แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาชนยื่นศาลฎีกาให้ยุติทุบตึก

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 11 ม.ค. ที่บริเวณหน้าอาคารศาลฎีกา ตรงข้ามสนามหลวง ประชาชนรวมตัวกันประมาณ 15 คน เพื่อยื่นเอกสารคัดค้านการรื้อทุบอาคารศาลฎีกา โดยมี ว่าที่ร.ต.ถิระ วิชาญนิธิ นิติกรชำนาญการศาลฎีกา เป็นตัวแทนออกมารับเอกสารดังกล่าว 

 น.ส.ภาร ณี สวัสดิรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม กล่าวว่า ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมให้เหตุผลว่าอาคารศาลฎีกา มีความเสื่อมโทรมและมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ พวกเราในนามเครือข่ายประชาชนและภาคประชาสังคมที่เห็นคุณค่าอาคารประวัติ ศาสตร์อันเป็นโบราณสถานในพื้นที่มรดกวัฒนธรรมของชาติ เห็นว่าการดำเนินการทุกขั้นตอนของสำนักงานควรให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

 �ขณะ นี้กรมศิลปากรได้ทำหนังสือแจ้งให้ทราบแล้วว่าอาคารดังกล่าวเป็นโบราณสถานและ ขอให้สำนักงานศาลฯ ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่เขตพระบรมมหาราชวัง ซึ่งห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 16 เมตร แต่แบบก่อสร้างอาคารหลังใหม่กลับมีความสูง 31.7 เมตร� น.ส.ภารณีกล่าวและว่า ขอให้สำนักงานศาลฯ ยุติการรื้อทุบกลุ่มอาคารศาลฯ ทันทีและให้ดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน

 นายชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้มีข้อถกเถียงที่ยังไม่ลงตัวระหว่างสำนักงานศาลฯ กับกรมศิลปากร ประเด็นมีอยู่ว่าถ้าเป็นองค์กรอื่นๆ กรมศิลปากรจะไม่มีปัญหาในการประกาศเป็นโบราณสถาน แต่เมื่อเป็นศาลฎีกา จึงเป็นเรื่องยากลำบาก

 �ท่านตีความว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกายังไม่ถูกประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโบราณสถาน สามารถรื้อทุบทำลายได้ แต่ด้วยการขอยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมาย เรื่องการสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในเขตท้องที่พระบรมมหาราชวังเสียเอง ถามว่าท่านกำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่หรือไม่� นายชาตรีกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น