แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

'เอ็นจีโอไทย' เคลื่อนเรียกร้องสิทธิประกันตัว 'สมยศ' ระบุโทษแรงเกิน

ที่มา ประชาไท


26 เอ็นจีโอไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องสิทธิประกันตัว 'สมยศ' ชี้การตัดสินลงโทษสมยศ โดยจำคุกถึง 10 ปี เป็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไปสำหรับการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง ด้านมูลนิธิผสานวัฒนธรรมชี้คุมตัวระหว่างพิจารณาคดียาวนานเหมือนถูกจำคุกแต่ ต้น

กรณีศาลอาญาพิพากษาให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin มีความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งมีบทความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ลงโทษจำคุก 10 ปี จากความผิด 2 กรรม  บวกกับโทษเดิมเมื่อปี 2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี
ล่าสุด (24 ม.ค.56) นักกิจกรรมทางสังคมจำนวนหนึ่ง ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นว่า กรณีนี้เป็นบทลงโทษที่รุนแรงจนไม่อาจยอมรับได้สำหรับประชาชนผู้ที่มีความคิด เห็นต่างในสังคมที่แสดงตัวว่าเป็นประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชน เช่นประเทศไทย โดยระบุว่า โทษ 10 ปีนั้นรุนแรงเกินไป สำหรับการแสดงความเห็นที่แตกต่าง
อนึ่ง นักกิจกรรม 26 คน ประกอบด้วย 1. น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา 2. นายจักรชัย โฉมทองดี 3. นายนิมิตร์ เทียนอุดม 4. นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ 5. น.ส.เพ็ญโฉม ตั้ง 6. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง 7. นางสุภา ใยเมือง 8. นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง 9. นายอุบล อยู่หว้า 10. น.ส.สุภัทรา นาคะผิว 11. น.ส.ฝ้ายคำ หาญณรงค์ 12. นางสายฝน อมรแมนนันท์ 13. น.ส.แก้วตา ธัมอิน 14. น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล 15. นางพูลทรัพย์ ส.ตุลาพันธ์ 16. นางจันทนา เอกเอื้อมณี 17. นางกชพร กลักทองคำ 18. น.ส.แสงเดือน ค้ำคูณเมือง 19. นายพลิศ ลักขณานุรักษ์ 20. น.ส.สุชญา กรรพฤทธิ์ 21. นายเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน 22. น.ส.วิชุดา ขวัญชุม 23. น.ส.วรางคนางค์ นิ้มหัตถา 24. น.ส.นาถศิริ โกมลพันธุ์ 25. นายไพรัชช์ แดนกะไสย 26. นายเพิ่มสุข อัมพรจรัส
แถลงการณ์เรียกร้องว่า สมยศ และนักโทษทางการเมือง และผู้ที่ถูกตั้งข้อหา หรืออยู่ระหว่างดำเนินคดีทางการเมืองทุกคนต้องได้รับการประกันตัวในระหว่าง การสู้คดี เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามพึงได้รับการคุ้มครอง
"การเคารพสิทธิในการแสดงความเห็น และอดกลั้นต่อความเห็นต่างเป็นคุณสมบัติของสังคมอารยะ ที่เราต่างต้องเรียนรู้ อดทน และข้ามผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช้เครื่องมือตัวบทกฎหมายมาจัดการคุมขังผู้คนที่เห็นต่างจากตน" แถลงการณ์ระบุและว่า "การตัดสินลงโทษสมยศ โดยมีโทษจำคุกถึง 10 ปี เป็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไปสำหรับการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง การกระทำผิดโดยข้อหาดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ควรได้รับการตัดสินให้จำคุก และได้รับโทษเยี่ยงอาชญากร"

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมชี้คุมตัวระหว่างพิจารณาคดียาวนานเหมือนถูกจำคุกแต่ต้น
ด้าน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงกังวลถึงการบังคับใช้มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประเทศเสรีประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราว สมยศ พฤกษาเกษมสุขและผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่นในคดีที่ถูกกล่าวหาเช่นดียวกันนี้ใน ทันที เนื่องจากถือเป็นนักโทษทางความคิดและนักโทษทางการเมือง ทั้งหัวใจของกฎหมายอาญาคือหลักการสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า จะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และเพื่อคุ้มครองหลักการดังกล่าวจำเลยจึงต้องได้สิทธิที่จะได้รับการปล่อย ตัวชั่วคราว
"การควบคุมตัวบุคคลในระหว่างการพิจารณาที่ยาวนานจึงเปรียบเสมือนการ พิพากษาจำคุกมาตั้งแต่ต้น อันเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ" แถลงการณ์ระบุ รวมถึงเรียกร้องให้รัฐดำเนินการแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบอบการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและพันธกรณีระหว่างประเทศตามข้อบทที่ 19 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสทธิทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขอัตราโทษที่มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับการกระทำความ ผิด เนื่องจากการรักษาความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์นั้นไม่อาจกระทำได้โดยการ บังคับใช้กฎหมายที่รุนแรงและไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย และอำนาจในการร้องทุกข์กล่าวโทษ ที่ไม่ควรให้ใครก็ได้เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้มีผู้ใช้ข้อหาความผิดตามมาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งศัตรูทางการเมือง
นอกจากนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมยังขอให้ศาลยึดมั่นในหลักการกฎหมาย และพิจารณาคดีโดยปราศจากฐานของหลักอคติ โดยระบุว่า เพราะการบังคับใช้กฎหมายบนพื้นฐานหลักการและเคารพสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ ย่อมมีส่วนลดความรุนแรงของกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมได้ ในทางตรงกันข้ามการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่อยู่บนพื้นฐานหลักการ แม้กฎหมายจะมีความเป็นธรรมสักเพียงใดก็ไม่อาจสร้างความเป็นธรรมให้เกิดใน สังคมได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสังคม การยึดมั่นในหลักนิติธรรมและบทบาทของผู้พิพากษาที่เป็นกลางปราศจากอคติใน ภาวะวิกฤติเท่านั้นที่จะนำพาประเทศชาติให้อย่างร่วมกันได้อย่างสันติ ประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น