แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

จี้กรมเจรจาฯ เปิดฟังความเห็นร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู

ที่มา ประชาไท


เอฟทีเอ ว็อทช์ จี้กรมเจรจาฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู ตั้งข้อสงสัยอยากเริ่มเจรจาให้ได้ภายในเดือนนี้ แต่ไม่ยอมเปิดเผยร่างกรอบฯ
ตามที่นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค.นี้ ฝ่ายไทยจะสามารถประกาศเปิดการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้จัดทำกรอบการเจรจาในการเปิดเสรีเสร็จแล้ว เพื่อให้การเจรจาแล้วภายใน 2 ปี มีผลบังคับใช้ปี 2558 จะได้ช่วยทดแทน หากไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในปี 2557
นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า เมื่อกรมเจรจาฯชี้แจงว่า กรอบเจรจาฯเสร็จสิ้นแล้ว ก็ควรเปิดเผยต่อสาธารณชน เพราะตั้งแต่ผ่านคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ร่างกรอบเจรจาฯดังกล่าวยังถูกปิดเป็นความลับ หากยังปิดเป็นความลับเช่นนี้ ใครจะไปให้ความเห็นหรือข้อกังวลตามที่กรมเจรจาฯประกาศได้
“เมื่อมีกรอบเจรจาฯแล้ว ก็ควรจัดรับฟังความคิดเห็นในส่วนกลาง 1 ครั้งก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาตามมาตรา 190 เพราะไม่ใช่ทุกภาคส่วนจะสามารถเข้าถึงผู้ใหญ่ในกรมเจรจาฯได้ จึงควรจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกรอบเจรจาฯ ไม่ควรห่วงแต่ภาคธุรกิจ หากกรมเจรจาฯไม่เปิดเผยกรอบ ก็ไม่สามารถแสดงความกังวล-ข้อคิดเห็นที่จะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมและพัฒนาท่าทีการเจรจาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาควรมีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาร่างกรอบเจรจาและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปนี้ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง”
ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล สมาชิก เอฟทีเอ ว็อทช์ เปิดเผยว่า วันนี้ 14 องค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบด้านต่างๆ ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดทำการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU FTA)
“เครือข่ายประชาชน (ตามรายชื่อแนบท้าย) ได้ติดตามตรวจสอบเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด พบว่า กระบวนการจัดทำการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU FTA) ที่ดำเนินการโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการเจรจาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้คณะรัฐมนตรีจะต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ อีกทั้งร่างกรอบเจรจาฯไม่เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศต่อรัฐสภา ที่ระบุว่า  ‘มีนโยบายขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว พร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ’ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่มีแนวป้องกัน หรือการเตรียมมาตรการใดๆรองรับให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีที่จะมีขึ้น นอกจากนี้ยังไม่มีการวางแนวป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับระบบสาธารณสุขของไทยดังที่งานวิจัยของสถาบันวิจัยหลายสำนักที่หน่วยราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุมัติให้จัดทำได้เคยเสนอแนะไว้
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กำลังกระทำการที่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 190 และเป็นการกระทำที่ขาดธรรมาภิบาลที่ข้าราชการพึงมี ดังนั้นเครือข่ายประชาชน จึงขอให้คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะพฤติกรรมและธรรมาภิบาลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทยและตรวจสอบผลกระทบของการจัดทำการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU FTA) ต่อระบบสาธารณสุขไทย รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและรัฐสภาในการปรับปรุงร่างกรอบเพื่อวางแนวป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น”
เครือข่ายประชาชนที่ทำหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์,มูลนิธิศูนย์ คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, ชมรมเพื่อนโรคไต , เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, กลุ่ม ศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทยและ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น