ในช่วงปีสองปีมานี้
เรียกได้ว่าทุกภาคส่วนในไทยตื่นตัวกับการเตรียมเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในหลายๆด้าน
แต่ด้านที่ยังคงไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือเรื่องของภาษาชาติเพื่อนบ้าน
วันนี้เราจะไปดูโรงเรียนตัวอย่างในกรุงเทพ
ที่เปิดสอนภาษาอาเซียนเพื่อให้เด็กๆได้เข้าใจเพื่อนบ้านในภูมิภาคของเรามาก
ขึ้น
ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะได้รับการยอมรับให้เป็นภาษา กลางของอาเซียน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในการเตรียมพร้อมรับการรวมตัวของประชาคมอาเซียนอย่าง ใกล้ชิดในปี 2558 การเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นของชาติต่างๆในอาเซียน ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มความใกล้ชิดในระดับประชาชน รวมถึงเพิ่มความสะดวกในการทำมาค้าขายกับชาติเพื่อนบ้าน
สำหรับใน ประเทศไทย การเรียนการสอนภาษาเพื่อนบ้าน อย่างภาษาเขมร ลาว พม่า หรือมลายู แทบจะไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ทั้งๆที่คนในพื้นที่ชายแดน ล้วนใช้ภาษาเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหารโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ได้ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ กลายเป็นโรงเรียนแรกในกรุงเทพที่เปิดสอนภาษาบาฮาซามลายู หนึ่งในภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนอย่าง
นางสาวสุรีรัตน์ เอี่ยมกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม อธิบายว่าโรงเรียนได้ปรับหลักสูตรให้เน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนมา ตั้งแต่ก่อนที่กระแสอาเซียนจะบูม แต่เมื่อทุกภาคส่วนเริ่มมีการตื่นตัวเรื่องนี้กันมากขึ้น ทางโรงเรียนจึงเริ่มหันมาเน้นเรื่องของภาษา ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้านในอาเซียน
สำหรับ การเรียนการสอนภาษามลายูของที่นี่ มีสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยจะไม่มีการคิดเกรด ถึงแม้ว่าจะมีการประเมินผลการเรียนการสอนตามปกติ ซึ่งคุณครูผู้สอนยืนยันว่ามีเด็กสนใจมาสมัครเรียนกันเป็นจำนวนมากกว่า 100 คน ทั้งๆที่เพิ่งเปิดหลักสูตรเป็นปีแรก จนต้องแบ่งเด็กไปเรียนภาษาอื่นๆบ้าง เนื่องจากครูผู้สอนภาษาบาฮาซามลายูมีเพียงคนเดียว ไม่สามารถสอนนักเรียนจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง
ส่วนเด็กนักเรียน ที่นี่ ก็กระตือรือร้นในการเรียนภาษามลายูกันอย่างมาก เพราะเป็นภาษาที่แปลก ไม่ค่อยมีคนรู้เหมือนภาษายอดนิยมอย่างจีน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส และเชื่อว่าจะได้ใช้ความรู้ภาษามลายูให้เป็นประโยชน์แน่นอนเมื่อโตขึ้น
นอก จากบาฮาซามลายู ทางโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคมยังมีแผนการที่จะเปิดสอนภาษาพม่าอีกในเร็วๆนี้ เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาร์เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่มาก นอกจากนี้เมียนมาร์ยังเป็นประเทศที่กำลังเนื้อหอมที่สุดในอาเซียนากการเปิด ประเทศ ทำให้ทางโรงเรียนเชื่อว่า การสอนภาษามลายูและพม่า น่าจะส่งเสริมให้เด็กๆมีโอกาสมากขึ้นทั้งในด้านการเรียน การทำงาน รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนบ้านในอาเซียน เมื่อถึงเวลาที่ประชาคมอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะได้รับการยอมรับให้เป็นภาษา กลางของอาเซียน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในการเตรียมพร้อมรับการรวมตัวของประชาคมอาเซียนอย่าง ใกล้ชิดในปี 2558 การเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นของชาติต่างๆในอาเซียน ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มความใกล้ชิดในระดับประชาชน รวมถึงเพิ่มความสะดวกในการทำมาค้าขายกับชาติเพื่อนบ้าน
สำหรับใน ประเทศไทย การเรียนการสอนภาษาเพื่อนบ้าน อย่างภาษาเขมร ลาว พม่า หรือมลายู แทบจะไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ทั้งๆที่คนในพื้นที่ชายแดน ล้วนใช้ภาษาเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหารโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ได้ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ กลายเป็นโรงเรียนแรกในกรุงเทพที่เปิดสอนภาษาบาฮาซามลายู หนึ่งในภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนอย่าง
นางสาวสุรีรัตน์ เอี่ยมกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม อธิบายว่าโรงเรียนได้ปรับหลักสูตรให้เน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนมา ตั้งแต่ก่อนที่กระแสอาเซียนจะบูม แต่เมื่อทุกภาคส่วนเริ่มมีการตื่นตัวเรื่องนี้กันมากขึ้น ทางโรงเรียนจึงเริ่มหันมาเน้นเรื่องของภาษา ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้านในอาเซียน
สำหรับ การเรียนการสอนภาษามลายูของที่นี่ มีสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยจะไม่มีการคิดเกรด ถึงแม้ว่าจะมีการประเมินผลการเรียนการสอนตามปกติ ซึ่งคุณครูผู้สอนยืนยันว่ามีเด็กสนใจมาสมัครเรียนกันเป็นจำนวนมากกว่า 100 คน ทั้งๆที่เพิ่งเปิดหลักสูตรเป็นปีแรก จนต้องแบ่งเด็กไปเรียนภาษาอื่นๆบ้าง เนื่องจากครูผู้สอนภาษาบาฮาซามลายูมีเพียงคนเดียว ไม่สามารถสอนนักเรียนจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง
ส่วนเด็กนักเรียน ที่นี่ ก็กระตือรือร้นในการเรียนภาษามลายูกันอย่างมาก เพราะเป็นภาษาที่แปลก ไม่ค่อยมีคนรู้เหมือนภาษายอดนิยมอย่างจีน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส และเชื่อว่าจะได้ใช้ความรู้ภาษามลายูให้เป็นประโยชน์แน่นอนเมื่อโตขึ้น
นอก จากบาฮาซามลายู ทางโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคมยังมีแผนการที่จะเปิดสอนภาษาพม่าอีกในเร็วๆนี้ เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาร์เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่มาก นอกจากนี้เมียนมาร์ยังเป็นประเทศที่กำลังเนื้อหอมที่สุดในอาเซียนากการเปิด ประเทศ ทำให้ทางโรงเรียนเชื่อว่า การสอนภาษามลายูและพม่า น่าจะส่งเสริมให้เด็กๆมีโอกาสมากขึ้นทั้งในด้านการเรียน การทำงาน รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนบ้านในอาเซียน เมื่อถึงเวลาที่ประชาคมอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
by
Pannika
23 มกราคม 2556 เวลา 09:18 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น