แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ: อีกมุมจากเกาหลีเหนือ

ที่มา ประชาไท


ประเทศเกาหลีเหนือ เป็นที่สนใจและจับตามองของประชาคมโลกเสมอมา ทั้งนี้สืบเนื่องจากเรื่องราวต่างๆของประเทศนี้ที่ออกสู่สายตาชาวโลกมีอยู่ อย่างจำกัด และดูจะเป็นประเทศที่ลึกลับซับซ้อน ทั้งข่าวคราวที่มีอยู่อย่างจำกัดเหล่านั้นโดยมากมักจะเป็นข่าวคราวที่ล้วน แต่สร้างมโนทัศน์ในเชิงลบแทบทั้งสิ้น เราอาจนึกภาพของประเทศเกาหลีเหนือว่าเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีผู้นำเผด็จ การเสวยสุขอยู่บนความลำบากยากแค้นของประชาชน หรือเป็นประเทศที่สร้างความสะพรึงกลัวให้กับสังคมโลกโดยความพยายามในการ พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ทั้งที่ประเทศเผชิญปัญหาความยากจนและอดอยากขาดแคลน ในขณะที่เมื่อกล่าวถึงประเทศเกาหลีใต้ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏนั้นกลับแตกต่างสิ้นเชิงราวฟ้ากับดิน เกาหลีใต้ในปัจจุบันคือประเทศที่มีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นอันดับต้นๆของภูมิภาค สิ่งนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของประเทศที่ปกครองในระบอบ สังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ ที่มีต่อ เสรีนิยม-ประชาธิปไตย อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะวิพากษ์วิจารณ์สิ่งใด สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงให้รอบด้าน แม้ว่าข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากประเทศเกาหลีเหนือจะมีอยู่มาก และเรามิอาจจะสรุปได้โดยง่ายถึงข้อเท็จจริงเหล่านั้นว่าสิ่งใดคือ “ข้อเท็จ” และสิ่งใดคือ “ข้อจริง” ก่อนที่จะเลือก “เชื่อ” หรือ “ไม่เชื่อ” ในสาระเหล่านั้น
ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปประเทศเกาหลีเหนือ ได้พบเห็นและสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม รวมถึงความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อระบอบการปกครองและผู้นำของประชาชน เกาหลีเหนือ แม้สิ่งที่ได้พบเห็นไม่อาจจะเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องจริงทั้งหมด แต่อยากน้อยก็ทำให้มีความเข้าใจภาพรวมได้ชัดเจนและใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น
มูลเหตุแห่งการแบ่งประเทศเกาหลีเป็นสองส่วน คือ เหนือ-ใต้ นั้น สืบเนื่องจากการรุกคืบเข้ายึดครองคาบสมุทรเกาหลีเพื่อผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1910 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อญี่ปุ่นขอยอมแพ้ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำสำคัญในกองทัพพันธมิตรจึงได้ตกลงที่จะช่วยกันร่วมฟื้นฟูเกาหลี ภายหลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นถึง 35 ปี โดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นแนวแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ มีสหภาพโซเวียตรับผิดชอบพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 ในขณะที่สหรัฐอเมริการับผิดชอบพื้นที่ที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 38 เหตุการณ์นี้ทำให้พื้นที่ทั้งสองต่างมีความผูกพันใกล้ชิดทางด้านแนวความคิด ในการปกครองประเทศจากสหภาพโซเวียตและอเมริกาซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้น เชิง ความขัดแย้งทางความคิดก่อตัวขึ้นจนกระทั่งบานปลายเป็นสงครามเกาหลี ในระหว่างปี ค.ศ. 1950 – ค.ศ. 1953 โดยมีสหภาพโซเวียตและจีน ซึ่งเป็นสองผู้นำจากค่ายคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนแก่เกาหลีเหนือทั้งอาวุธ และกำลังพล ส่วนเกาหลีใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบกับฝ่ายเกาหลีใต้ในครั้งนั้นด้วย และเพื่อเป็นการตอบแทนไมตรีต่อกัน ในปัจจุบันนี้ประชาชนจากทั้งสองประเทศจึงไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า เข้าประเทศ
ภายหลังจากที่สงครามเกาหลียุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ภายใต้ระบอบการปกครองที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายต่างเชื่อมั่น ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าในระดับประชาชนนั้นมีความแตกต่างทางความคิดกันมากน้อย เพียงใด ซึ่งอาจจะคล้ายๆกันกับสงครามที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัย ที่ระดับประชาชนล้วนแต่ถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยชนชั้นปกครองผู้มีอำนาจ เกาหลีเหนือประกาศตนที่จะยึดถือหลักการคอมมิวนิสต์นับแต่นั้น (และอาจจะเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่ยังคงความเป็นคอมมิวนิสต์แบบเต็มรูปแบบ จนถึงปัจจุบัน) คิม อิล ซุง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศนับแต่ปี ค.ศ. 1948 (ก่อนหน้าสงครามเกาหลี) จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1994 ความเป็นผู้นำถูกส่งผ่านถ่ายทอดมายังบุตรชายคือ คิม จอง อิล ต่อเนื่องจนถึงหลานปู่ คือ คิม จอง อึน  เมื่อผู้นำรุ่นที่สองถึงแก่กรรมเมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ. 2011)
ความเป็นผู้นำที่ส่งผ่านโดยความสัมพันธ์ทางสายเลือดของคนในตระกูลนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แตกต่างจากระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีการคัดเลือกผู้นำผ่านระบบพรรค แม้ว่าเกาหลีเหนือจะอ้างว่าการขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของคนในตระกูลคิม มาจากการคัดสรรของพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม
ในช่วงที่ ผู้นำสูงสุดรุ่นที่สอง คือ คิม จอง อิล เสียชีวิตนั้น ภาพที่ปรากฏต่อประชาคมโลกคือ ภาพประชาชนชาวเกาหลีเหนือต่างอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจ บางคนถึงกับตีอกชกหัว ร้องไห้ กับการจากไปของท่านผู้นำ ราวกับหัวใจแหลกสลาย สังคมโลกต่างวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนานา ว่าภาพที่เกิดขึ้นนั้น เป็น “ปรากฏการณ์” ที่มาจาก “ก้นบึ้ง” ของจิตใจของประชาชนหรือไม่ บ้างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการสร้างภาพ บ้างก็รายงานว่าหากใครไม่แสดงออกว่ามีความเสียใจอย่างสุดซึ้ง จะถูกรัฐบาลลงโทษ ผู้เขียนเองก็มีความสนใจในประเด็นนี้ไม่น้อย เมื่อมีโอกาสได้เดินทางไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวเกาหลีเหนือ ผู้เขียนมีความเชื่อส่วนตัวอย่างบริสุทธิ์ใจว่า “ปรากฏการณ์” ความเศร้าโศกเสียใจนั้น น่าจะเป็นความรู้สึกที่แท้จริงของประชาชนชาวเกาหลีเหนือ เพราะนับตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้เหยียบผืนแผ่นดินเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง นั้น (อันที่จริงตั้งแต่ก้าวขึ้นเครื่องบินของสายการบินโคเรียวอันเป็นสายการบิน ประจำชาติ) คุณจะเห็นรูปภาพของท่านผู้นำ คำขวัญหรือสุนทรพจน์ของท่านผู้นำ ในแทบทุกๆที่ ในประเทศ ประชาชนทุกคนจะประดับเข็มกลัดรูปท่านผู้นำที่เสื้อ รายการโทรทัศน์ที่มีแต่เรื่องราวของชัยชนะในสงครามและเรื่องราวของท่านผู้นำ (ชาวเกาหลีเหนือเชื่อว่ามีชัยชนะเหนือจักรวรรดิอเมริกาในสงครามเกาหลี) ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกเรียกว่าโฆษณาชวนเชื่อหรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งนี้ทำหน้าที่ของตัวมันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันทำให้ประชาชนรักและศรัทธาในตัวผู้นำอย่างมาก และไม่ว่าสิ่งที่ท่านผู้นำได้กระทำลงไปนั้น สังคมโลกจะตัดสินว่าเป็นการปิดหูปิดตา ล้างสมองประชาชน แต่สำหรับคนเกาหลีเหนือแล้ว เค้ามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้นำอย่างบริสุทธิ์ใจ
เพื่อนร่วมคณะที่ส่วนมากเป็นชาวยุโรปถามความคิดเห็นของผมในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าผมอาจจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีกว่าในฐานะที่เป็นชาวเอเชีย เค้าคิดว่า เมื่อคุณถูกทำให้เชื่อ ว่าใครคนใดคนนึงทำประโยชน์เพื่อคุณและประเทศของคุณโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ด เหนื่อยส่วนตัว คุณก็จะรักและเทิดทูนบุคคลนั้น ยกย่องบูชาบุคคลนั้น อยากที่จะประดับรูปบุคคลนั้นในทุกๆที่แม้กระทั่งบนเสื้อของคุณ แบบเดียวกับที่ชาวเกาหลีเหนือทำ เป็นธรรมดาที่ประชาชนย่อมจะอยากแบ่งปันเรื่องราวของผู้นำของเค้าให้ประชาคม โลกได้รับรู้ ว่าท่านผู้นำมีความสำคัญ สมควรแก่การยกย่อง ผู้ที่มาเยือนสมควรจะต้องมาทำความเคารพท่านผู้นำหรือรูปสัญลักษณ์ต่างๆที่ เป็นตัวแทนตัวผู้นำ และแน่นอนว่าเค้าย่อมไม่ยินยอมให้ใครบังอาจมาวิพากษ์วิจารณ์ท่านผู้นำของ เค้า ไม่ว่าสิ่งทิ่วิพากษ์วิจารณ์นั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ !!!
คำตอบจากปากของผมคือ  “Sorry, I have no idea.”

ถ่ายที่ Mansudae Grand Monument

ถ่ายที่ Pyongyang Film Studio

ภาพจากหนังสือ Kim Jong IL พิมพ์ที่ กรุงเปียงยาง หน้า 320

ภาพจากหนังสือ Kim Jong IL พิมพ์ที่ กรุงเปียงยาง หน้า 321

ถ่ายที่ โบกี้รถไฟใต้ดิน กรุงเปียงยาง

ถ่ายที่ People's Palace (ห้องสมุดและสถานที่ที่ให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้)

ถ่ายภายในบ้านพักของชาวเกาหลีเหนือ

ถ่ายภายในบ้านพักของชาวเกาหลีเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น