แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

อนุแก้รธน.สภาฯ เสนอยุบ 'ศาลรธน.-ฎีกาฯ-ผู้ตรวจฯ'

ที่มา Voice TV

 อนุแก้รธน.สภาฯ เสนอยุบ 'ศาลรธน.-ฎีกาฯ-ผู้ตรวจฯ'


อนุแก้รธน.สภาฯ รับลูกเฉลิม อยู่บำรุง ตั้งแท่นเสนอให้ยุบ "ศาลรธน.-ศาลฎีกาฯ-ผู้ตรวจการแผ่นดิน" อ้างเป็นตัวปัญหาเข้ายุค "ตุลาการภิวัฒน์"  ฉีก ม. 309  ป้องกันรัฐประหาร

เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่รัฐสภา นายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ที่มีตนเป็นประธานได้ศึกษา แนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะส่งข้อสรุปทั้งหมดให้กับคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายให้ทัน ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีนายประสพ บุษราคัม เป็นประธานพิจารณาต่อว่าจะเห็นชอบตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการฯเสนอมาหรือไม่ โดยจะมีการประชุมในวันที่ 14 ม.ค.นี้ จากนั้นจะได้ส่งผลสรุปเสนอเป็นรายงานต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะที่เป็นผู้ตั้งให้คณะกรรมการฯชุดนี้ขึ้นมา จากนั้นประธานสภาฯจะนำไปทำอะไรก็แล้วแต่วินิจฉัยของประธานสภาฯ

นายโสภณ กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยมีสาระสำคัญ คือ จะไม่มีการแก้ไขหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนที่มาของส.ส. ส.ว.จะย้อนกลับไปใช้แบบปี2540 คือมี 700 คน แยกเป็น ส.ส.500 คน (ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100คน) ส่วน ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200คน นอกจากนี้จะเสนอให้มีการยุบ "ศาลรัฐธรรมนูญ" แล้วกลับไปใช้ "ตุลาการรัฐธรรมนูญ"ให้มีอำนาจเพียงการตีความกฎหมายที่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือการขัดกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องของการยุบพรรค โดยที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญ มาจากการคัดเลือกของรัฐสภา ส่วนเหตุผลที่เสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ เพราะปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจมากเกินไป นำไปสู่ตุลาการภิวัฒน์ ทำให้ถูกมองว่าศาลเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง จึงควรกลับไปสู่จุดเดิม โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4-5 ปี

นายโสภณ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะเสนอให้การยกเลิก "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" โดยให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสิน คดีที่เกี่ยวกับการเมืองแทน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" จึงไม่เป็นธรรมในการตัดสินคดีที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ และอาจจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง จึงควรให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน เพราะเปิดโอกาสให้สามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้ เช่นเดียวกันก็จะให้ยุบ"ผู้ตรวจการแผ่นดิน"โดยให้ "ศาลปกครอง"เป็นผู้ทำหน้าที่แทน

นายโสภณ กล่าวด้วยว่า ส่วนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะเสนอให้มีการลดอำนาจป.ป.ช. จากเดิมหลังจากที่ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด ฟ้องศาล หากอัยการสูงสุดมีความเห็นไม่สั่งฟ้อง ป.ป.ช. ก็สามารถยื่นฟ้องเองได้ โดยแก้ไขให้อำนาจการสั่งฟ้องอยู่ที่อัยการสูงสุดเท่านั้น ป.ป.ช.ไม่สามารถยื่นฟ้องได้

"ส่วนมาตรา 309 จะเสนอให้ยกเลิก เพราะเป็นมาตราที่สนับสนุนการทำรัฐประหารโดยไม่มีความผิด จึงต้องยกเลิก เพื่อไม่ให้มีการทำรัฐประหาร โดยจะเขียนให้ชัดเจนว่าอำนาจที่ได้มาจากการรัฐประหาถือว่าเป็นการได้มาซึ่ง อำนาจโดยมิชอบ แต่จะไม่มีผลย้อนหลังกับคดีความที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ตัดสินไปแล้ว ส่วนคดีที่ยังไม่ตัดสินก็ให้สู้คดีกันไป และยืนยันว่าข้อเสนอให้ยุบ มาตรา 309 ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นผิด แต่เจตนาคือเพื่อป้องกันไม่ให้มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเท่านั้น "นายโสภณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวส่วนใหญ่จะยุบหรือลดอำนาจองค์กรอิสระ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง นายโสภณ กล่าวว่า อย่าไปมองแบบนั้น เพราะอำนาจทุกอย่างอยู่ที่ประชาชน โดยมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจแทน ถ้าทำอะไรไม่เหมาะสม ประชาชนก็คงจะไม่เลือกเข้ามา.


Source : News Center / Dailynews
7 มกราคม 2556 เวลา 14:46 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น