่หลายคนเลือกที่จะรับเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มาจากคนที่ชื่นชอบ ติดตาม หรือเป็นคนที่มีความคิดเห็นทางสังคม การเมือง หรือเรื่องต่างๆ ที่เหมือนกับตน ตรงนี้ทำให้โลกในความหมายว่าโลกทัศน์มันแคบและลึกลง

ชี้ปัญหาการใช้โซเชียลมีเดีย 'ห้องที่สะท้อนแต่เสียงตัวเอง'
โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการอำนวยการนิตยสาร GM แสดง ความคิดเห็นว่า เวลาเราพูดถึงเฟซบุ๊ก เราก็คิดว่ามันทำให้โลกเรากว้างขึ้น โลกทัศน์ก็เปิดกว้างขึ้นด้วย แต่มันจะกว้างขึ้นจริงหรือเปล่าก็น่าสงสัยอยู่ การค้นหาชื่อเว็บไซต์จากเสิร์ชเอนจิน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเราอาจจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูลอย่างรอบด้าน จริงๆ เพราะมีการกลั่นกรองเว็บไซต์มาให้เราชั้นหนึ่งแล้ว ซึ่งบางค่ายอาจใช้ตัวกลั่นกรอง (Filter) มากถึง 50 ชนิดเพื่อตอบสนองความสนใจเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจประมวลผลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเรา ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง คือเพื่อนได้ทำการค้นหาคำว่า ‘Black Women’ ผลลัพธ์จากเสิร์ชเอนจิน แสดงเว็บไซต์ลามกเกือบทั้งหมดในหน้าแรก แต่พอใช้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องค้นหาคำเดียวกันนี้ เว็บไซต์ที่แสดงส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิสตรีต่างๆ ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่ามันมีความไม่เป็นกลางในการคัดเลือกข้อมูลให้กับ เรา และมันก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างหลากหลาย มันอาจจะเป็นการตอกย้ำโลกทัศน์เดิมๆ ของเรา แทนที่จะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น ตรงนี้ก็มีประเด็นที่น่าสนใจคือหลายคนก็โยงไปเรื่องเสรีภาพในการเข้าถึง ข้อมูลด้วย
นอกจากเรื่องความหลากหลายที่ไม่แท้จริงของข้อมูลแล้ว พฤติกรรมของผู้ใช้เองก็ทำให้โลกทัศน์ของเราไม่ได้เปิดกว้างขึ้นไป ยกตัวอย่างกรณีเฟซบุ๊ก มีการเก็บข้อมูลและได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเวลาที่เราตั้งข้อความสถานะ (สเตตัส) อันเป็นการแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปในเฟซบุ๊กแล้ว คนที่มาแสดงความคิดเห็นต่อจากสเตตัสของเราจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยกับเรา มากกว่า 60% ยิ่งเป็นเรื่องที่แบ่งความเชื่ออย่างชัดเจน เช่น เรื่องศาสนาหรือการเมือง ตัวเลขอาจจะสูงถึง 80-100% ซึ่งส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการที่ไม่มีใครอยากกระโจนลงวงเสวนาเพราะกลัวจะ เจ็บตัวเอา
โตมร กล่าวอีกว่า “มันเป็นเหมือน Echo Chamber” เวลาเราพูดออกไป ยิ่งแรงเท่าไหร่ เสียงสะท้อนกลับมามันก็ยิ่งชัดเท่านั้น เมื่อไม่มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงกันมากๆ เข้าก็ทำให้เราเผลอเชื่อไปว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมน่าจะคิดเหมือนเรา และแน่นอนว่ามันไม่ใช่การเปิดโลกทัศน์ที่เราอยากจะให้มันเกิดขึ้น

การปรับตัวของนักข่าวในยุคโซเชียลมีเดียเฟื่องฟู
ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
กล่าวว่า โลกจะกว้างขึ้นหรือเท่าเดิม คงเป็นไปตามแต่ละบุคคลว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เพียงใดโซเชียลมี เดียมีพลังมากมายอยู่แล้ว สิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีคือปรากฏการณ์เหนือเมฆ 2 ที่สามารถทำให้คนสังคมหันมาสนใจเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคโดยมีโซเชียลมี เดียเป็นสื่อกลาง ก็นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เราได้รับความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจจะเรียกว่าโลกกว้างขึ้นก็ได้
ณัฏฐา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นของบทบาทของนักข่าวว่า ความนิยมของโซเชียลมีเดียมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สื่อกระแสหลักดูเหมือนจะลดความสำคัญลงไป จากเดิมที่มีลักษณะ ‘One to Many’ คือสื่อกระแสเป็นผู้ทำหน้าหลักในการรายงานข่าวสาร แต่โซเชียลมีเดียทำให้ใครก็สามารถเป็น ‘นักข่าวพลเมือง’ สามารถรายงานปรากฏการณ์ต่างๆ เผยแพร่สู่สาธารณะได้อย่างง่ายดาย มันเป็นลักษณะ ‘Many to Many’ ไม่มีใครสามารถควบคุมการไหลของข้อมูลตรงนี้ได้
เมื่อเราไม่สามารถต้านกระแสของโซเชียลมีเดียได้ สื่อกระแสก็ไม่ใช่จะต้องไหลตามไปเฉยๆ แต่จะต้องนำประเด็นจากกระแสในโซเชียลมีเดียมาต่อยอด แล้ววิเคราะห์ในเชิงลึกหรือนำเสนอออกไปให้รอบด้านมากขึ้น นักข่าวต้องพัฒนาทักษะตรงนี้ให้มากขึ้น ต้องสังเคราะห์ให้มากขึ้น ในโลกของโซเชียลมีเดียจะพบว่าสื่อทำการบ้านกันน้อยลง เน้นการนำเสนอข้อมูลแบบเร็วๆ เพราะต้องเป็นคนแรกที่ได้ทวีตข่าว ทำให้คุณภาพน้อยลงไปมาก
ณัฏฐา กล่าวปิดท้ายความคิดเห็นของตนว่า อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือความอดทนอดกลั้นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เมื่อเรากระโดดลงโซเชียลมีเดียแล้ว มันหมายความว่าผู้บริโภคสามารถเข้าถึงตัวเราได้มากขึ้น และต้องตระหนักไว้เสมอว่าคนที่ติดตามเราในโซเชียลมีเดียมีทั้งคนที่ชอบและ ไม่ชอบ คนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคุณ เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะวิพากษ์วิจารณ์คุณอย่างตรงไปตรงมา สื่อก็ต้องปรับตัวและทำงานอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น

โซเชียลมีเดียในมุมมองจากวงการธุรกิจออนไลน์
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ TARAD.com
กล่าวว่าโซเชียลมีเดียทำให้โลกของเรากว้างมากขึ้น บางทีกว้างเสียจนลืมนึกถึงคนรอบข้างไปก็มี และโซเชียลมีเดียในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น หลายค่ายก็พัฒนาให้มีความสามารถเฉพาะด้านไปเลย อย่างเช่น LinkedIn ก็เน้นไปที่เรื่องหางาน หรือเครือข่ายงานประเภทต่างๆ
ภาวุธ กล่าวต่อว่า ในวงการธุรกิจออนไลน์มันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การทำบล็อกหรือเว็บไซต์ไม่เพียงพอแล้วสำหรับยุคนี้ เพราะผลกระทบจากการบอกต่อแบบปากต่อปากในโซเชียลมีเดียมันทรงพลัง พอกระแสเกิดขึ้นแล้ว จะไปเร็วมาก นี่เป็นข้อดีอย่างที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าพลาด ก็เละได้เหมือนกัน

โซเชียลมีเดียกับเส้นแบ่งระหว่าง Hate Speech และพรมแดนแห่งเสรีภาพ
สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
กล่าว ว่า แม้โซเชียลมีเดียจะมีข้อดีอยู่มาก ทำให้โลกกว้างขึ้น ทำให้คนเข้าถึงข่าวสารได้มากขึ้น มีความรวดเร็วกว่าสื่อประเภทอื่นๆ อยากแชร์ก็แชร์ได้เลย ไม่ต้องเดินเข้าสภากาแฟหรือโรเนียวเอกสารแจก แต่มันก็มีพลังการทำลายล้างที่น่ากลัว ในปัจจุบันจะเห็นว่าโซเชียลมีเดียใช้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการวมตัวของกลุ่ม ผู้ที่มีแนวความคิดเหมือนกัน มันนำไปสู่เรื่อง Hate Speech (ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง) โจมตีฝ่ายที่มีแนวคิดแตกต่างจากกลุ่มของตน มันเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม Hate Speech ได้ หรือบางทีมันก็อาจจะยากเกินไปที่จะให้ความหมายว่า Hate Speech คืออะไร การออกกฎหมายมาดูแลจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวล ดังนั้นสังคมควรเรียนรู้และสร้างบรรทัดฐาน (Norm) ไปด้วยกันว่า ระดับไหนถึงเป็น Hate Speech หรืออะไรพูดได้แค่ไหน
สุภิญญา กล่าวต่ออีกว่า ตนเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ฉะนั้นเราก็ควรจะยึดหลักเสรีภาพเป็นตัวตั้งก่อน ต้องให้มีการแสดงออกได้และสังคมก็ต้องตื่นตัวตลอดเวลา การเฝ้าระวังตรงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่สังคมต้องอดทนอดกลั้น รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเป็นเสมือนราคาที่ต้องจ่ายเพื่อแลกกับจุดพอดีของ เสรีภาพ และนี่ก็ถือเป็นการส่งเสริมความเป็นมนุษย์ของเราเองด้วย
โตมร กล่าวว่า บางทีเวลาเราพูด Hate Speech ใส่คนอื่น เราอาจจะไม่รู้สึกว่ามันเป็น Hate Speech เลยด้วยซ้ำ แต่เวลาเราโดน Hate Speech เล่นงานบ้าง เรากลับคิดว่าต้องเป็น Hate Speech แน่ๆ มันหาหลักเกณฑ์มาจับยากเหมือนกันว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็น Hate Speech ก็อาจจะต้องปล่อยให้เกิดและเรียนรู้กันไป มันอาจจะเจ็บปวดบ้าง ก็ถือเป็นราคาที่ต้องจ่าย
สฤณี กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่สุดคือเราไม่ค่อยได้พูดคุยกันเลย แล้วเราจะหามติร่วมกันได้อย่างไรว่าขนาดไหนถือว่ายังเป็นเสรีภาพ ขนาดไหนถึงขั้น Hate Speech แล้ว แน่นอนว่าเราไม่มีทางจะมองเห็นเส้นแบ่งตั้งแต่แรกเริ่มที่พูดคุยกัน เราต้องอดทนและเรียนรู้ร่วมกันไป แต่อย่าให้ถึงขั้นออกกฎหมายมาควบคุม เพราะปัญหาจะตามมาอีก
ณัฏฐา แสดงความคิดเห็นว่า เวลานักข่าวจะโพสต์ข้อความอะไรก็ต้องระวังว่าเป็นคำที่กระทบความรู้สึกหรือ ไปลดทอนความเป็นมนุษย์ของใครหรือเปล่า หลายครั้งก็พบว่านักข่าวเองเป็นผู้ผลิตซ้ำถ้อยคำที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Hate Speech ออกสู่สังคม อันนี้ก็คิดว่ามันไม่ควร แต่ถ้าเกิดขึ้นมันก็ต้องปรามๆ กัน เราต้องตรวจสอบกันเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น