แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองและบุคคลผู้กระทำความผิดอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ตั้งแต่ ๑๙ กันยายน ๔๙

ที่มา Thai E-News



ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองและบุคคลผู้กระทำความผิดอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ตั้งแต่ ๑๙ กันยายน ๔๙ 

จะลองอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้

๑.) เราเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันปัญหาว่าจะมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านิรโทษกรรมนี้ขัดรัฐธรรมนูญอีก

๒.) ไม่นิรโทษกรรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในระดับใดทั้งสิ้น เพื่อเป็นการวางมาตรฐานว่าต่อไปว่าเจ้าหน้าที่ต้องปฏิเสธการปฏิบัติการตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามกรอบกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็พ้นผิดอยู่แล้ว ตาม พรก. สถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา ๑๗

๓.) บุคคลที่ได้รับนิรโทษกรรมทันที แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้

๓.๑.) กลุ่มแรก ผู้ชุมนุม ที่กระทำผิด พรก. ฉุกเฉิน พรบ. ความมั่นคงฯ ในการชุมนุม ให้พ้นผิดทันที

๓.๒.) กลุ่มที่สอง ผู้ชุมนุม กระทำผิดอาญาที่เป็นความผิดลหุโทษ หรือมีโทษปรับ หรือโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี ในการชุมนุม ให้พ้นผิดทันที

๔.) บุคคลที่ได้รับการปล่อยตัวไปก่อน และระงับการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว เพื่อรอคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัย แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้

๔.๑.) กลุ่มแรก ผู้ชุมนุมที่กระทำความผิดอันไม่เข้าขอบเขตของ ๓.๑. และ ๓.๒. และกระทำความผิดไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง

๔.๒.) กลุ่มที่สอง บุคคลที่ไม่ได้ชุมนุม แต่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (วันที่อภิสิทธิ์ยุบสภา) โดยการกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นทางกายภาพหรือแสดงความคิดเห็น และกระทำความผิดไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง

๕.) ให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งทำหน้าที่วินิจฉัยว่าการกระทำใด ๆ เป็นความผิดที่กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองตาม ข้อ ๔.๑ และ ๔.๒. หรือไม่ หากใช่ ก็ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นผิด

๖.) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร และไม่อาจเป็นวัตถุในการพิจารณาขององค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นใด

๗.) ข้อเสนอนี้เกิดจากต้องการจัดการปัญหาความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองที่ต่อเนื่องจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ เป็นต้นมา ซึ่งสภาพการณ์ปัจจุบัน ศาลไม่สามารถจัดการปัญหาเรื่องนี้ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยนิตินโยบายในการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมต่างๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทยหลายครั้ง

๘.) ข้อเสนอนี้ไม่ได้เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้รับผลกระทบจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ ซึ่งในส่วนนี้คณะนิติราษฎร์ได้เสนอไว้ในข้อเสนอเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙


**********
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม:ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น