ภาพต้นฉบับ เอกสาร สว.เรืองไกร บางส่วน |
ภาย หลังจากที่ระยะเวลาได้ล่วงมาร่วม ๕๐ วัน ปรากฎว่า เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๖ กระทรวงกลาโหมได้มีข่าวออกมาที่เกี่ยวกับกรณีการเพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงในเว็บไซด์ข่าวสด ดังความต่อไปนี้
นายเรืองไกร ได้อ้าง ข่าวสด วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๖ ลงข่าวไว้ดังนี้ "บิ๊กโอ๋" เซ็นปลดออก-ถอดยศ "ว่าที่ร.ต.มาร์ค" หลักฐานชัดขาดคุณสมบัติ
เมื่อ วันที่ 2 ม.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามในหนังสือคำสั่งเพิกถอนการบรรจุเข้ารับราชการทหาร และเพิกถอนการแต่งตั้งยศว่าที่ร้อยตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว โดยดำเนินการต่อจากที่เคยทำมาแล้วให้ครบตามกระบวนการเท่านั้น ไม่มีอะไรใหม่ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติทันที จากนี้ไปผู้ถูกเพิกถอนก็ไม่สามารถใช้คำว่า ว่าที่ร.ต. นำหน้าชื่อได้อีกจาก การตรวจสอบของคณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนกองประจำการและการแต่งตั้งยศ ทหารของนายอภิสิทธิ์เห็นว่าคำสั่งแต่งตั้งให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายทหารสัญญา บัตรนั้น เป็นคำสั่งที่ออกด้วยความผิดหลงและมีที่มาจากความไม่สุจริต จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งสิทธิและหน้าที่ประโยชน์ที่ได้รับจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้รัฐและราชการของกระทรวงกลาโหมเสียหาย จึงจำเป็นให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ประกอบกับมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ.2479 และข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบรรจุปลดย้าย เลื่อนและลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502 หมวด 1 ข้อ 4(2) จึงให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ดังนี้
พล.อ.ชาญ โกมลหิรัญ เจ้ากรมเสมียนตรา กล่าวว่า รมว.กลาโหมลงนามในคำสั่งดังกล่าวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งแบ่งเป็น 2 คำสั่งคือ การเพิกถอนการบรรจุเข้ารับราชการทหาร และการเพิกถอนการแต่งตั้งยศว่าที่ร.ต. ซึ่งกระทรวงกลาโหมออกเป็นคำสั่งไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
แหล่ง ข่าวระดับสูงกระทรวงกลาโหมระบุว่าวันนี้กระทรวงกลาโหมได้ส่งจดหมายเรื่อง เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหมไปยังบ้านของนายอภิสิทธิ์ แล้วเพื่อให้เข้ารับทราบ
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อ.สุกำพลได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1/2556 เรื่อง การเพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ในการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการทหารและเพิกถอนคำสั่งการแต่งตั้งว่าที่ร.ต.อภิสิทธิ์ เป็นนายทหารสัญญาบัตร โดยคำสั่งมีใจความว่า จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเป็นที่ยุติว่า เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2530 นายอภิสิทธิ์สมัครเข้ารับราชการในโรงเรียนนายร้อยจปร. โดยขาดคุณสมบัติการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ในวัย 23 ปี เป็นบุคคลที่ไม่ผ่านการรับราชการทหาร ไม่ผ่านการตรวจเลือกทหารกองเกิน ไม่มีเอกสารใบสำคัญทางทหารหรือเอกสารการผ่อนผันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนายทหารสัญญาบัตรได้ปกปิดข้อความอันเป็น จริง และหลอกลวงเจ้าหน้าที่ให้ผิดหลงว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
1.คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 720/30 ลงวันที่ 7 ส.ค.2530 เรื่องบรรจุเข้ารับราชการเฉพาะหมายเลข 1 นายอภิสิทธิ์ หมายเลขประจำตัว 6302030807 เป็นข้าราชการกระทรวงกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรตำแหน่งรรก.อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. (ชกท.2701) อัตราพ.ต.รับเงินเดือนระดับน.1 ชั้น 3 (2,765 บาท) นอกนั้นคงเดิม 2.คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 339/31 ลงวันที่ 26 เม.ย.2531 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงกลาโหมพลเรือน เป็นนายทหารสัญญาบัตรเฉพาะในรายหมายเลข 1 ว่าที่ร.ต.อภิสิทธิ์ หมายเลข 6302030807 รรก.อจ.ส่วนการศึกษารร.จปร.(เหล่าสบ.) นอกนั้นคงเดิม
ข้อ ๒. จากความในคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑/๒๕๕๖ ดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า กระทรวงกลาโหมได้ยืนยันว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) แล้วโดยสมบูรณ์ โดยคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕ เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ และคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑/๒๕๕๖ เรื่อง เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม อย่างชัดแจ้ง และเป็นเรื่องที่ กกต. ควรรีบเร่งทำหน้าที่โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ได้มีการเปิดสมัยประชุมสภาแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านหรือในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมไม่สง่างามและไม่เหมาะสม จนกว่าจะได้ข้อยุติจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่มิควรปล่อยให้เนิ่นช้านานอีกต่อไป อีกทั้งการอ้างเหตุไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือร้องต่อ ป.ป.ช. ก็อาจเข้าลักษณะเป็นการฟ้องหรือร้องต่อองค์กรอื่น ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของ กกต. แต่อย่างใด
ข้อ ๓. จึงเรียนมาเพื่อขอยืนยันคำร้องให้ กกต. รีบเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐ (๑๑) โดยการต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป โดยเร็วด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น