แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

'บีบีซี' เผย จนท.ไทย 'ส่ง-ขายต่อ' ชาว 'โรฮิงญา' ให้ขบวนการค้ามนุษย์

ที่มา ประชาไท



ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากได้เดินทางอพยพข้าม ทะเลอันดามันมายังประเทศไทยอันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงที่รัฐยะไข่ของพม่า
 
บีบีซีเผยว่า เรือของผู้อพยพถูกสกัดโดยตำรวจและกองทัพเรือไทย โดยมีข้อตกลงเพื่อขายกลุ่มผู้อพยพให้แก่ขบวนการค้ามนุษย์ ที่จะนำพวกเขาเดินทางต่อไปยังมาเลเซีย ขณะที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นที่จะสืบสวนเรื่องดังกล่าวต่อไป
 
'สภาพเป็นปลากระป๋อง'
 
อาห์เหม็ด หนึ่งในผู้อพยพเปิดเผยว่า เขาได้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ โดยทิ้งภรรยาและลูกๆทั้ง 8 ไว้เบื้องหลัง หลังจากเรือประมงของเขาถูกทำลายในเหตุปะทะระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญาและชาว พุทธในยะไข่ และเขาเองจำเป็นต้องหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เขาเดินทางพร้อมกับคนอื่นอีกราว 60 คน ในเรือไม้โกโรโกโสนานถึง 13 วันเพื่อข้ามทะเลอันดามัน มายังชายฝั่งทะเลของไทย
 
เมื่อเขาและพวกถูกเจ้าหน้าของไทยจับกุมตัวไม่ไกลจากฝั่งมากนักเขาคิด ว่าประสบการณ์ที่แสนสาหัสกำลังจะผ่านพ้นไป แต่ที่จริงแล้วมันเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น ในคืนนั้นเอง ชาวโรฮิงญาทั้งหมด ถูกนำตัวขึ้นฝั่งไปยังจ.ระนอง โดยใช้รถตำรวจ และ 2 ชม.หลังจากนั้น พวกเขาถูกจับแยกกัน และถูกนำตัวขึ้นรถ 6 คันที่มีขนาดเล็กกว่า และต้องซ่อนตัวอยู่ภายใต้ตาข่าย อาห์เหม็ดกล่าวว่า ทั้งหมดถูกบังคับให้นอนเรียงกันเหมือนปลากระป๋อง
 
ในขณะนั้นเขายังไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น แต่การซื้อขายมนุษย์ได้เกิดขึ้นแล้วและชาวโรฮิงญาทั้ง 61 คน กำลังถูกนำตัวมุ่งลงใต้ไปยังมาเลเซีย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มค้ามนุษย์
 
เมื่อพวกเขาออกจากรถ ที่อ.สุไหงโกลก ในจ.นราธิวาส ก็ได้พบว่าตนเองได้กลายเป็นนักโทษไปแล้ว อาห์เหม็ดกล่าวว่า มีหลุมที่ขุดไว้เพื่อให้พวกเขากิน นอน และขับถ่ายในสถานที่เดียวกัน ทั่วบริเวณเต็มไปด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์ บางครั้งถูกใช้เหล็กทุบตีหรือฟาดด้วยโซ่ตรวน
 
ขบวนการค้ามนุษย์ได้จ่ายเงินเพื่อซื้อตัวชาวโรฮิงญา และหวังที่จะเอาเงินคืนจากพวกเขา อาห์เหม็ดและชาวโรฮิงญาคนอื่นๆ ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ได้เป็นครั้งคราวเพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อน หรือญาติพี่น้อง เขากล่าวว่า นายหน้าค้ามนุษย์บอกว่าพวกเขาซื้อชาวโรฮิงญามาจากตำรวจ และหากพวกเขาไม่ให้เงินก็จะไม่มีวันถูกปล่อยตัว "เราไม่สนหากพวกแกจะตายที่นี่"
 
ราคา"ค่าชีวิต"ของอาห์เหม็ดตกอยู่ที่ 40,000 บาทไทย ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควรสำหรับอดีตชาวประมง อาห์เหม็ดโทรหาภรรยา และบอกให้เธอขายวัว แต่ก็ได้เงินเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
 
 หลังถูกกักกันตัวนานร่วมเดือน และเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง ได้มีเพื่อนชาวโรฮิงญาที่อาศัยในไทยมาช่วยไถ่ตัวเขาออกไปได้สำเร็จ เขานั่งรถบัสมุ่งขึ้นเหนือไปยังจ.ภูเก็ต และแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายกับเขามากกมาย แต่เขากลับไม่เรียกร้องอะไร แม้จะถูกปฏิบัติอย่างป่าเถื่อน "ผมไม่โกรธเจ้าหน้าที่ ผมไม่ขอยึดเอาความโกรธแค้นไว้กับตัวอีก ผมโชคดีที่ยังมีชีวิตอยู่"
 
'การแก้ปัญหาที่ปรกติ' 
 
ด้วยสภาพอากาศที่เป็นใจ ปัจจุบันพบว่ามีเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาเดินทางเข้าไทยเกือบทุกวัน และอาห์เหม็ดเองก็ไม่ใช่คนเดียวที่ถูกกระทำเช่นนี้
 
 เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา เรือที่บรรทุกเด็ก สตรี และผู้ชายจำนวน 73 คน ถูกนำขึ้นฝั่ง ก่อนนำขึ้นรถบรรทุก ทางการประกาศว่าพวกเขาจะต้องถูกนำตัวไปยังชายแดนไทย-พม่าที่จ.ระนอง และต้องถูกขับออกนอกประเทศ ทว่าพวกเขาเดินทางไปไม่ถึงที่นั่น และกลุ่มค้ามนุษย์ได้รอทำการซื้อขายแล้ว เมื่อรถบรรทุกเดินทางถึงอ.คุระบุรี จ.พังงา ชาวโรฮิงญาถูกนำตัวขึ้นเรืออีกครั้ง
 
หนึ่งในนายหน้าค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายครั้งนั้นกล่าวว่า ได้มีการโอนเงินจากมาเลเซีย 1,500,000 บาท ให้แก่เจ้าหน้าที่ในไทย ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวได้รับการยืนยันจากสมาชิกชาวโรฮิงญาที่อาศัยในไทย
 
ทางการไทยเปิดเผยต่อบีบีซีว่า  พวกเขาเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตอยู่เพียงไม่กี่ราย แต่ที่ระนอง เมืองชายแดนที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ไทยที่รู้เรื่องชาวโรฮิงญาเป็นอย่างดี เปิดเผยว่า การตกลงกับนายหน้าค้ามนุษย์ตอนนี้ถือว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ "ปรกติ"
 
เนื่องจากการไม่ได้รับสัญชาติพม่าของชาวโรฮิงญา การส่งตัวกลับก็เต็มไปด้วยปัญหานานัปการ ขณะที่ไทยเองก็ไม่ต้องการสนับสนุนให้คนเข้าใจว่าเป็นประเทศสำหรับผู้อพยพที่ มีปัญหาเรื่องปากท้อง
 
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่าชาวโรฮิงญาอยากไปมาเลเซียและชาวมาเลเซีย ยอมรับคนเหล่านี้เพราะว่าพวกเขาเป็นมุสลิม ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามมากเพียงใดที่จะพยายามและไปที่นั่น แต่คำถามก็คือ พวกเขาจะไปที่นั่นได้อย่างไร
 
มาเลเซียอนุญาตให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเข้าทำ การประเมินคำขอลี้ภัยของชาวโรฮิงญาขณะที่ประเทศไทยไม่ทำเช่นนั้น โดยไทยสงวนสิทธิ์การพิจารณาไว้เอง ว่าใครสมควรที่จะรับไว้เป็นผู้อพยพ
 
'การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ' 
 
บีบีซีได้แจ้งเรื่องดังกล่าวให้แก่นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ทราบ ซึ่งเปิดเผยว่ากำลังดำเนินการสืบสวนเรื่องดังกล่าว
 
"ในขณะนี้ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้กระทำผิดคือใคร แต่รัฐบาลไทยกำลังค้นหาความจริงอย่างแน่วแน่ถึงต้นตอของปัญหา"
 
"ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้ดูแลผู้อพยพเหล่านี้อย่างดีที่สุด โดยคำนึงถึงพื้นฐานของหลักการด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก"
 
"ในขณะเดียวกัน เรารู้สึกอย่างแน่วแน่ว่าเราทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันผ่านความร่วมมือระดับ นานาชาติ เพื่อดูว่าเราจะสามารถหาทางแก้อย่างเป็นระบบและถาวรได้อย่างไร"
 
ก่อนหน้านี้ ชาวโรฮิงญาได้หลั่งไหลเข้ามาในไทยจำนวนมาก และเมื่อปี 2552 รัฐบาลไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อนโยบายการผลักดันผู้อพยพกลับทะเล
 
เนื่องจากผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นชาย ทางการไทยจึงมองว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพอันเนื่องมาจากปัญหาปากท้อง ขณะที่ในปัจจุบัน ต้นตอของปัญหาไม่เหมือนเดิม การปะทะระหว่างชาวโรฮิงญาและชาวพุทธในรัฐยะไข่ ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องอพยพมาอยู่ตามค่ายที่พัก และเป็นครั้งแรกที่เรือผู้อพยพที่ข้ามทะเลอันดามัน มีเด็กและสตรีรวมอยู่ด้วย
 
 
ที่มา: เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์, BBC news
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น